ผลการศึกษา ของ อาหารแบบแดช

การทดลองนี้แสดงว่า รูปแบบอาหารมีผลต่อความดันโลหิตในผู้มีความดันสูงในเกณฑ์ปกติและโรคความดันสูงในระดับกลาง ๆ (ความดันช่วงหัวใจบีบตัว < 180 mm Hg และความดันช่วงหัวใจคลายตัวระหว่าง 80-95 mm Hg)[9] อาหารแบบแดชลดความดันโลหิตโดยเฉลี่ย 5.5 mm Hg (ช่วงหัวใจบีบตัว) และ 3.0 mm Hg (ช่วงหัวใจคลายตัว) เทียบกับกลุ่มควบคุมโดยคนจำนวนน้อยส่วนหนึ่งและผู้มีความดันโลหิตสูงจะลดความดันโลหิตได้สูงสุดผู้มีความดันสูงลดความดันได้โดยเฉลี่ย 11.4 mm Hg (ช่วงหัวใจบีบตัว) และ 5.5 mm Hg (ช่วงหัวใจคลายตัว)[9] กลุ่มผักผลไม้ก็ได้ผลเหมือนกัน แม้ความดันจะลดน้อยกว่า คือโดยเฉลี่ยลด 2.8 mm Hg (ช่วงหัวใจบีบตัว) และ 1.1 mm Hg (ช่วงหัวใจคลายตัว)[11]

ในบุคคลทั้งที่มีความดันสูงและไม่มี อาหารแดชได้ผลดีกว่าอาหารผักผลไม้และกลุ่มควบคุมความดันลดลงภายในสองอาทิตย์หลังเริ่มทานอาหาร[11]ผลที่ได้ขยายไปถึงกลุ่มตัวอย่าง (สหรัฐ) ใหญ่สุดที่ได้เก็บข้อมูล[9] ผลข้างเคียงไม่สำคัญ แต่งานศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์รายงานว่า บางคนท้องผูกเมื่อระยะรักษา (3) สิ้นสุดลง กลุ่มควบคุม 10.1% กลุ่มผักผลไม้ 5.4% และกลุ่มแดช 4.0% รายงานว่าท้องผูก ซึ่งแสดงว่ากลุ่มการทดลองทั้ง 2 กลุ่มลดอาการท้องผูกเทียบกับกลุ่มควบคุมอาการทางกระเพาะลำไส้อื่น ๆ เกิดน้อยมากยกเว้นผู้ร่วมการทดลองผู้หนึ่ง (ในกลุ่มควบคุม) ที่มีถุงน้ำดีอักเสบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารแบบแดช http://socalurologyinstitute.com/blog/DASH-Diet-Ma... http://videos.med.wisc.edu/videoInfo.php?videoid=1... http://www.health.gov/dietaryguidelines/dga2010/Di... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11136953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12493255 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14656957 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15478706 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16287956 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17045071