การใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ของ อะมิกาซิน

ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินบ่อยครั้งขึ้นในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะหลายขนาน, แบคทีเรียแกรมลบที่ไม่ใช้ออกซิเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Pseudomonas, Acinetobacter, Enterobacter, E. coli, Proteus, Klebsiella, และ Serratia[9] มีเพียงเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก 2 สกุลเท่านั้นที่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยอะมิกาซิน ได้แก่ Staphylococcus[9] และ Nocardia[10] นอกจากนี้อะมิกาซินยังถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อสกุลไมโคแบคทีเรียมที่ไม่ใช่วัณโรค (non-tubercular Mycobacterium infections) และวัณโรค (ในสายพันธุ์ที่ไวต่อยานี้) ในกรณีที่การรักษาทางเลือกแรกไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้[2] ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีการใช้อะมิกาซินเป็นยาปฏิชีวนะเดี่ยวในการรักษาโรคใดโรคหนึ่งน้อยมาก ส่วนใหญ่มักใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะอื่น เพื่อเสริมฤทธิ์ซึ่งกันและกัน[11]

ภาวะหรือโรคที่มักใช้อะมิกาซินเป็นยาในการรักษาอยู่บ่อยครั้ง ได้แก่:[2]

นอกจากข้อบ่งใช้ดังข้างต้นแล้ว อะมิกาซินยังสามารถให้ร่วมกับยาปฏิชีวนะกลุ่มเบตาแลคแตมเพื่อเป็นการให้ยาปฏิชีวนะแบบครอบคลุมเชื้ออย่างกว้าง (empiric therapy) ในผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำรวมกับมีไข้ (Febrile Neutropenia)[2]

ในปัจจุบันมีการพัฒนาอะมิกาซินให้บรรจุอยู่ในไลโปโซมสำหรับเตรียมเป็นตำรับสำหรับสูตรพ่นเข้าทางจมูก เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ซิสติก ไฟโบรซิส,[15] การติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa,[16] การติดเชื้อไมโคแบคทีเรียที่ไม่ใช่วัณโรค,[17] และโรคหลอดลมพอง[18][19] เป็นต้น ซึ่งยารูปแบบดังกล่าวตอนนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาทางคลินิกในระยะสุดท้าย

รูปแบบเภสัชภัณฑ์

ปัจจุบัน อะมิกาซินมีในรูปแบบยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำและยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งต้องบริหารยาวันละ 1–2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ปัจจุบันจะมีการพัฒนายานี้ให้อยู่ในรูปแบบยาพ่นได้ แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาประสิทธิภาพทางคลินิก อะมิกาซินไม่มีในรูปแบบยารับประทาน เนื่องจากยาถูกดูดซึมได้น้อยมากในทางเดินอาหาร ทั้งนี้ การใช้ยาอะมิกาซินในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดน้อยลงกว่าปกติ จำเป็นต้องมีการปรับขนาดยาตามค่าการขับครีอะตินีนของร่างกาย (creatinine clearance) ซึ่งโดยทั่วไปจะนิยมใช้วิธีการลดความถี่ในการบริหารยา[9] ในผู้ป่วยที่มีติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลาง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สามารถบริหารยาอะมิกาซินโดยการฉีดเข้าทางน้ำไขสันหลัง (intrathecal injection) หรือฉีดเข้าทางโพรงสมอง (Intracerebroventricular injection) ได้เลย[2]

กลุ่มประชากรพิเศษ

ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยอะมิกาซิน ควรพิจารณาปรับลดขนาดยาลงจากขนาดปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากการทำงานของไตนั้นจะลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความเสี่ยงที่จะเกิดอาการข้างเคียงหรือเกิดพิษจากยามีมากขึ้นได้หากใช้ยาในขนาดปกติ เช่นเดียวกับในเด็ก ซึ่งไตยังพัฒนาไม่เต็มที่ ก็ควรที่จะลดขนาดอะมิกาซินลงจากปกติเช่นกัน ในกรณีหญิงตั้งครรภ์นั้น ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อทารกในครรภ์ของอะมิกาซินอยู่ในระดับ D ซึ่งหมายความว่า อะมิกาซินอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์[2] โดยร้อยละ 16 ของขนาดยาอะมิกาซินที่ได้รับการบริหารเข้าสู่ร่างกายจะสามารถผ่านรกเข้าไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ได้ โดยยามีค่าครึ่งชีวิต 2 และ 3.7 ชั่วโมง ในแม่และตัวอ่อนในครรภ์ ตามลำดับ[9] หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับอะมิกาซินร่วมกับยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ชนิดอื่น อาจทำให้เกิดภาวะหูหนวกแต่กำเนิดของทารกได้ ส่วนกรณีหญิงให้นมบุตรนั้น พบว่า อะมิกาซินถูกขับออกมาทางน้ำนมได้ในเพียงปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น[2]

โดยทั่วไปแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้อะมิกาซินในเด็กทารก[20] เนื่องจากทารกมีปริมาตรกระจายตัวที่ค่อนข้างสูง ทำให้ที่มีความเข้มข้นของอะมิกาซินในสารน้ำนอกเซลล์ (extracellular fluid) สูงกว่าผู้ใหญ่[1]

สำหรับผู้สูงอายุนั้น พบว่าอะมิกาซินจะมีค่าครึ่งชีวิตที่สูงกว่าปกติ ทั้งเป็นผลเนื่องมาจากการกำจัดออกที่ลดน้อยลงของวัยนี้ โดยเมื่อเปรียบเทียบอัตราการกำจัดอะมิกาซินออกจากร่างกายโดยเฉลี่ยของคนที่มีอายุ 20 ปี กับ 80 ปี จะพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมาก คือ 6 ลิตรต่อชั่วโมง และ 3 ลิตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ[21] ในทางตรงกันข้าม ผู้ป่วยซิสติก ไฟโบรซิส กลับมีอัตราการกำจัดอะมิกาซินที่เร็วกว่ากลุ่มประชากรข้างต้นที่กล่าวClearance is even higher in people with cystic fibrosis.[22] นอกจากนี้แล้ว การใช้อะมิกาซินในผู้ป่วยที่มีโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้าย หรือ โรคพาร์คินสัน อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการทางกล้ามเนื้อที่แย่ลงมากกว่าเดิมได้ เนื่องจากอะมิกาซินมีผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงลงได้เช่นกัน[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะมิกาซิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.34635... http://reference.medscape.com/drug/amikin-amikacin... http://www.wedgewoodpetrx.com/learning-center/prof... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11810483 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24216518 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28365471 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/4568692 http://apps.who.int/medicinedocs/documents/s16879e... http://www.who.int/medicines/publications/essentia... http://www.kegg.jp/entry/D02543