ขอบเขตของการปรากฏ ของ อาการกระสันสัตว์

รายงานของคินซีย์ (Kinsey Reports) ระบุว่า ร้อยละ 8 ของมนุษย์เพศชาย และร้อยละ 3.6 ของมนุษย์เพศหญิง เคยประกอบกิจกรรมทางเพศกับสัตว์ ทั้งยังอ้างด้วยว่า ร้อยละสี่สิบถึงห้าสิบของคนเหล่านี้มีที่พำนักอยู่ใกล้ไร่ปศุสัตว์[1] แม้สถิตินี้ถูกคัดค้านในสมัยต่อมา เพราะไม่ได้สุ่มตัวอย่างที่หลากหลาย และอาจก่อให้เกิดปัญหาอคติในตัวอย่าง แต่ก็มีผู้หักล้างการคัดค้าน เช่น มาร์ติน ดูเบอร์แมน (Martin Duberman) กล่าวว่า การสุ่มตัวอย่างเพื่อวิจัยเกี่ยวกับเพศนั้นไม่ง่าย และพอล เกบฮาร์ด (Paul Gebhard) ซึ่งสืบทอดโครงการวิจัยของคินซีย์ กล่าวว่า ในการวิจัยข้างต้น ได้ตัดกลุ่มตัวอย่างบางกลุ่ม เช่น บุคคลในเรือนจำ ออก แต่เมื่อศึกษาแล้วพบว่า การตัดดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญแต่ประการใด[2]

ใน ค.ศ. 1974 ประชากรที่อยู่ใกล้ไร่ปศุสัตว์ลดลงถึงร้อยละแปดสิบ เทียบกับจำนวนใน ค.ศ. 1940 ทำให้คนมีโอกาสอยู่ใกล้สัตว์น้อยลง ในปีนั้น มีการศึกษาและสรุปเป็นข้อสันนิษฐานว่า การเปลี่ยนแปลงประชากรนี้มีผลสำคัญต่อจำนวนการเกิดอาการกระสันสัตว์ เทียบกับสถิติเมื่อ ค.ศ. 1948 โดยใน ค.ศ. 1948 ร้อยละ 8.3 ของชาย และร้อยละ 3.6 ของหญิง เคยประกอบกามกิจกับสัตว์ ส่วนใน ค.ศ. 1974 สถิตินั้นลดลงเป็นร้อยละ 4.9 สำหรับชาย และ 1.9 สำหรับหญิง อย่างไรก็ดี ฮานี มีเลตสกี (Hani Miletski) นักเพศวิทยา เชื่อว่า ที่ลดลงนี้ไม่ได้หมายความว่า คนสนใจจะกระสันสัตว์น้อยลง เพียงแต่โอกาสที่จะทำนั้นน้อยลง[3]

ก่อนหน้านี้ใน ค.ศ. 1973 แนนซี ฟรายเดย์ (Nancy Friday) ตีพิมพ์หนังสือสังวาสสำหรับสตรีเรื่อง มายซีเครตการ์เดน (My Secret Garden) หนังสือนั้นรวบรวมเรื่องชวนฝัน 190 เรื่องซึ่งสอบถามมาจากบรรดาสตรี ปรากฏว่า มี 23 เรื่องว่าด้วยกิจกรรมทางเพศกับสัตว์[4]

บุคคลแม้ไม่ประสงค์จะกระสันสัตว์จริง ๆ ก็อาจเพ้อฝันถึงอาการกระสันสัตว์ได้ แนนซี ฟรายเดย์ ตั้งข้อสังเกตว่า การฝันเฟื่องเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศกับสัตว์นั้นอาจเป็นเครื่องช่วยให้พ้นจากกรอบ ความมุ่งหวัง หรือบรรทัดฐานของสังคมในเรื่องสังวาสก็ได้ ใน ค.ศ. 1962 มีรายงานการศึกษาว่า โรงโสเภณีมักจัดแสดงสัตว์สมจรกัน เพราะพบว่า ช่วยกระตุ้นกามารมณ์ของลูกค้าเป็นอย่างดี และอาจชักนำให้ลูกค้าใช้บริการสัตว์ในโรงนั้นด้วย ต่อมาใน ค.ศ. 1994 มีการศึกษาพบว่า บุคคลที่พอใจและเกิดกำหนัดจากการชมดูสัตว์ร่วมประเวณีกันเองนั้น ลึก ๆ แล้วนิยมการสมสู่ระหว่างมนุษย์กับสัตว์[5]

การศึกษารายหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1991 พบว่า ผู้ป่วยทางจิตมีสถิตินิยมอาการกระสันสัตว์สูงมากกว่าผู้ป่วยในและบุคลากรทางจิตเวชอย่างยิ่ง โดยร้อยละ 45 ของผู้ป่วยทางจิตเคยกระสันสัตว์จริง ๆ และอีกร้อยละ 30 เพ้อฝันถึงกิจกรรมทางเพศกับสัตว์ ขณะที่ผู้ป่วยในมีร้อยละ 10 และบุคลากรทางจิตเวชมีร้อยละ 15 ที่มีพฤติกรรมดังกล่าว[6]

การศึกษาอีกรายเมื่อ ค.ศ. 1980 ระบุว่า ร้อยละ 5.3 ของมนุษย์เพศชายที่สำรวจนั้นมักจินตนาการถึงอาการกระสันสัตว์ในระหว่างร่วมประเวณีกับบมนุษย์เพศหญิง[7] และการศึกษาอีกรายซึ่งทำใน ค.ศ. 1982 ระบุว่า ได้สำรวจนักศึกษามหาวิทยาลัยหนึ่งร้อยแปดสิบหกแห่ง ร้อยละ 7.5 ของนักศึกษาเหล่านี้เคยกระสันสัตว์จริง ๆ[8]

อนึ่ง การศึกษาหลายรายยังพบว่า ภาพยนตร์ชิมแปนซีสมสู่กันก่อให้มนุษย์เพศหญิงมีการตอบสนองในช่องคลอดมากกว่าภาพยนตร์ที่วานรเหล่านั้นไม่ได้กระทำทางเพศกัน[9][10]

โทมัส ฟรานซิส (Thomas Francis) พรรณนาว่า อาการกระสันสัตว์นั้นครอบคลุมประชากรหลาย ๆ กลุ่มต่างกัน ไม่ว่าผิวขาว ผิวคล้ำ เอเชีย มอรมอน คาทอลิก ไม่เชื่อเจ้าเชื่อผี เดียรถีย์ ยิว ชาย หรือหญิง[11] เขายังว่า บุคคลไม่ว่าเติบโตในท้องที่มีสัตว์มาก หรือท้องที่ไร้สัตว์ ก็นิยมอาการกระสันสัตว์ได้เสมอกัน[12]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการกระสันสัตว์ http://www.browardpalmbeach.com/2009-08-20/news/th... http://www.browardpalmbeach.com/2009-08-20/news/th... http://etabetapi.com/read/thaikjv/Lev/18 http://etabetapi.com/read/thaikjv/Lev/20/ http://books.google.com/books?id=Z-GbOvrbniQC&pg=P... http://www.highbeam.com/doc/1P1-112105423.html http://bundesrecht.juris.de/stgb/__184a.html http://www.fordham.edu/halsall/source/aquinas-homo... http://www.indiana.edu/~sexlab/files/pubs/Chivers_... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/16168255