การก่อตั้ง ของ อาณาจักรรัตนโกสินทร์_(สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ภาพกรุงเทพมหานครโดยมีภูเขาทองเป็นฉากหลัง

รัชกาลที่ 1 ทรงฟื้นฟูระบบสังคมและการเมืองของราชอาณาจักรอยุธยา ทรงออกกฎหมายตราสามดวงประมวลกฎหมายใหม่ทรงฟื้นฟูพิธีในราชสำนัก และทรงบัญญัติวินัยสงฆ์ การปกครองแบ่งเป็นหกกรม โดยในจำนวนนี้สี่กรมมีหน้าทีปกครองดินแดนโดยเฉพาะ กรมกลาโหมปกครองทางใต้ กรมมหาดไทยปกครองทางเหนือและตะวันออก กรมพระคลังปกครองดินแดนที่อยู่ทางใต้ของพระนคร และกรมเมืองปกครองพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ส่วนอีกสองกรมนั้นคือ กรมนาและกรมวัง กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของอุปราชซึ่งเป็นพระอนุชาในพระมหากษัตริย์ พม่าซึ่งเห็นความวุ่นวาย ประกอบกับการโค่นล้มสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รุกรานสยามอีกใน พ.ศ. 2328 ฝ่ายสยามแบ่งกำลังออกเป็นทางตะวันตกได้บดขยี้ทัพพม่าใกล้จังหวัดกาญจนบุรี นี่เป็นการรุกรานสยามใหญ่ครั้งสุดท้ายของพม่า พ.ศ. 2345 พม่าถูกขับออกจากล้านนา พ.ศ. 2335 สยามยึดครองหลวงพระบาง และนำดินแดนลาวส่วนใหญ่มาอยู่ใต้การปกครองโดยอ้อมของสยาม กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามอย่างเต็มที่ และกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงสถาปนาความเป็นเจ้าของสยามเหนือดินแดนที่ใหญ่กว่าประเทศไทยปัจจุบันอยู่มาก

การรุกรานเวียดนาม

ใน พ.ศ. 2319 เมื่อกบฏเต็ยเซิน (Tây Sơn) ยึดซาดินห์ (Gia Dinh) ก็ได้ประหารพระราชวงศ์เหงียนและประชากรท้องถิ่นเป็นอันมาก เหงียน อั๊ญ (Nguyễn Ánh) พระราชวงศ์เหงียนพระองค์สุดท้ายที่ยังมีพระชนม์อยู่ ทรงหนีข้ามแม่น้ำมายังสยาม ขณะที่ลี้ภัยในสยาม เหงียน อั๋นห์ทรงปรารถนาจะยึดซาดินห์คืน และขับกบฏเต็ยเซินออกไป พระองค์ทรงโน้มน้าวพระทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่วางพระองค์เป็นกลาง ให้การสนับสนุนด้านกำลังพลและกำลังรุกรานขนาดเล็กแก่พระองค์ใน พ.ศ. 2326

กลาง พ.ศ. 2327 เหงียน อั๊ญ พร้อมกับกองทัพสยาม 20,000-50,000 นาย และเรือ 300 ลำ[1] เคลื่อนผ่านกัมพูชา ทางตะวันออกของโตนเลสาบ และแทรกซึมแคว้นอันนัมซึ่งเพิ่งถูกผนวกล่าสุด ทหาร 20,000 นายถึงเกียนเซียง (Kien Giang) และอีก 30,000 นายขึ้นบกที่ชัป หลาบ (Chap Lap) ขณะที่สยามรุกคืบสู่เกิ่นเทอ (Cần Thơ) ปีเดียวกัน สยามยึดแคว้นเดียดินห์ ซึ่งอดีตเป็นของกัมพูชา มีการอ้างว่า ทหารสยามกระทำทารุณต่อประชากรผู้ตั้งถิ่นฐานชาวเวียดนาม ทำให้ประชาชนท้องถิ่นหันไปสนับสนุนเตยเซิน[1]

เหงวียนเหว (Nguyễn Huệ) แห่งราชวงศ์เตยเซิน ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงการเคลื่อนไหวของสยาม ทรงจัดวางทหารราบอย่างลับ ๆ ตามแม่น้ำเตียง (Tiền) ใกล้กับมายโตว (Mỹ Tho) ปัจจุบัน และเกาะกลางแม่น้ำบางเกาะ เผชิญกับกำลังอื่นฝั่งเหนือ พร้อมกำลังเสริมทางเรือทั้งสองฝั่งของที่ตั้งทหารราบ[1]

เช้าวันที่ 19 มกราคม เหงวียนเหวทรงส่งกำลังทางเรือขนาดเล็ก ใต้ธงสงบศึก เพื่อลวงให้ฝ่ายสยามเข้าสู่กับดัก หลังได้รับชัยชนะหลายครั้ง ทัพบกและทัพเรือสยามจึงมั่นใจว่าจะต้องเป็นการยอมแพ้โดยบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงเดินเข้าสู่การเจรจาโดยไม่รู้เลยว่าเป็นกับดัก กองทัพของเหงวียนเหวโผเข้าทำลายแนวของสยาม สังหารทูตไม่มีอาวุธและโจมตีต่อไปยังทหารที่ไม่ทันตั้งตัว ยุทธการจบลงโดยกองทัพสยามเกือบถูกทำลายสิ้น แหล่งข้อมูลเวียดนามบันทึกว่า เรือทั้งหมดของทัพเรือสยามถูกทำลาย และมีกองทหารดั้งเดิมเพียง 2,000-3,000 นายที่รอดชีวิตหลบหนีกลับข้ามแม่น้ำไปในสยามได้[2]

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรแห่งกาลเวลา

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาณาจักรรัตนโกสินทร์_(สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/...