ประวัติและการออกแบบ ของ อาหารแบบแดช

พื้นเพ

ปัจจุบันเชื่อว่า ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสำหรับคนอเมริกัน 50 ล้านคน (จากประชากร 324 ล้านคนโดยมีผู้ใหญ่ประมาณ 245 ล้านคน) และคนทั่วโลก 1 พันล้านคน[6][7]ตามสถาบันหัวใจ ปอด และโลหิตแห่งชาติสหรัฐ (NHLBI) โดยอ้างอิงข้อมูลเริ่มตั้งแต่ปี 2002[6][7] ความดันโลหิตสูง (BP) สัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดปัญหาโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD) อย่างต่อเนื่อง คงเส้นคงวา และเป็นอิสระจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ความดันยิ่งสูงเท่าไร โอกาสเกิดหัวใจล้ม หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตก็สูงขึ้นเท่านั้นสำหรับผู้มีอายุระหว่าง 40-70 ปี ความดันระยะหัวใจบีบตัวที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 20 mm Hg หรือความดันระยะหัวใจคลายตัวที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 mm Hg จะเพิ่มความเสี่ยง CVD เป็นทวีคูณเริ่มตั้งแต่ความดัน 115/75 mm Hg จนถึง 185/115 mm Hg[7]

ความชุกของโรคความดันทำให้สถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐได้เสนอให้งบประมาณเพื่อวิจัยผลของอาหารต่อความดันดังนั้น ในปี 1992 NHLBI จึงได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยการแพทย์ที่มีชื่อเสียง 5 แห่งทั่วสหรัฐเพื่อดำเนินงานวิจัยที่ใหญ่สุดและละเอียดสุดเท่าที่เคยทำเป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (RCT) ซึ่งเป็นรูปแบบการทดลองที่จัดว่าดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยมีแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ นักสถิติ และผู้ประสานงาน ทำงานร่วมกันในศูนย์วิจัย 5 แห่งเพื่อเลือกผู้ร่วมการทดลองและประเมินผลที่ได้ศูนย์วิจัยรวมทั้งมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ (เมืองบอลทิมอร์) ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยดุ๊ก (เมืองเดอร์แฮม รัฐนอร์ทแคโรไลนา) ศูนย์วิจัยสุขภาพขององค์กร Kaiser Permanente (เมืองพอร์ตแลนด์) Brigham and Women's Hospital (นครบอสตัน) และศูนย์วิจัยชีวเวชเพ็นนิงตัน (เมืองแบตันรูช)[2]งานทดลองเกี่ยวกับอาหารได้ทำสองครั้ง ออกแบบให้ทำในหลายศูนย์ จัดผู้ร่วมการทดลองเข้ากลุ่มโดยสุ่ม ให้อาหารทั้งหมดที่ผู้ร่วมการทดลองทาน โดยมุ่งทดสอบผลของรูปแบบอาหารต่อความดันโลหิตเกณฑ์วิธีที่ทำอย่างมีมาตรฐานและทำในหลายศูนย์เช่นนี้ ได้ใช้ในงานวิจัยขนาดใหญ่หลายงานที่ได้งบประมาณจาก NHLBI ลักษณะพิเศษของการทดลองนี้ก็คือ ได้เลือกใช้อาหารที่ทานกันเป็นปกติเพื่อให้ประชาชนยอมรับได้ง่ายถ้าได้ผล[8]งานเริ่มในเดือนสิงหาคม 1993 แล้วยุติในเดือนกรกฎาคม 1997[9]

งานทางวิทยาการระบาดอื่นได้แสดงแล้วว่า รูปแบบอาหารที่มีแร่ธาตุบางอย่างและมีใยอาหารสูงสัมพันธ์กับความดันเลือดที่ต่ำแผนการอาหารนี้ได้แนวคิดจากงานวิจัยเช่นนี้[8]

อาหาร

มีรูปแบบอาหารที่ทดสอบสองอย่างซึ่งใช้เทียบกับอาหารกลุ่มควบคุมอาหารกลุ่มควบคุมมีไขมันและโปรตีนที่เข้ากับรูปแบบ "อาหารอเมริกันปกติในเวลานั้น" แต่มีโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมต่ำกว่าโดยเฉลี่ย (ที่เปอร์เซ็นไทล์ 25 ของการบริโภคในสหรัฐ)[2][10]รูปแบบอาหารทดลองแรกมีผักผลไม้มากกว่า แต่ที่เหลือก็เหมือนกับของกลุ่มควบคุม (เป็นกลุ่ม "อาหารผักผลไม้"[9])ยกเว้นมีของหวาน ๆ และของว่างน้อยกว่า มีใยอาหารมากกว่า มีโพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียมมากกว่า (ที่เปอร์เซ็นไทล์ 75 ของการบริโภคในสหรัฐ)[10]ส่วนรูปแบบอาหารทดลองที่สองมีผักผลไม้มากและมีผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ ทั่วไปมีไขมันรวมและไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า มีใยอาหารและโปรตีนมากกว่าอาหารกลุ่มควบคุม อาหารกลุ่มนี้เรียกว่า อาหารแดช[6]เป็นแผนที่มีใยอาหารมากกว่า มีโพแทสเซียม แมกนีเซียม แคลเซียม มากกว่า (ที่เปอร์เซ็นไทล์ 75 ของการบริโภคในสหรัฐ)[10]มีข้าวกล้อง (ไม่ขัดสี) เนื้อเป็ดไก่ ปลา และถั่วมาก แต่มีเนื้ออื่น ๆ และของหวาน ๆ น้อย[11]

อาหารแดชออกแบบให้มีสารอาหารสำคัญที่เชื่อว่า มีส่วนลดความดันโลหิต โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาการระบาดที่มีมาก่อนงานพิเศษเพราะศึกษารูปแบบอาหาร ไม่ได้ศึกษาสารอาหารเดี่ยว ๆ[8] อาหารยังมีสารต้านอนุมูลอิสระมากซึ่งนักวิชาการบางพวกเชื่อว่า ช่วยชะลอหรือป้องกันปัญหาสุขภาพเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง[2]นักวิจัยยังพบด้วยว่าอาหารแดชมีประสิทธิผลป้องกันและรักษานิ่วไตได้ดีกว่าอาหารที่มีออกซาเลตต่ำ เป็นนิ่วไตแบบแคลเซียมออกซาเลตซึ่งสามัญที่สุด[12]

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแผนการทานอาหารแบบแดชของกระทรวงเกษตรกรรมสหรัฐ (USDA) ที่ให้พลังงาน 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน อาหารแต่ละกลุ่มควรปรับให้เข้ากับพลังงานที่ร่างกายใช้ในแต่ละวัน

แผนการทานอาหารแบบแดช[13]
กลุ่มอาหารจำนวนส่วนอาหารแต่ละวัน
(ยกเว้นตามกำหนด)
ขนาดส่วนอาหาร
ข้าวกล้องและผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง 7-8 ขนมปัง 1 แผ่น

ธัญพืช/ซีเรียลสำเร็จรูป* 1 ถ้วย
ข้าวกล้อง หรือพาสตา หรือธัญพืช ที่สุกแล้ว 1/2 ถ้วย

ผัก 4-5 ผักใบสด 1 ถ้วย

ผักสุก 1/2 ถ้วย
น้ำผัก 170 กรัม

ผลไม้ 4-5 ผลไม้ขนาดกลาง 1 ลูก

ผลไม้แห้ง 1/4 ถ้วย
ผลไม้สด แช่แข็ง หรือกระป๋อง 1/2 ถ้วย
น้ำผลไม้ 170 กรัม

ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำหรือปลอดไขมัน 2-3 นม 227 กรัม

โยเกิร์ต 1 ถ้วย
ชีส 43 กรัม

เนื้อไม่มีมัน เป็ดไก่ หรือปลา 2 หรือน้อยกว่า เนื้อไม่มีมัน หรือเป็ดไก่ไม่มีหนัง หรือปลา 85 กรัม
เมล็ดถั่ว เมล็ดพืช และถั่วแห้ง 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เมล็ดถั่ว 1/3 ถ้วยหรือ 43 กรัม

เมล็ดพืช 1 ช้อนโต๊ะหรือ 14 กรัม
ถั่วแห้งสุก 1/2 ถ้วย

ไขมันและน้ำมัน 2-3 เนยเทียม "นิ่ม" 1 ช้อนชา

มายองเนสไขมันต่ำ 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำสลัด (แบบน้ำมันผสมของเปรี้ยว) 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 1 ช้อนชา

ของหวาน 5 ต่ออาทิตย์ น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ

แยม 1 ช้อนโต๊ะ
ขนม Jelly bean 14 กรัม
น้ำมะนาว 227 กรัม

  • *ส่วนหนึ่งจะต่าง ๆ ระหว่าง 1/2 ถ้วยจนถึง 1 1/4 ถ้วย ดูป้ายผลิตภัณฑ์อาหาร
  • รูปแบบไขมันจะเปลี่ยนจำนวนส่วนของไขมันและน้ำมัน ยกตัวอย่างเช่น น้ำสลัดธรรมดา 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 1 ส่วน, น้ำสลัดไขมันต่ำ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 1/2 ส่วน และน้ำสลัดปลอดไขมัน 1 ช้อนโต๊ะเท่ากับ 0 ส่วน

แบบงานศึกษา

ผู้ร่วมการทดลองทานอาหาร 3 รูปแบบโดยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ (1) ตรวจคัด (screening) (2) การเดินเครื่อง (run-in) และ (3) การรักษา (intervention)ระยะแรกเป็นการตรวจคัดผู้ร่วมการทดลองอาศัยผลการวัดความดันโลหิตหลายครั้งรวม ๆ กันระยะที่สองทำเป็นเวลา 3 อาทิตย์ ให้ผู้ร่วมการทดลองทานอาหารกลุ่มควบคุม วัดความดันโลหิตทุกวัน ตรวจปัสสาวะครั้งหนึ่ง และตอบคำถามเกี่ยวกับอาการในที่สุดของระยะนี้ ผู้ที่สามารถทานตามโปรแกรมอาหารได้จะจัดเข้ากลุ่มอาหาร 3 กลุ่มดังที่ว่าโดยสุ่ม โดยจะเริ่มทานในอาทิตย์ที่ 4ซึ่งเป็นระยะต่อไปเป็นระยะที่ทำ 8 อาทิตย์ที่ผู้ร่วมการทดลองจะทานอาหารตามที่ให้ (ตามกลุ่มที่จัดเข้าโดยสุ่ม)มีการวัดความดันโลหิตและตรวจปัสสาวะเหมือนกันในระยะนี้ บวกกับให้ตอบคำถามเกี่ยวกับอาการและการออกกำลังกายผู้ร่วมการทดลองกลุ่มแรกเริ่มโปรแกรมระยะที่สองในเดือนกันยายน 1994 และกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ 5 เริ่มในเดือนมกราคม 1996[9]

อาหารแต่ละโปรแกรมมีโซเดียม 3,000 ม.ก. เหมือน ๆ กัน ซึ่งเป็นค่าบริโภคเฉลี่ยทั่วประเทศในขณะนั้นผู้ร่วมการทดลองยังได้เกลือ 2 ถุงพิเศษแต่ละถุงมีเกลือ 200 ม.ก. เพื่อใช้ตามแต่จะชอบจำกัดให้ทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2 ที่แต่ละวัน และเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนไม่เกิน 3 ที่[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารแบบแดช http://socalurologyinstitute.com/blog/DASH-Diet-Ma... http://videos.med.wisc.edu/videoInfo.php?videoid=1... http://www.health.gov/dietaryguidelines/dga2010/Di... http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topi... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11136953 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12493255 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14656957 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15478706 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16287956 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17045071