อาชญากรรมแบ่งตามประเภท ของ อาชญากรรมในประเทศไทย

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ข่าวลือเพื่อหวังให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือถูกเกลียดชังในอินเตอร์เน็ท[11]นอกจากนั้นยังมีการใช้โปรแกรมเพื่อเผยแพร่การทำร้ายร่างกาย อาทิ ในเดือน เมษายน พ.ศ. 2561 ชัยชนะ ศิริชาติ ทำร้ายร่างกาย น.ส.กุลดารา ยีสมัน ผ่าน Facebook Live[12]

ในประเทศไทยการด่าทอในเฟซบุ๊กเคยเป็นสาเหตุนำมาสู่การฆ่ากันตายด้วยอาวุธปืน[13]

วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ทหารได้ทำการจับกุม นาย สิรภพ กรณ์อุรษ ภายหลังสืบทราบว่า นาย สิรภพ เป็นเจ้าของเว็บบล็อก ที่มีเนื้อหาตามความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย โดยใช้นามปากกาว่า รุ่งศิลา เขาถูกจำคุก 4 ปี 11 เดือน 11 วัน ก่อนได้รับการประกันตัวในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2562[14]

ในปี พ.ศ. 2560 ตำรวจจับกุม นาย ปณีต จิตต์นุกูลศิริ ซึ่งพฤติการณ์ตามคำร้อง กล่าวหาว่าเขา โพสต์ข้อความ จากเฟซบุ๊ก ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการ โดยใช้ถ้อยคำหมิ่นประมาทแสดงความอาฆาตมาดร้ายสถาบันเบื้องสูง[15]เป็นอีกกรณีที่จำคุกเพราะการพิมพ์ข้อความทาง บริการเครือข่ายสังคม

ในปี พ.ศ. 2561 ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารกรุงไทย ยอมรับว่ามีคนพยายามเจาะข้อมูลระบบ และมีข้อมูลลูกค้ารั่วไหลจริง[16]

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบอื่นอาทิ ชักชวนให้ทำงานทางอินเตอร์เน็ทโดยอ้างว่ารายได้ดี โฆษณาผลิตภัณฑ์เกินคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การหลอกโอนเงิน แชร์ลูกโซ่ การพนันออนไลน์ การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในเด็ก การกู้เงิน การให้สินเชื่อ ฟิชชิง การโพสวิดิโอขณะมีเพศสัมพันธ์กับอดีตคนรัก

การทำร้ายร่างกาย

ในประเทศไทยการยกพวกรุมทำร้ายร่างกาย เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งโดยหลายครั้ง เป็นสาเหตุของการเสียชีวิต[17]และเป็นสาเหตุของความพิการ อัมพาต ถึงขั้นเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง[18]การทำร้ายร่างกายในประเทศไทยนอกจากทำร้ายร่างกายเพื่อชิงทรัพย์ ยังมีสาเหตุจากการการแก้แค้น การใช้ความรุนแรงกับแฟน ความคิดเห็นทางการเมืองไทย สุรา ยาเสพติด ความไม่พอใจจากการถูกด่าทอ หมิ่นประมาททางวาจา ฯลฯ

กรณีที่มีชื่อเสียงได้แก่ นาย เสกสรรค์ ศุขพิมาย ที่ทำร้ายร่างกายบุคคลอื่นให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และ นาย นวัธ เตาะเจริญสุข ใช้ลูกน้องทำร้ายร่างกาย นาย ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร และนาย ประเสริฐ จันทรรวงทอง[19]

ในขณะที่รัฐสภาไทยเกิดการทำร้ายร่างกายสองครั้งได้แก่ กรณี พลตำรวจเอก ประทิน สันติประภพ ทำร้ายร่างกาย อดุลย์ วันไชยธนวงศ์ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 และต่อมา ในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2551 การุณ โหสกุล ทำร้ายร่างกาย สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ [20]

การพนัน

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่นิยมการพนันมาก ในปี พ.ศ. 2561 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พิมพ์สลากกินแบ่งรัฐบาลราว 90 ล้านฉบับส่งเงินเข้ากระทรวงการคลังกว่า 31008 ล้านบาท[21]การพนันที่นิยมทั่วไป ได้แก่การพนันฟุตบอล อายุที่ต่ำสุดที่เล่นการพนันในประเทศไทยคือ 7 ปี มีเว็บไซด์จำนวนมากที่เปิดขึ้นมาเพื่อการพนัน ต่าง ๆ อาทิ การพนันฟุตบอล ออนไลน์ [22]การพนันนำไปสู่การล้มละลาย หนี้สิน ปัญหาครอบครัว และการฆ่าตัวตาย

ยาเสพติดและการซื้อขายยาเสพติด

ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดและความรุนแรงที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยมีปริมาณมากขึ้น[23] ยาเสพติดมีตั้งแต่แบบพื้นบ้านอย่างกระท่อม[24] ไปจนถึงยาบ้า ฝิ่นจากประเทศพม่า และยาสมุนไพรท้องถิ่น ตั้งแต่ประมาณพ.ศ. 2548 มีการเพิ่มขึ้นของงานเลี้ยงสังสรรค์ยาเสพติดในเวลากลางคืนและความรุนแรงจากผู้ใช้[24]นอกจากนั้นประเทศไทยยังมีการทำสงครามระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารและผู้ค้ายาที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่โดยมีผู้เสียชีวิตจากการปะทะจนถึงปัจจุบัน[25]การปะทะครั้งใหญ่เกิดที่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ[26]รองลงมาเกิดที่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 มีผู้เสียชีวิต 8 ศพ[27]

ก่อนหน้านี้มีความพยายามที่จะควบคุมการขายยาเสพติดโดยการประกาศสงครามยาเสพติด พ.ศ. 2546 ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร

ใน พ.ศ. 2555 มีการคาดการณ์ว่ามีผู้ติดยาเมตแอมฟีตามีนประมาณ 1.2 ล้านคน[24] โดยตัวเลขจริงอาจสูงกว่านี้[24] นอกจากนี้เมตแอมฟีตามีนยังถูกใช้เป็นวงกว้างกับสัตว์ เช่น ชะนี ลอริส[28][29] และช้าง[30] โดยการบังคับให้กินเข้าไปเพื่อให้ทำงานนานได้ขึ้น อยู่นิ่งๆ ให้คนจับ และสร้างความบันเทิงให้นักท่องเที่ยว

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 พบว่าซูโดอีเฟดรีนตามกฎหมายเกือบ 50 ล้านเม็ดถูกขโมยจากโรงพยาบาลในประเทศไทย และอีกสองพันล้านเม็ดถูกลักลอบนำเข้ามาจาก ไต้หวัน และเกาหลีใต้ โดยมีการปลอมแปลงเอกสารซึ่งชี้ว่าสองบริษัทไทยได้นำเข้ามากว่าแปดพันล้านมากเม็ด[30] พวกเขารายงานการขนส่งของยาว่าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนรถยนต์ ประเทศไทยโต้ตอบโดยการเฝ้าดูการขายและการกระจายของซูโดอีเฟดรีนอย่างใกล้ชิด

แม้การมอมยานักท่องเที่ยวและคนถ้องถิ่นโดยผู้ค้าบริการทางเพศจะพบได้ยาก แต่ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ ส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้เกิดในสถานที่ท่องเที่ยวใหญ่ๆ เช่น พัทยาหรือภูเก็ต องค์การสหประชาชาติรายงานสถานการณ์ในประเทศไทยว่า "ผู้ต้องหาส่วนใหญ่ในคุกของประเทศไทยเป็นนักค้ายาและผู้ใช้ยาระดับล่าง ด้วยความที่มีโอกาสถูกจับได้มากกว่า แทนที่จะเป็นผู้ค้าขายขนาดใหญ่และอาชญากรที่มีการจัดการอย่างดี"[31]

กัญชาขึ้นทะเบียนเป็นยาเสพติดประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติด พ.ศ. 2522 อย่างไรก็ดี ในปี 2561 มีการเห็นชอบให้กัญชาทางการแพทย์ชอบด้วยกฎหมาย นับเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผ่านกฎหมายลักษณะดังกล่าว[32]

การทารุณกรรมสัตว์

การทารุณกรรมสัตว์พบได้ทั่วไปในประเทศไทย รวมไปถึงการทรมานช้างเพื่อการท่องเที่ยว[33] การสังหารช้างเพื่องา[34] หรือการลักลอบนำเข้ามาจากประเทศพม่า[35] การหาประโยชน์จากช้างในเมือง[36] และการค้าขายชิ้นส่วนของสัตว์[37]

การลักทรัพย์

วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2521 คนร้ายก่อเหตุปล้นรถไฟเหตุเกิดที่สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี โดยสังหาร ร.ต.อ. ไสว พลชนะ ก่อนขโมยเงินมูลค่า 1200000 บาท ทางการตั้งข้อหานาย สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์[38]

วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2534 ได้เกิดการลักทรัพย์จนเป็นคดีมีชื่อเสียงไปยังต่างประเทศเมื่อ เลาดาแอร์ เที่ยวบินที่ 004 ตกที่ อำเภอด่านช้าง ได้มีโจรลักทรัพย์สินของผู้โดยสารที่เสียชีวิตจนเป็นข่าวการลักทรัพย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดข่าวหนึ่งของประเทศไทยจนถึงปัจจุบัน วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เกิดเหตุปล้นเรือขนเงินที่จังหวัดปัตตานี ขณะเดินทางไป เกาะโลซิน มูลค่าเงินจำนวน 119 ล้านบาท เป็นการลักทรัพย์ครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

การจลาจล

การจลาจลในประเทศไทย ไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยการจลาจลที่ก่อให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากได้แก่ การจลาจลในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 มีผู้เสียชีวิต 27 ศพ ที่แยกพลับพลาไชย ต่อมาเกิดเหตุจลาจลพฤษภาทมิฬในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2535 มีผู้เสียชีวิต 40 ราย

การจลาจลกรณีตากใบ วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 ที่ อำเภอตากใบ มีผู้เสียชีวิต 84 ศพ

การสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ พ.ศ. 2553 และการสลายการชุมนุมบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิตรวม 94 ราย สองเหตุการณ์นี้เป็นเหตุจลาจลระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนมีการก่อวินาศกรรมและใช้อาวุธปืนต่อสู้กับทหารและตำรวจในสองเหตุการณ์นี้เผาทำลายทรัพย์สินจนนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่มีความเสียหายด้านชีวิตคนและทรัพย์สินมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ส่วนการจลาจลที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน จำนวนมากเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2518 โดยเกิดการเผาศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช[39]และการจลาจลเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 เกิดเผาโรงงานแทนทาลัมและบุกทำลายโรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินที่จังหวัดภูเก็ต และเหตุการณ์ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2552

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเหตุการณ์ที่มีลักษณะเฉพาะกล่าวคือผู้ก่อความไม่สงบมีวัตถุประสงค์จะทำสงครามกับตำรวจและทหาร โดยกระทำการบุกป้อมตำรวจหรือค่ายทหาร เพื่อหวังสังหารเจ้าหน้าที่ โดยในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ที่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้เกิดเหตุคนร้ายปะทะกับเจ้าหน้าที่เหตุการณ์มีความรุนแรงจนกลายเป็นสงครามในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยมีผู้เสียชีวิต 108 ราย และ เจ้าหน้าที่ทหารตำรวจเสียชีวิตอีก 5 ราย รวม 113 ราย

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 คนร้ายปะทะเจ้าหน้าที่ทหาร นำโดย สมเกียรติ ผลประยูร ที่อำเภอบาเจาะ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 17 ราย [40]

วันที่ 5 พฤษจิกายน พ.ศ. 2562 คนร้ายปะทะ จุดตรวจชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ที่ หมู่ 5 ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เวลา 23.20 น. ในเหตุการณ์การโจมตียะลา พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิต 15 ราย[41]บาดเจ็บ 4 ราย

การก่อการร้าย

การก่อการร้าย โดย การสังหารหมู่ในประเทศไทยที่ก่อให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เกิดในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ศาลากลางจังหวัดพังงา มีผู้เสียชีวิต 15 ศพโดยมีผู้ปาระเบิดเข้าไปในกลุ่มผู้ชุมนุม[42]

21 กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2521 มีเหตุการ์ตำรวจ วิสามัญฆาตกรรมคนร้ายแต่ปรากฏว่าตัวประกันสองรายเสียชีวิต ที่แยกเกษตร ถนนวิภาวดี[43]

วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2545 เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืน เอ็ม 16 ยิงรถรับส่งนักเรียนขณะเดินทางไปที่โรงเรียนบ้านคาวิทยา อำเภอบ้านคา จนเป็นเหตุให้เด็กเสียชีวิต 3 ราย นับเป็นการคดีร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับเด็กและไม่สามารถจับคนร้ายได้

วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เกิดเหตุสังหารหมู่ลูกเรือชาวจีน 13 ราย ที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย[44] วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555 เกิดเหตุระเบิดที่ภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2555 มีผู้เสียชีวิต 14 ราย และในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558 เกิดเหตุระเบิดในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558 มีผู้เสียชีวิต 20 ราย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ได้เกิดคดีฆาตกรรมยกครัว 8 ศพ ที่ อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่

ต่อมาใน วันที่ 1 สิงหาคม ถึง 2 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้เกิดเหตุการณ์ลอบทำร้ายร่างกายด้วยระเบิดในกรุงเทพมหานครมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[45]ได้แก่ นาย ชนะใจ เลาะหมุด น.ส.ดิสนา ผ่องใสดี มีแผลบริเวณใบหน้า นางสุนทร รอดเสียงล้ำ และ น.ส.ศศินิภา เพชรทองหลาง [46]

การข่มขืนกระทำชำเรา

ใน พ.ศ. 2556 ทุกๆ วัน มีผู้หญิงประมาณ 87 รายเข้าแจ้งความว่าถูกข่มขืนหรือขอคำแนะนำหลังถูกข่มขืน เหยื่อที่เด็กที่สุดมีอายุเพียง 1 ปี 9 เดือน และแก่ที่สุดมีอายุถึง 85 ปี ส่วนผู้กระทำความผิดมีอายุตั้งแต่ 10 ขวบซึ่งมีส่วนร่วมในการรุมข่มขืน และชายอายุ 85 ปีที่ลวนลามเด็กสาว[47]การข่มขืนยังเกิดกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย[48]นอกจากนั้นชาวต่างชาติยังก่อเหตุข่มขืนในประเทศไทยกับชาวต่างชาติด้วยกัน[49]

การหลอกลวง

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยล้วนมีชื่อเสียงด้านกลลวงและการหลอกซื้อของ โดยที่ได้รับความนิยมมากได้แก่ กลลวงอัญมณี กลลวงช่างตัดเสื้อ ตัวแทนการท่องเที่ยวปลอม[50][51] และ กลลวงวกเวียน

กลลวงห้องต้มตุ๋น (กลซื้อขายหุ้นปลอม) เป็นอาชญากรรมเสื้อคอปกขาวที่โด่งดังที่สุดในประเทศไทย[52][53][54][55]

ผู้คนไร้สัญชาติตกเป็นเป้าหมายของสิทธิในการทำงานปลอมจากสหประชาชาติ[56]

หลังการหายไปของมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 การปลอมแปลงหนังสือเดินทางและการปลอมแปลงตัวตนได้รับความสนใจจากสหรัฐอเมริกา ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 วีซ่าที่ถูกขโมยมาถึง 259 อันหายไปจากสถานกงสุลไทยในประเทศมาเลเซีย[57] โดยถูกนำไปใช้เพื่อข้ามชายแดนไทยอย่างผิดกฎหมาย ชาวอิหร่าน 35 คน ชาวคาเมรูน 1 คน ชาวไนจีเรีย 20 คน ชาวปากีสถาน 4 คน ชาวอินเดีย 4 คน และชาวเอเชียอื่นๆ ทำการข้ามชายแดนแล้ว[58]

ในปี พ.ศ. 2560 การหลอกลวงให้ซื้อทัวร์ราคาถูกเพื่อไปท่องเที่ยวในราคาประหยัดมีชื่อเสียงมากขึ้น จากกรณีหลอกให้ซื้อทัวร์ไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่น[59]และประเทศรัสเซีย[60]ในปีดังกล่าวมีรายงานว่ามีบุคคลจำนวนหนึ่งจัดคอร์สอบรมสัมมนาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในชีวิต ราคาของการอบรมสัมมนานั้นราคาแพงมาก[61]และส่อเค้าโฆษณาเกินจริงโดยมีการนำบุคคลมีชื่อเสียงมาโฆษณา

การหลอกลวงในประเทศไทยในรูปแบบชักชวนลงทุนขายสินค้าแบบขายตรง ลักษณะแชร์ลูกโซ่[62]คดีที่โด่งดังได้แก่ คดีแชร์ชม้อย สร้างความเสียหายเป็นทรัพย์สินจำนวนมากแก่ประชาชน คดีแชร์ยังคงมีอย่างต่อเนื่องในวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 ศาลออกหมายจับ รศ.สวัสดิ์ แสงบางปลา ผู้ต้องหาฉ้อโกง มูลค่า 1400 ล้านบาท [63]และในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองได้การจับกุม นาย ภูดิศ กิตติธราดิลก ข้อหาฉ้อโกงประชาชนมูลค่าเสียหายกว่า 4000 ล้านบาท[64]

นักศึกษาที่พึ่งจบการศึกษาจำนวนมากที่ฝากประวัติสมัครงานทางอินเตอร์เน็ทมักพบว่ามีบริษัทประกันชีวิตโทรมาเชิญชวนทำงานโดยอ้างว่าเป็นตำแหน่งธุรการ หรือตำแหน่งอื่น ๆ แต่กับพบว่าเป็นงานขายประกันชีวิตซึ่งส่วนหนึ่งเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม สัมมนาไปกับ บริษัท และไม่สามารถขายประกันได้[65]

การหลอกลวงยังพบในกรณีของเงินบริจาคเพื่อบุคคลที่เจ็บป่วยพิการหรือยากจน โดยมักพบว่าญาติพี่น้องภรรยา[66]ของคนที่ได้รับเงินบริจาคหลอกนำเงินบริจาคไปใช้เสียเอง[67]การหลอกลวงยังมาในรูปแบบการขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้เจ็บป่วย อาทิ การขายยารักษาโรคมะเร็ง การแอบอ้างว่าสามารถรักษา คนหูหนวกหรือเป็นใบ้ได้[68][69] หรือการหลอกขายผลิตภัณฑ์เพื่อการลดน้ำหนักบุคคลที่ต้องการลดน้ำหนัก

การหลอกลวงยังมาในรูปแบบของการใช้ความรักความชอบพอและความเห็นใจของเหยื่อในการหลอกเอาเงิน[70]

การค้ามนุษย์และการค้าประเวณี

ในพ.ศ. 2556 กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาบัญญัติว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับต่ำที่สุดของการค้ามนุษย์ในรายงานบุคคล[71] รายงานพ.ศ. 2556 กล่าวว่าตำรวจไทยและเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง "รีดไถเงินหรือกขอมีเพศสัมพันธ์" กับนักโทษ หรือ "ขายผู้อพยพชาวพม่าที่ไม่สามารถจ่ายเงินให้นายหน้าค้ามนุษย์หรือนายหน้าค้าประเวณีได้"[71] เจ้าหน้าที่จากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) กล่าวว่า รัฐบาลไทยเป็นรัฐบาลเดียวที่โหวดเพื่อต่อต้านข้อตกลงแรงงานบังคับของสหประชาชาติในการประชุมประจำปีซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557[72][73]

คดีการค้ามนุษย์ที่มีชื่อเสียง ได้แก่กรณี แรงงานสัญชาติพม่า เสียชีวิต 54 ราย ที่ จังหวัดระนอง ในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2551[74]ศาลได้ตัดสินจำคุก นายดำรง ผุสดี จำคุก 10 ปี นายเฉลิมชัย วิฤทธิ์จันทร์ปลั่ง จำคุก 9 ปี นายจิรวัฒน์ โสภาพันธ์วรากุล จำคุก 6 ปี และนางปัญชลีย์ ชูสุข จำคุก 3 ปี

เพื่อเป็นการตอบโต้ ร้านค้าปลีกอย่างวอลมาร์ตและคอสท์โก้ ในสหรัฐอเมริกาเลิกรับอาหารทะเลจากเครือเจริญโภคภัณฑ์เพราะ "เป็นเจ้าของ จัดการ หรือซื้อผลิตผลจากเรือประมงที่มีการใช้ทาส"[75] ต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557 รัฐบาลไทยตกอยู่ภายใต้สภาวะกดดัน และกล่าวถึงความต้องการเพิกถอนโหวด ILO ที่เคยออกความเห็นไป[76]

ความรุนแรงในครอบครัว

ความรุนแรงต่อสตรีมีจำนวนมากขึ้นในประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2555 ผู้เคราะห์ร้ายประมาณ 27,000 คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล[77] ในพ.ศ. 2549 กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่ามีคดีเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็กและสตรีถึง 13,550 คดี[78]นอกจากนั้นยังพบว่ามีผู้ปกครองจำนวนหนึ่งฆ่าลูกที่เป็นออทิสติก[79]

ใกล้เคียง

อาชญา อาชญากรรมในประเทศไทย อาชญากรรมสงครามของรัสเซีย อาชญากลปล้นโลก 2 อาชญากลปล้นโลก อาชญากรรม อาชญากรรมสงครามของเยอรมนี อาชญากรรมสงคราม อาชญากรรม / ความหวัง / การสูญเสีย อาชญากรรมสงครามระหว่างการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาชญากรรมในประเทศไทย http://blog.al.com/live/2012/05/buddhist_monk_accu... http://allafrica.com/stories/201406121748.html http://ajw.asahi.com/article/asia/south_east_asia/... http://www.asiasentinel.com/index.php?option=com_c... http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/753260 http://bangkokpost.com/opinion/opinion/369629/ever... http://www.bangkokpost.com/blogs/index.php/2009/01... http://www.bangkokpost.com/breakingnews/308354/2-s... http://www.bangkokpost.com/learning/learning-from-... http://www.bangkokpost.com/learning/learning-from-...