ประวัติศาสตร์ ของ อะเล็กซานเดรีย

ยุคโบราณ

เชื่อกันว่าเมืองอะเล็กซานเดรีย (Alexandreia; กรีกโบราณ: Ἆλεξάνδρεια) ก่อตั้งโดย อเล็กซานเดอร์มหาราช ในเดือนเมษายน 331 ปีก่อนคริสตกาล หัวหน้าสถาปนิกของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์สำหรับโครงการนี้คือ ดิโนเครเตส แห่งโรดส์ (Dinocrates; กรีกโบราณ: Δεινοκράτης ο Ρόδιος) อะเล็กซานเดรียถูกสถาปนาขึ้น เพื่อที่จะมาแทนที่เมืองนัฟคราติส (Naucratis; กรีกโบราณ: Ναύκρᾰτις; ภาษาอียิปต์โบราณเรียกว่า Piemro; คอปติก: Ⲡⲓⲏⲙⲣⲱ) ในฐานะศูนย์กลางอารยธรรมเฮลเลนิสต์ในอียิปต์และเป็นจุดเชื่อมระหว่างกรีกกับหุบเขาไนล์ที่มั่งคั่ง แม้ว่าจะเชื่อกันมานานแล้วว่าก่อนหน้านั้นมีเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณนั้น แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการค้นพบเศษเปลือกหอยและการปนเปื้อนของตะกั่วซึ่งจากการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี แสดงถึงการมีกิจกรรมของมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญมากว่าสองพันปี ก่อนหน้าการก่อตั้งเมืองอะเล็กซานเดรีย[4]

อเล็กซานเดรียเป็นศูนย์กลางทางปัญญาและวัฒนธรรมของโลกโบราณในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมืองและพิพิธภัณฑ์ดึงดูดนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลายคนทั้งชาวกรีก ชาวยิว และชาวซีเรีย ต่อมาภายหลังเมืองถูกชิงปล้นและสูญเสียความสำคัญลง[5]

ในช่วงยุคต้นของคริสตจักร เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของเขตอัครบิดรแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางที่สำคัญของศาสนาคริสต์ยุคแรกในจักรวรรดิโรมันตะวันออก ในยุคสมัยใหม่คริสตจักรคอปติกออร์โธดอกซ์ และคริสตจักรกรีกออร์โธดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียต่างก็อ้างสิทธิ์เป็นผู้สืบทอดเขตอำนาจการปกครองนี้

ทางตะวันออกของเมืองอะเล็กซานเดรีย ซึ่งตอนนี้คืออ่าวอะบุ กีร (Abu Qir; อาหรับ: خليج أبو قير‎) ในสมัยโบราณเป็นที่ลุ่มและหมู่เกาะหลายแห่ง ในช่วงเริ่มต้นของศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล มีเมืองท่าสำคัญคือ คาโนปอส (Canopus; กรีกโบราณ: Κάνωπος; คอปติก: Ⲡⲓⲕⲩⲁⲧ) และ เอราคลิออน (Heracleion; กรีกโบราณ: Ἡράκλειον; คอปติก: ⲧϩⲱⲛⲓ) ซึ่งพึ่งจะถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีใต้น้ำเมื่อเร็ว ๆ นี้

ชุมชนของอียิปต์ที่ชื่อ ราคอติ Rhakotis มีอยู่ก่อนแล้วบนแนวชายฝั่งก่อนที่จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็นอะเล็กซานเดรีย ในภาษาอียิปต์โบราณ rˁ-ḳṭy.t (คอปติก: ⲣⲁⲕⲟϯ (Bohairic), ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ (Sahidic)) นั้นแปลว่า "บริเวณที่ถูกสร้างขึ้น" ซึ่งชื่อนี้ถูกใช้ต่อเนื่องในส่วนของชาวอียิปต์ในเมืองอะเล็กซานเดรีย ไม่กี่เดือนหลังจากการก่อตั้งจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ได้ออกจากอียิปต์ และไม่เคยกลับมาที่เมืองอีก หลังจากนั้นอุปราช คลีโอเมเนส (Cleomenes of Naucratis; กรีกโบราณ: Kλεoμένης) ยังคงทำการขยายเมืองต่อไป หลังจากการต่อสู้กับผู้สืบทอดคนอื่นของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ นายพล ทอเลมี (Ptolemy Lagides) หรือต่อมาคือทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖος Σωτήρ) ประสบความสำเร็จในการเชิญพระศพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์มาสู่เมืองอะเล็กซานเดรีย แม้ว่าในท้ายที่สุดพระศพจะหายไป หลังจากถูกนำออกจากสุสานฝังพระศพ[6]

แม้ว่าคลีโอเมเนส จะรับผิดชอบดูแลการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเมืองอะเล็กซานเดรีย แต่โครงการสร้าง เอปตาสตาดิออน (Heptastadion, กรีกโบราณ: Ὲπταστάδιον) เขื่อนกันคลื่นและถนนในทะเลไปยังเกาะฟาโรส และส่วนเชื่อมโยงในเขตแผ่นดินดูเหมือนจะเป็นงานหลักของราชอาณาจักรทอเลมี การแทนที่การค้าที่เสื่อมโทรมลงของ ไทร์ Tyre (ฟินิเชีย: , Ṣur) เมืองท่าสำคัญของฟินิเชีย ทำให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของการค้าระหว่างยุโรป, อาหรับ และอินเดียในทิศตะวันออก ทำให้เมืองนี้ใช้เวลาเติบโตน้อยกว่าหนึ่งชั่วคนก็มีขนาดที่ใหญ่กว่านครคาร์เธจ (พิวนิก: 0, qrt-ḥdšt) ในเวลาหนึ่งศตวรรษเมืองอะเล็กซานเดรียได้กลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และอีกหลายศตวรรษต่อจากนั้นก็มีขนาดเป็นที่สองรองเพียงแต่กรุงโรม เมืองนี้กลายเป็นเมืองหลักของกรีกในอียิปต์ ที่มีพลเมืองชาวกรีกมาจากหลากหลายภูมิหลัง[7]

ภาพประภาคารแห่งอะเล็กซานเดรียบนเหรียญจากคริสต์ศตวรรษที่ 2 (ซ้าย: ด้านหลังของเหรียญจักรพรรดิอันโตนีนุส ปิอุส, ฃวา: ด้านหลังของเหรียญ
จักรพรรดิก็อมมอดุส)

อะเล็กซานเดรียไม่เพียง แต่เป็นศูนย์กลางของอารยธรรมเฮลเลนิสต์เท่านั้น แต่ยังเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวยิวที่ใหญ่ที่สุดในโลก คัมภีร์ฮิบรู (อังกฤษ: Tanakh; ฮีบรู: תנ"ך‎) ฉบับแปลภาษากรีกหรือคัมภีร์สารบบเซปตัวจินต์ (ละติน: septuaginta; กรีกโบราณ: Ἑβδομήκοντα; ตัวย่อ: LXX, G {\displaystyle {\mathfrak {G}}} ) ได้สร้างขึ้นที่เมืองนี้ ในช่วงต้นฟาโรห์ในราชวงศ์ทอเลมีให้มีการจัดระบบและส่งเสริมการพัฒนาของพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ นำไปสู่การเป็นผู้นำของศูนย์การเรียนรู้อารยธรรมเฮลเลนิสต์ (ห้องสมุดแห่งอะเล็กซานเดรีย) ขณะเดียวกันก็มีความระมัดระวังในการรักษาเอกลักษณ์ความแตกต่าง ของประชากรสามเชื้อชาติที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กรีก, ยิว และอียิปต์ด้วย[8] เมื่อถึงยุคสมัยของจักรพรรดิเอากุสตุสกำแพงเมืองได้ล้อมรอบพื้นที่ 5.34 ตารางกิโลเมตร (2.64 salta) และมีประชากรทั้งหมดในสมัยโรมันประมาณ 300,000 คน[9]

จากงานเขียนของไฟโลแห่งอะเล็กซานเดรีย (ฮีบรู: יְדִידְיָה הַכֹּהֵן‎‎) ในปีที่ 38 ของสากลศักราช ความโกลาหลปะทุขึ้นระหว่างพลเมืองชาวยิวและชาวกรีก ในระหว่างการมาเยือนเมืองอะเล็กซานเดรียของ"กษัตริย์แห่งชาวยิว" อกริปปาที่ 1 (ละติน: Agrippa I หรือ Herod Agrippa; ฮีบรู: אגריפס‎) แห่งราชอาณาจักรเฮโรดแห่งยูเดีย โดยเป้าหมายหลักคือต้องการยกเลิกการส่งบรรณาการของรัฐยิวให้กับจักรพรรดิโรมัน การดูหมิ่นระหว่างชนสองเชื้อชาติและความรุนแรงถูกยกระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการทำลายธรรมศาลาแห่งอะเล็กซานเดรีย ซึ่งเป็นศาสนสถานในศาสนายูดาห์ ความรุนแรงถูกปราบปรามหลังจากจักรพรรดิกาลิกุลา (ละติน: Caligula) เข้าแทรกแซงและเนรเทศผู้ปกครองชาวโรมันฟลัคคุส (ละติน: Aulus Avilius Flaccus) ออกจากเมือง[10]

ในปี ค.ศ. 115 ส่วนใหญ่ของเมืองอะเล็กซานเดรียถูกทำลายระหว่างสงครามคิตอส (ละติน: Seditio Kitos หรือ Tumultus Iudaicus; ฮีบรู: מרד הגלויות‎) ซึ่งทำให้จักรพรรดิฮาดริอานุสและเดคริอันนุส (Decriannus) ซึ่งเป็นสถาปนิกของเขาได้มีโอกาสสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ ในปี ค.ศ. 215 จักรพรรดิการากัลลา (Caracalla; กอล: Καρακάλλας) เดินทางมาเยือนเมืองและเพียงเพราะมีวรรณกรรมเชิงเหน็บแนมดูถูก พรรณาว่าประชาชนสามารถสั่งการเขาได้ จู่ ๆ จักรพรรดิก็สั่งให้กองทัพของเขาสังหารเยาวชนที่มีอายุพอจะจับอาวุธได้ทุกคน ในวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 (เหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ครีต ค.ศ. 365)[11] อะเล็กซานเดรียได้รับความเสียหายจากสึนามิ (ละติน: Megacyma) มีการรำลึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเวลาต่อมาในชื่อ "วันแห่งความหวาดกลัว"[12]

ยุคของนบีมูฮัมมัด

ปฏิสัมพันธ์ครั้งแรกของศาสดามูฮัมมัดแห่งศาสนาอิสลามกับชาวอียิปต์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 628 ในระหว่างการยาตรา (siryah, อาหรับ: سِرْيَة‎‎) ของ สัยด อิบนุ ฮาริษะฮฺ (Zayd ibn Harithah, อาหรับ: زَيْد ٱبْن حَارِثَة‎) ในการยุทธในดินแดนฮัสมา (Hisma, อาหรับ: صحراء حِسْمَى‎) เขามอบหมาย ฮาติบ อิบนุ อบู บัลตะอะฮฺ อัล-ลุคอมี (Hatib ibn Abi Balta'ah al-Lakhmi, อาหรับ: حاطب بن أبي بلتعة اللخمي‎) ให้เป็นตัวแทนผู้นำสาส์นส่งถึงผู้ปกครองอียิปต์ในอะเล็กซานเดรีย Muqawqis (อาหรับ: المقوقس‎, คอปติก: ⲭⲁⲩⲕⲓⲁⲛⲟⲥ, ⲕⲁⲩⲭⲓⲟⲥ)[13][14][15] ในสาส์นของมูฮัมมัดกล่าวว่า: "ข้าพเจ้าขอเชิญท่านให้ยอมรับอิสลาม อัลลอฮฺผู้ทรงประเสริฐยิ่งจะให้รางวัลท่านเป็นสองเท่า แต่ถ้าท่านปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้นท่านจะต้องแบกรับภาระการละเมิดของชาวอียิปต์" ในระหว่างการยาตราครั้งนี้ หนึ่งในผู้นำสาส์นของมูฮัมมัด ดิฮยะฮฺ อิบนุ เคาะลีฟะฮฺ อัล-กัลบี (Dihyah bin Khalifah al-Kalbi, อาหรับ: دِحْيَة ٱبْن خَلِيفَة ٱلْكَلْبِيّ‎‎) ถูกโจมตี ซึ่งดิฮยะฮฺ ได้เข้าหาตระกูลดูบาอิบ (Banu Dubayb) (ตระกูลในชนเผ่า เจดฮัมมัน (Banu Judham, อาหรับ: بنو جذام‎) ที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวมุสลิม) เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อข่าวมาถึงเมดินา ผู้นำของเผ่าเจดฮัมมัน ริฟาฮฺ อิบนุ สัยด (Rifa'ah ibn Zayd) ได้ร้องขอเผ่าของมูฮัมมัดให้ร่วมส่งคนไปช่วยเหลือซึ่งเผ่าได้ตอบรับ แม้จะไม่เห็นด้วยแต่มูฮัมมัดได้ส่ง สัยด อิบนุ ฮะริษะฮฺ พร้อมกับทหารเพื่อต่อสู้ 500 คนไปช่วยเหลือ กองทัพมุสลิมต่อสู้กับเผ่าเจดฮัมมัน สังหารพวกเขาหลายคน (ก่อให้เกิดความสูญเสียจำนวนมาก) รวมถึงหัวหน้าของพวกเขา อัลฮูนาอิด อิบนุ อาริด (Al-Hunayd ibn Arid) และลูกชาย, ยึดอูฐได้ 1,000 ตัว, ปศุสัตว์ 5,000 ตัว และจับผู้หญิงและเด็กชาย 100 คน หัวหน้าคนใหม่ของเผ่า เจดฮัมมัน ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอิสลามได้ขอร้องให้มูฮัมมัดปล่อยตัวเพื่อนชนเผ่าของเขา ซึ่งมูฮัมมัดก็ได้ปล่อยพวกเขาเหล่านั้น[16][17]

ใกล้เคียง

อะเล็กซานเดรีย อะเล็ช บิดัล อะเล็กซานเดอร์มหาราช อะเล็กโต แคร์โรว์ อะเล็กซานเดอร์ กราแฮม เบลล์ อะเล็กซันดร์ รุตสคอย อะเล็กซานเดอร์ ปุชกิน อะเล็กซานดรินแห่งแมคเคลนบูร์ก - เชควริน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก อะเล็กซานเดอร์ อะเล็กซานเดรีย เอสคาเท

แหล่งที่มา

WikiPedia: อะเล็กซานเดรีย http://www.aldokkan.com/geography/alexandria.htm //www.amazon.com/dp/B005HZJQYY http://www.bing.com/weather/tripplan?q=Alexandria+... http://dofundodomar.blogspot.com/2006/05/sediments... http://www.expatsinalex.com/ http://aleph.nkp.cz/F/?func=find-c&local_base=aut&... http://penelope.uchicago.edu/Thayer/E/Roman/Texts/... http://icarus.umkc.edu/sandbox/perseus/pecs/page.1... http://www.alexandria.gov.eg/ http://www.alexandria.gov.eg/Alex/english/gov.html