สันติภาพ ของ อาณาจักรรัตนโกสินทร์_(สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
ประวัติศาสตร์ไทย
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ช่วงต้น
การเข้ามาอยู่อาศัย
แนวคิดถิ่นกำเนิดชนชาติไท
บ้านเชียง ~2500 ปีก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ~2000 ปีก่อน พ.ศ.
อาณาจักรมอญ-เขมร

อาณาจักรของคนไท

หลังกรุงศรีอยุธยา
ประวัติศาสตร์รายภูมิภาค
แบ่งตามหัวข้อ
สถานีย่อยประเทศไทย

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ค่อนข้างไม่มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้น ขณะนี้ราชวงศ์จักรีเข้าควบคุมทุกส่วนของรัฐบาลสยาม เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระราชโอรส-ธิดารวมทั้งสิ้น 42 พระองค์ พระมหาอุปราช พระอนุชา มีพระโอรส-ธิดารวม 43 พระองค์ และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชโอรส-ธิดาทั้งสิ้น 100 พระองค์ จึงมีเจ้านายพอที่จะจัดเข้าสู่ระบบข้าราชการประจำ กองทัพ สมณเพศอาวุโสและรัฐบาลส่วนภูมิภาค มีการเผชิญหน้ากับเวียดนาม ซึ่งกลายมาเป็นมหาอำานจในภูมิภาค เหนือการควบคุมกัมพูชาใน พ.ศ. 2356 ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยการฟื้นฟูสถานะเดิม

อิทธิพลของตะวันตกเริ่มแผ่ขยายเข้ามาในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2328 อังกฤษยึดครองปีนัง และใน พ.ศ. 2362 เข้ามาตั้งสิงคโปร์ ไม่นาน อังกฤษก็ได้เข้ามาแทนที่ฮอลันดาและโปรตุเกสเป็นชาติตะวันตกที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองหลักในสยาม อังกฤษคัดค้านระบบเศรษฐกิจสยาม ซึ่งเจ้านายเป็นผู้ผูกขาดการค้า และธุรกิจถูกจัดเก็บภาษีตามอำเภอใจ ใน พ.ศ. 2364 ลอร์ดฮัสติงส์แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก ซึ่งขณะนั้นเป็นข้าหลวงใหญ่แห่งอินเดีย ส่งตัวแทนของบริษัท จอห์น ครอว์เฟิร์ด เป็นคณะทูตเพื่อเรียกร้องให้สยามยกเลิกการจำกัดการค้าเสรี อันเป็นสัญญาณแรกของประเด็นซึ่งจะครอบงำการเมืองของสยามในคริสต์ศตวรรษที่ 19

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2367 กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ เสวยราชสมบัติต่อเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชโอรสพระองค์เล็ก เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงได้รับการแนะนำให้ออกผนวช เพื่อจะได้ไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมือง

ใน พ.ศ. 2368 อังกฤษส่งคณะทูตเข้ามาในกรุงเทพมหานครอีกครั้ง นำโดย ผู้แทนทางการทูตของบริษัทอินเดียตะวันออก เฮนรี เบอร์นี ขณะนั้น อังกฤษได้ผนวกพม่าตอนใต้แล้ว และจึงเป็นเพื่อนบ้านของสยามทางตะวันตก และอังกฤษยังพยายามขยายการควบคุมเหนือมลายูด้วย พระมหากษัตริย์ไม่เต็มพระทัยยอมข้อเรียกร้องของอังกฤษ แต่ที่ปรึกษาของพระองค์กราบทูลเตือนว่า สยามจะเผชิญชะตาเดียวกับพม่าหากไม่บรรลุข้อตกลงกับอังกฤษ ฉะนั้น ใน พ.ศ. 2369 สยามจึงบรรลุสนธิสัญญาพาณิชย์ฉบับแรกกับชาติตะวันตก คือ สนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (หรือสนธิสัญญาเบอร์นี) ภายใต้เงื่อนไขแห่งสนธิสัญญา สยามตกลงจัดตั้งระบบการจัดเก็บภาษีเป็นแบบเดียวกัน ลดภาษีการค้าต่างชาติและลดการผูกขาดของหลวงบางประเภท ผลคือ การค้าของสยามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมหานคร และอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มแผ่ขยาย ราชอาณาจักรมั่งคั่งขึ้นและกองทัพติดอาวุธดีขึ้น

กบฏเจ้าอนุวงศ์ของลาวพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2370 ซึ่งหลังจากนั้นสยามได้ทำลายกรุงเวียงจันทน์ และดำเนินการถ่ายโอนประชากรแบบบังคับขนานใหญ่จากลาวมายังภาคอีสานปัจจุบันที่ครอบครองแน่นหนากว่า และแบ่งแยกเมืองลาวเป็นหน่วยเล็ก ๆ เพื่อป้องกันการก่อการกำเริบอีก ใน พ.ศ. 2385-2388 สยามทำสงครามกับเวียดนามเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นผลให้สยามปกครองกัมพูชาได้รัดกุมขึ้น

จนถึงคริสต์ทศวรรษ 1840 เป็นที่ประจักษ์ว่า เอกราชของสยามอยู่ในอันตรายจากประเทศเจ้าอาณานิคม ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจนจากสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่งระหว่างอังกฤษกับจีนใน พ.ศ. 2382-2385 ใน พ.ศ. 2393 อังกฤษและอเมริกาส่งคณะทูตมายังกรุงเทพมหานครเรียกร้องให้ยุติการจำกัดการค้าทั้งหมด จัดตั้งรัฐบาลแบบตะวันตกและสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่พลเมืองของตน รัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปฏิเสธข้อเรียกร้องเหล่านี้ ทิ้งให้ผู้สืบราชสมบัติอยู่ในสถานการณ์อันตราย

ในทางเศรษฐกิจ นับแต่ก่อตั้งราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ พ่อค้าจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมาก จากเดิมที่ถูกขับไล่ออกไปโดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกเหนือจากพ่อค้า ชาวจีนที่เป็นชาวนาก็เข้ามาแสวงโชคไม่หยุดหย่อนในราชอาณาจักร ผู้ปกครองสมัยนี้ต้อนรับชาวจีนเพราะเป็นแหล่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ พ่อค้าเชื้อสายจีนบางคนได้กลายมาเป็นข้าราชสำนึกถือตำแหน่งสำคัญ วัฒนธรรมจีน เช่น วรรณกรรม ได้รับการยอมรับและสนับสนุน ความสัมพันธ์ของสยามกับจักรวรรดิจีนนั้นเข้มแข็ง ซึ่งรับประกันโดยคณะทูตบรรณาการ ซึ่งดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ชาวจีนจึงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการเกิดใหม่ของราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์

ใกล้เคียง

อาณาจักรอยุธยา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) อาณาจักรล้านนา อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรธนบุรี อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรพระนคร อาณาจักรปตานี อาณาจักรแห่งกาลเวลา

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาณาจักรรัตนโกสินทร์_(สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2450/01... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2489/A/...