งานศึกษาแดช-โซเดียม ของ อาหารแบบแดช

แบบการศึกษา

งานศึกษาแดช-โซเดียมได้ทำต่อจากงานศึกษาแดชเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างการทานเกลือ อาหาร และภาวะความดันโลหิตสูงรวมทั้ง[14][15]

  • ผลของการลดโซเดียมในอาหารอเมริกันและอาหารแดช
  • ผลของการลดโซเดียมอย่างเดียว ของอาหารแดชอย่างเดียว และของทั้งสองอย่าง ต่อคนที่ความดันโลหิตปกติ

งานตรวจผลของระดับโซเดียมต่าง ๆ 3 ระดับ ทำระหว่างเดือนกันยายน 1997 จนถึงเดือนพฤศจิกายน 1999มีจำนวนตัวอย่าง 412 คน ทำในศูนย์การทดลองหลายศูนย์ จัดผู้ร่วมการทดลองเข้ากลุ่มโดยสุ่ม และจัดอาหารทั้งหมดที่ผู้ร่วมการทดลองทาน[15]

ผู้ร่วมการทดลองเป็นผู้ใหญ่ที่มีความดันสูงในเกณฑ์ปกติจนถึงความดันสูงระยะหนึ่ง (เฉลี่ยความดันช่วงหัวใจบีบตัวระหว่าง 120-159 mm Hg และความดันช่วงหัวใจคลายตัวระหว่าง 80-95 mm Hg) และจัดเข้ากลุ่มอาหาร 2 กลุ่มโดยสุ่ม[11]กลุ่มแรกทานอาหารแดช และกลุ่มที่สองทาน "อาหารอเมริกันปกติ" คล้ายกับในการทดลองก่อน ซึ่งมีสารอาหารสำคัญต่าง ๆ รวมทั้งโพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมค่อนข้างน้อยส่วนอาหารแดชก็เหมือนกับการทดลองก่อน

ในระยะเดินเครื่อง (ระยะ 2) สองอาทิตย์ ทุกคนจะทานอาหารกลุ่มควบคุมมีโซเดียมสูงเหมือนกันหลังจากจัดเข้ากลุ่ม ผู้ร่วมการทดลองจะได้โซเดียมทุกวันที่ระดับใดระดับหนึ่งในสามระดับ คือ สูง (3,000 ม.ก.) กลาง (2,400 ม.ก.) และต่ำ (1,500 mg) จัดลำดับโดยสุ่ม แต่ละระดับเป็นเวลา 30 วันติดต่อกัน เป็นวิธีการทดลองแบบข้ามกลุ่ม (crossover)[11]ตลอดระยะรักษา (ระยะ 3) 30 วันต่อมา แต่ละคนจะทานอาหารของกลุ่มที่ตนอยู่โดยมีโซเดียมที่ระดับเดียว และในระยะรักษาอีก 2 รอบต่อมา ก็จะได้อาหารมีระดับโซเดียมที่เหลืออีก 2 ระดับแต่ะละระดับ 30 วันติดต่อกัน[15]ดังนั้น ผู้ร่วมการทดลองทั้งในกลุ่มอาหารแดชและกลุ่มควบคุม จะได้อาหารในกลุ่มของตนแต่มีโซเดียมในระดับต่าง ๆ กัน 3 อย่าง ซึ่งเมื่อสุดระยะรักษา 30 วัน 3 รอบ ทุกคนจะได้ทานอาหารมีโซเดียมทั้ง 3 ระดับแล้ว

ผลและข้อสรุป

ผลหลัก (primary outcome) ของการทดลองนี้ก็คือ ความดันโลหิตช่วงหัวใจบีบตัว และผลรอง (secondary outcome) ก็คือ ความดันระยะหัวใจคลายตัวงานทดลองนี้พบว่า การลดการทานโซเดียมลดความดันทั้งสองชนิดอย่างสำคัญทั้งในกลุ่มทดลองและในกลุ่มควบคุม

การลดโซเดียมในอาหารกลุ่มควบคุมมีอิทธิพลต่อความดันโลหิตเป็น 2 เท่าของกลุ่มอาหารแดชยิ่งกว่านั้น การลดระดับโซเดียมในกลุ่มควบคุมจากกลางเป็นต่ำมีผลต่อความดันช่วงหัวใจบีบตัวมากกว่าการลดระดับจากสูงเป็นกลาง (ลดโซเดียม 40 mmol ต่อวัน หรือเท่ากับเกลือประมาณ 1 กรัม)[16][14]

นักวิชาการได้ชี้ว่า ถ้าบุคคลปกติทานโซเดียมในระดับที่แนะนำ (RDA) โดยวิทยาลัยการแพทย์แห่งชาติสหรัฐ (NAM) อยู่แล้ว ผลลดความดันเพราะลดเกลือจะดีกว่าถ้าทานในระดับเฉลี่ยของสหรัฐอยู่ทำให้นักวิจัยคาดว่า การยอมรับค่าโซเดียมมาตรฐานต่อวันที่ต่ำกว่า 2,400 ม.ก. ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานในปี 2004 เป็นการตัดสินใจที่สมกับหลักฐานวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการศึกษานี้[15]ส่วน USDA (ผ่าน U.S. Dietary Guidelines for Americans) แนะนำให้ทานอาหารมีเกลือ 2,300 ม.ก. ต่อวันหรือน้อยกว่านั้น และแนะนำให้ทาน 1,500 ม.ก. ต่อวันถ้าความดันโลหิตสูงค่าหลังก็คือค่าโซเดียมระดับต่ำที่ศึกษาในการทดลองนี้

ทั้งอาหารแบบแดชปกติและอาหารกลุ่มควบคุมที่มีเกลือต่ำสามารถลดความดันโลหิต แต่จะได้ผลดีสุดเมื่อทานอาหารแดชแบบมีเกลือต่ำ (1,500 ม.ก./วัน)ซึ่งลดความดันโดยเฉลี่ย 8.9/4.5 mm Hg (ความดันระยะหัวใจบีบตัว/คลายตัว)โดยผู้มีความดันสูงลดได้โดยเฉลี่ย 11.5/5.7 mm Hg[11]คือผลของงานแสดงว่า อาหารแดชแบบมีโซเดียมต่ำมีสหสัมพันธ์กับการลดความดันโลหิตมากที่สุดในทั้งผู้มีความดันสูงแต่ในเกณฑ์ปกติและผู้มีโรคความดันสูง โดยได้ผลดีกว่าสำหรับผู้มีความดันสูง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารแบบแดช http://socalurologyinstitute.com/blog/DASH-Diet-Ma... http://videos.med.wisc.edu/videoInfo.php?videoid=1... http://www.health.gov/dietaryguidelines/dga2010/Di... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11136953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12493255 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14656957 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15478706 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16287956 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17045071