กลไก ของ อาการคันต่างที่

ความคันเป็นความรู้สึกว่าจะต้องเกาผิวหนังที่ใดที่หนึ่งอาจเป็นความรู้สึกชั่วแล่น เช่นจั๊กจี้หรือเป็นเหน็บ หรืออาจจะคงยืน เช่นเป็นผื่นหรือความระคายเคืองที่ผิวหนังอื่น ๆ เช่นที่เกิดจากภูมิแพ้ความคันได้แสดงแล้วว่า สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจ็บปวด โดยมีกลไกทางสรีรภาพที่เหมือนกันหลายอย่างความสัมพันธ์ระหว่างความเจ็บปวดกับความคันชัดเจนเพราะหลักฐานว่า ความรู้สึกคันจะดำเนินไปตามวิถีประสาทเดียวกันกับความเจ็บปวดและว่า บุคคลที่ไม่สามารถรู้สึกเจ็บก็จะไม่รู้สึกคันด้วย[16]

ความคันสามารถเกิดจากการกระตุ้นตัวรับความรู้สึกด้วยแรงกล สารเคมี อุณหภูมิ หรือไฟฟ้า ที่ระบบประสาทนอกส่วนกลาง หรือแม้แต่การสะกิดใจ (suggestion)ตัวรับความรู้สึกที่ทำให้คันเพราะสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อม จะอยู่ในผิวหนังชั้นบน ๆ [17]เมื่อได้สิ่งเร้าแล้ว โดยปกติเนื่องกับฮิสตามีนในร่างกาย ตัวรับก็จะส่งกระแสประสาทไปยังสมองส่วนต่าง ๆ มีทาลามัสเป็นต้นซึ่งจะแปรผลแล้วสั่งการให้ร่างกายตอบสนอง[16]

ความคันก็อาจเกิดจากความเสียหายต่อระบบประสาท ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนนอก หรือเกิดจากการมีสารโอปิออยด์มากเกิน[16]เพราะงานวิจัยมีน้อยมากเรื่องความคันต่างที่ จึงไม่มีทฤษฎีที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า ความคันย้ายที่ไปได้อย่างไรแต่ก็มีทฤษฎีหลายทฤษฎีซึ่งเป็นที่นิยมในชุมชนนักวิทยาศาสตร์

สมมติฐานหนึ่งเสนอว่าเหตุมาจากเส้นประสาทและสาขาต่าง ๆ ของมันสมมติฐานนี้คาดว่า นิวรอนได้แตกสาขาอย่างผิดปกติในช่วงการเกิดเอ็มบริโอ[18]คือสาขาของเส้นประสาทนำเข้าอาจกระจายออกไปไกลกว่าปกติดังนั้น เมื่อบุคคลพัฒนาระบบประสาทอย่างสมบูณ์แล้ว สิ่งเร้าที่ปลายสาขาหนึ่งอาจตีความได้ว่ามาจากปลายสาขาอีกปลายที่อยู่ห่างกันแต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์หรือล้มล้างทฤษฎีนี้[3]

สมมติฐานอีกอย่างหนึ่งเสนอว่า อาการคันต่างที่จะเกิดอาศัยวิถีประสาท spinocervical pathway[3]เพราะตัวเซลล์ที่เป็นส่วนของวิถีประสาทนี้อยู่ที่ปีกหลังของไขสันหลัง และแอกซอนของเซลล์จะวิ่งขึ้นผ่านซีกร่างกายเดียวกันที่ส่วนหน้าด้านข้าง (dorsolateral quadrant) ของไขสันหลัง ซึ่งเข้ากับข้อมูลว่า สิ่งเร้าที่ทำให้คันจะอยู่ในซีกร่างกายเดียวกันกับส่วนที่คันต่างที่และเพราะแอกซอนส่งไปยังทาลามัสและสมองส่วนกลาง จึงเป็นไปได้ว่า ทาลามัสก็มีบทบาทในปรากฏการณ์นี้เซลล์ในวิถีประสาทนี้ยังเป็นเซลล์ที่เร้าด้วยแรงกล ซึ่งก็สนับสนุนว่าวิถีประสาทนี้เป็นกลไกของอาการคันต่างที่ความเสียหายในส่วนกลางของวิถีประสาทนี้ ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม (คือเพราะความเสียหายในส่วนนอก) จะทำให้เซลล์ส่วนนี้ทำงานมากขึ้น (hyperexcitability) คือมีการยับยั้งที่ลดลงแต่ก็มีผู้แสดงว่า สมมติฐานนี้เป็นไปได้น้อย ไม่เช่นนั้นความคันควรจะวิ่งขึ้นไปตามลำดับ (เช่น จากขาไปสู่ลำตัว และจากลำตัวไปสู่คอ)[3]

มีหลักฐานด้วยว่า ทาลามัสมีบทบาทในความคันต่างที่[3]เพราะการจัดระเบียบเซลล์ประสาทในทาลามัสซึ่งรับความรู้สึกมาจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ที่การเร้าส่วนหนึ่งอาจจะกระจายไปยังอีกส่วนหนึ่งได้งานศึกษาได้แสดงว่า ส่วนในทาลามัสที่รับความรู้สึกจากลำตัวจะอยู่ระหว่างส่วนที่รับความรู้สึกจากแขนและขาซึ่งเข้ากับหลักฐานว่า การเร้าที่หน้าอกทำให้เกิดความรู้สึกที่ขาและเพราะส่วนที่รับความรู้สึกจากใบหน้าอยู่ต่างหากในบริเวณที่เรียกว่า arcuate nucleus นี่จึงอธิบายว่าทำไมใบหน้าจึงไม่ปรากฏอาการนี้

การเร้าที่กระจายออกภายในเปลือกสมอง ก็อาจอธิบายระยะที่ห่างกันระหว่างจุดที่เร้าและจุดที่คันต่างที่[3]เพราะที่รอยนูน precentral gyrus ซึ่งรับความรู้สึกจากส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เซลล์ประสาทที่รับข้อมูลจากส่วนมือและไหล่จะคาบเกี่ยวกับส่วนลำตัวส่วนนิ้วโป้งก็จะคาบเกี่ยวกับส่วนบนของลิ้นและก็มีกรณีคนไข้ที่การเร้าที่นิ้วโป้งจะทำให้คันต่างที่ตรงส่วนบนของลิ้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาการคันต่างที่ http://content.karger.com/produktedb/produkte.asp?... http://adsabs.harvard.edu/abs/1977PNAS...74.4702R //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1341706 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1688972 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2991051 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC432016 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12154366 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12517579 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14499452 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15277602