ความหลากหลาย ของ อาจาด

อาจาดในอินโดนีเซีย

อาจาดในอาหารอินโดนีเซีย จะใส่แตงกวา แคร์รอต หอมแดง พริกขี้หนู บ้างใส่สับปะรดเพื่อเพิ่มความหวานเมื่อดองกับน้ำส้มสายชู บ้างก็ใส่ขิงหรือตะไคร้เพื่อเพิ่มความเผ็ดร้อน[3] และอาจาดแบบอินโดนีเซียได้แพร่หลายไปในอาหารฮอลันดา เรียกว่า "อาจาร์" (atjar) หรือ แตงกวาดอง

อาจาดในมาเลเซีย

ในอาหารมาเลเซีย มีหลายรูปแบบ เช่น อาจาดอาวะก์หรือแบบย่าหยา กับแบบมลายู ซึ่งแบบอาวะก์นั้นจะมีการใส่เครื่องเทศที่มีกลิ่มหอมเพิ่มเติมและใส่มะเขือยาวไปด้วย

อาจาดในไทย

ในอาหารไทยจะใส่แตงกวา พริกสีแดง หอมแดง น้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ และผักชี บางแห่งใช้น้ำกระเทียมดอง นิยมรับประทานเคียงกับสะเต๊ะ ขนมปังหน้าหมู[4] ทอดมัน มะตะบะ ขนมเบื้องญวน หรือแกงกะหรี่[5] ในอาหารไทยโบราณมีอาจาดแบบหนึ่งเรียก อาจาดอังวะ ซึ่งเป็นอาจาดแบบโบราณชนิดหนึ่ง ใช้ดอกกะหล่ำ ถั่วลันเตา ยอดผักบุ้ง นำไปลวกในน้ำส้มสายชูผสมน้ำตาล ราดด้วยหัวกะทิ นิยมกินกับแกงเผ็ดคาดว่าอาจได้รับอิทธิพลจากมอญ[6] นอกจากนี้ยังมี อาจาดเทศ ทำจากเห็ดหูหนู หน่อไม้ แตงกวา พริกหยวก ผัดกับน้ำมันก่อนนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาดองกับน้ำส้มสายชู เป็นเครื่องเคียงสำหรับรับประทานข้าวหมกหรือแกงรสจัด[7] ส่วนในจังหวัดสตูลมีอาจาดชนิดหนึ่งเรียกว่า อาจาดตะลิงปลิง ทำจากตะลิงปลิงตากแห้ง รับประทานเคียงกับข้าวสวย ขนมปัง โรตี และโรตีกาปาย[8]

ใกล้เคียง

อาจาด อาจารย์เวทมนตร์ไม่เอาไหนกับตำนานปราสาทลอยฟ้า อามาด ดียาโล อาจารย์ของฉันไม่มีหาง อาจารียา พรหมพฤกษ์ อาซาดิเรซติน อามาดู วาตารา อารัด อามาดู ดียาโล (นักฟุตบอลเกิด พ.ศ. 2546) อาจารย์พิเศษ