การเปลี่ยนแปลงทางดินแดนของสยามและไทย ของ อาณาจักรรัตนโกสินทร์_(สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

#รัชสมัยวันที่ดินแดนให้เนื้อที่ (ตร.กม.)
1รัชกาลที่ 415 กรกฎาคม พ.ศ. 2410แคว้นเขมร และเกาะอีก 6 เกาะ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส)124,000
2รัชกาลที่ 522 ธันวาคม พ.ศ. 2431สิบสองจุไทและหัวพันห้าทั้งหก อินโดจีนของฝรั่งเศส87,000
3รัชกาลที่ 527 ตุลาคม พ.ศ. 2435ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน (5 เมืองเงี้ยว และ 13 เมืองกะเหรี่ยง) บริติชราช30,000
วันที่ดินแดนพิพาทเนื้อที่รัฐคู่พิพาทหมายเหตุ
3 ตุลาคม พ.ศ. 2436ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และ ราชอาณาจักรลาว143,000 อินโดจีนของฝรั่งเศสสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 (Traité franco-siamois du 3 octobre 1893)
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2446ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (จำปาศักดิ์ ไชยบุรี)25,500 อินโดจีนของฝรั่งเศสสนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122
23 มีนาคม พ.ศ. 2450พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ51,000 อินโดจีนของฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส)หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125[4]
10 มีนาคม พ.ศ. 2452ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู38,455 สหภาพมาลายา (อังกฤษ)สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ[5]
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ51,326 อินโดจีนของฝรั่งเศสอนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส[6]
30 กันยายน พ.ศ. 2484เกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง? อินโดจีนของฝรั่งเศสแถลงการณ์ เรื่อง ได้คืนเกาะดอนต่าง ๆ ในลำแม่น้ำโขง ตามความตกลงกำหนดเส้นทางเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส[7]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2489จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ
และเกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง
? อินโดจีนของฝรั่งเศสความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส (อนุสัญญาโตเกียว)[8]

พ.ศ. 2450

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (พ.ศ. 2449 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 พร้อมด้วยสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ซึ่งลงนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายวี คอลแลง (เดอ ปลังซี) โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[4]

  • รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ กับเมืองศรีโสภณ ให้แก่กรุงฝรั่งเศส (ข้อ 1)
  • รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมลิง[9]ไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม (ข้อ 2)

พ.ศ. 2452

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 (พ.ศ. 2451 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลอังกฤษได้ร่วมกันลงนามในสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ[5] และสัญญาว่าด้วยเขตรแดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 127 คฤสตศักราช 1909[10] ซึ่งลงนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายราลฟ์ แปชยิด โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

พ.ศ. 2484

ภายหลังกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ณ กรุงโตเกียว โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[6]

  • เขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสจากเหนือลงมาให้เป็นไปตามแม่น้ำโขงตั้งแต่จุดที่รวมแห่งเขตแดนประเทศไทย อินโดจีนฝรั่งเศส และพม่า [สามเหลี่ยมทองคำ] จนถึงจุดที่แม่น้ำโขงตัดเส้นขนานที่สิบห้า [บริเวณเมืองจำปาศักดิ์]
  • ใช้เส้นกลางร่องน้ำเดินเรือที่สำคัญยิ่งเป็นเขตแดน แต่เกาะโขงยังคงเป็นของอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนเกาะโขนตกเป็นของประเทศไทย
  • เขตแดนจะลากต่อไปทางใต้ บรรจบกับเส้นเที่ยงซึ่งผ่านจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) [บริเวณเมืองธาราบริวัตร์ ตรงข้ามเมืองสตึงแตรง จนถึงปากน้ำสตึงกมบต]
  • ในทะเลสาบเขมร เขตแดนได้แก่เส้นโค้งวงกลมรัศมี 20 กิโลเมตร จากจุดที่ระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) ไปบรรจบจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงดนตรี)
  • ต่อจากปากน้ำสตึงดนตรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เขตแดนใหม่จะเป็นไปตามพรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จนถึงจุดที่พรมแดนนี้บรรจบกับเขตแดนระหว่างไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส (เขากูป)

ภายใต้อนุสัญญานี้ อาณาเขตที่จะโอนมาเป็นของประเทศไทย ประกอบไปด้วยแคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นนครจำปาศักดิ์ฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 51,326 ตารางกิโลเมตร โดยรัฐบาลไทยได้เข้าไปจัดระเบียบการปกครองและบริหารดินแดนดังกล่าวเสมือนดินแดนในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 5 ปีครึ่ง

ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยยังได้รับเกาะดอนต่างๆ เป็นจำนวนถึง 77 แห่งในลำแม่น้ำโขงตามความตกลงกำหนดเส้นเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส[7]

พ.ศ. 2489

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[8][11]

  • อนุสัญญากรุงโตเกียว ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เป็นอันยกเลิก และสถานภาพก่อนอนุสัญญานั้นเป็นอันกลับสถาปนาขึ้น

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรแห่งกาลเวลา

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาณาจักรรัตนโกสินทร์_(สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/...