กฎหมาย ของ อาการกระสันสัตว์

หลาย ๆ เขตอำนาจห้ามกระสันสัตว์ทุกรูปแบบ ส่วนเขตอำนาจอื่น ๆ ห้ามปฏิบัติต่อสัตว์อย่างไม่เหมาะสม แต่มิได้ระบุว่ารวมถึงกิจกรรมทางเพศหรือไม่ สำหรับสหราชอาณาจักร มาตรา 63 แห่งพระราชบัญญัติกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและคนเข้าเมือง ค.ศ. 2008 (Criminal Justice and Immigration Act 2008) หรือที่เรียกกันว่า พระราชบัญญัติงานลามกอย่างยิ่ง (Extreme Pornography Act) ห้ามแพร่ภาพบุคคลกระทำหรือปรากฏว่ากระทำทางเพศกับสัตว์ ไม่ว่าสัตว์นั้นเป็นหรือตาย[20] ขณะที่ประเทศยุโรปหลายประเทศ เป็นต้นว่า เบลเยียม เยอรมนี และรัสเซีย ตรากฎหมายไว้กลาง ๆ คือ อนุญาตให้กระสันสัตว์ได้ แต่ห้ามส่งเสริมงานลามกเกี่ยวกับสัตว์[21] นอกจากนี้ กฎหมายบางฉบับก็ใช้คำในภาษาอังกฤษโดยแจ้งชัดเลยว่า "zoophillia" แต่บางฉบับก็เลือกใช้คำกำกวม เช่น "sodomy" (การชำเราแบบวิตถาร) หรือ "bestiality" (การชำเราสัตว์) ซึ่งก่อให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ว่าครอบคลุมการกระทำอย่างใดบ้าง

กฎหมายเกี่ยวกับอาการกระสันสัตว์นั้นมักมีปัจจัยมาจากพฤติการณ์เฉพาะบางพฤติการณ์[22] ที่ผ่านมา กฎหมายเกี่ยวกับการชำเราสัตว์ (bestiality) นั้นตราขึ้นเพราะเชื่อว่า มนุษย์ร่วมประเวณีกับสัตว์อาจก่อให้เกิดบุตรที่เป็นอสุรกาย อันจะนำพาความอับอายอดสูมาสู่ชุมชน แต่ปัจจุบัน กฎหมายป้องกันและปราบปรามการชำเราสัตว์นั้นมุ่งจำกัดการกระทำที่ขัดต่อมาตรฐานของชุมชนมากกว่า[23] มุมมองที่โดดเด่นในการตรากฎหมายนั้นปรากฏในประเทศสวีเดนเมื่อ ค.ศ. 2005 เนื่องจากรัฐบาลเป็นกังวลเพราะปรากฏการทารุณม้า (horse-ripping) เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ สำนักงานสวัสดิการสัตว์ (Animal Welfare Agency) จึงสอบสวนแล้วรายงานว่า สำนักงานเชื่อว่า กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทารุณสัตว์ในปัจจุบันนั้นยังไม่พอจะพิทักษ์สัตว์และจำต้องปรับปรุง แต่ก็เห็นว่า ยังไม่สมควรจะห้ามการกระทำใด ๆ เสียทีเดียว[24] ส่วนในประเทศนิวซีแลนด์เมื่อ ค.ศ. 1898 นั้น มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติอาญาเพื่อยกเลิกความผิดฐานชำเราสัตว์ และให้ถือเป็นปัญหาสุขภาพจิตแทน แต่ร่างพระราชบัญญัตินี้ตกไป และตามกฎหมายปัจจุบัน คือ มาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติอาญา ค.ศ. 1961 (Crimes Act 1961) บุคคลอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี ถ้าใช้สัตว์ในทางมิชอบเพื่อประโยชน์ทางเพศ และความผิดนี้ถือว่าสำเร็จเมื่อมีการล่วงล้ำ (penetration) เข้าไปในอวัยวะเพศสัตว์[25][26]

ในอดีต บางท้องที่มีกฎหมายห้ามมนุษย์เพศผู้ร่วมประเวณีกับสัตว์เดรัจฉานเพศเมีย เช่น อัลปากา (Alpaca) และการสังวาสกับอัลปากายังเป็นความผิดตามกฎหมายในประเทศเปรูอยู่[27] ส่วนในสหรัฐอเมริกานั้น ปรากฏว่า ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 เป็นต้นว่า การร่วมประเวณีกับสัตว์นับเป็นความผิดตามกฎหมายของรัฐจำนวนสามสิบเจ็ดรัฐ กฎหมายระดับรัฐเหล่านี้ส่วนใหญ่ตราขึ้นในช่วง ค.ศ. 1999 ถึง ค.ศ. 2012 นี้เอง[28] ในเมืองอีนัมคลอว์ (Enumclaw) รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ยังเคยมีไร่ปศุสัตว์หลายแห่งเปิดเป็น "โรงค้าประเวณีสัตว์" (animal brothel) แต่เมื่อเกิดคดีชำเราม้าเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 ซึ่งชายคนหนึ่งไส้แตกตายในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลชมชนอีนัมคลอว์หลังจากร่วมประเวณีกับม้า สภานิติบัญญัติรัฐวอชิงตันซึ่งเป็นเพียงไม่กี่รัฐที่ยังไม่มีกฎหมายป้องกันและปราบปรามการชำเราสัตว์ จึงตรากฎหมายเช่นนั้นขึ้นโดยไม่ชักช้า กระบวนการนิติบัญญัติใช้เวลาเพียงหกเดือน[29][30]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการกระสันสัตว์ http://www.browardpalmbeach.com/2009-08-20/news/th... http://www.browardpalmbeach.com/2009-08-20/news/th... http://etabetapi.com/read/thaikjv/Lev/18 http://etabetapi.com/read/thaikjv/Lev/20/ http://books.google.com/books?id=Z-GbOvrbniQC&pg=P... http://www.highbeam.com/doc/1P1-112105423.html http://bundesrecht.juris.de/stgb/__184a.html http://www.fordham.edu/halsall/source/aquinas-homo... http://www.indiana.edu/~sexlab/files/pubs/Chivers_... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16168255