เหตุ ของ อาหารไม่ย่อย

ที่ไม่เกี่ยวกับแผลเปื่อย

ในบรรดาคนไข้อาหารไม่ย่อย ร้อยละ 50-70 จะไม่สามารถระบุโรคทางกายที่เป็นเหตุของอาการได้ซึ่งในกรณีนี้ อาจเรียกว่าได้ว่า เป็นอาหารไม่ย่อยที่ไม่เกี่ยวกับแผลเปื่อย และวินิจฉัยอาศัยการมีการปวดที่ยอดอกเป็นอย่างน้อย 6 เดือน โดยไร้สาเหตุอื่นที่อาจอธิบายอาการได้

หลังติดเชื้อ

กระเพาะและลำไส้เล็กอักเสบอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดอาหารไม่ย่อยแบบเรื้อรังส่วนอาหารไม่ย่อยหลังติดเชื้อ (infectious dyspepsia) เป็นคำที่ใช้เมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อยหลังจากกระเพาะและลำไส้เล็กเกิดติดเชื้อแบบฉับพลันนักวิชาการเชื่อว่า มูลฐานของกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS) และอาหารไม่ย่อยหลังติดเชื้ออาจคล้ายกัน โดยเป็นด้านต่าง ๆ ของพยาธิสรีรวิทยาเดียวกัน[15]

โดยหน้าที่/การทำงาน

อาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่/การทำงาน (functional dyspepsia) เป็นอาหารไม่ย่อยเรื้อรังแบบสามัญที่สุดคือคนไข้อาการนี้ถึง 70% จะไม่สามารถตรวจพบว่าเป็นโรคกายที่เนื่องกับอาการโดยอาการอาจมาจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างระบบประสาท อาหารค้างอยู่ในกระเพาะนาน (เช่น เพราะเหตุอัมพฤกษ์กระเพาะ) หรือการปรับรับอาหารได้บกพร่องความวิตกกังวลยังสัมพันธ์กับอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่อีกด้วยในบางกรณี มันอาจเป็นอาการที่ปรากฏก่อนอาการลำไส้-ทางเดินอาหารอื่น ๆในบางกรณี ความวิตกกังวลจะเกิดหลังจากเกิดอาการนี้ ซึ่งแสดงนัยว่ามีความผิดปกติในการส่งสัญญาณระหว่างลำไส้-ทางเดินอาหารกับสมองแม้ไม่เป็นโรคร้าย แต่อาการก็อาจเรื้อรังและรักษายาก[16]

อาหารที่ประกอบด้วยข้าวสาลีและไขมันอาจทำให้อาหารไม่ย่อย ดังนั้น การลดหรือหยุดอาหารเหล่านั้นอาจทำให้อาการดีขึ้น[17]

โรคทางเดินอาหาร

เมื่อสามารถหาเหตุได้ โดยมากก็จะเป็นโรคกรดไหลย้อนและโรคแผลเปื่อยเพปติกเหตุที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งกระเพาะอักเสบ, มะเร็งกระเพาะอาหาร, มะเร็งหลอดอาหาร, coeliac disease[upper-alpha 2],แพ้อาหาร, โรคลำไส้อักเสบ, mesenteric ischemia ซึ่งเป็นภาวะที่ลำไส้เล็กบาดเจ็บเนื่องจากไม่ได้รับเลือดเพียงพอ[20],และอัมพฤกษ์กระเพาะอาหาร

โรคตับและตับอ่อน

โรคตับและตับอ่อนที่ทำให้เกิดอาการนี้รวมทั้งโรคนิ่วน้ำดี ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งตับอ่อน

การรับอาหารและยา

อาหารไม่ย่อยแบบฉับพลันโดยเป็นชั่วคราวอาจเกิดจากการทานอาหารมากเกินไป เร็วเกินไป ทานอาหารไขมันสูง ทานอาหารเมื่อเครียด หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือกาแฟมากเกินไป มียาหลายชนิดทำให้อาหารไม่ย่อย รวมทั้ง[21]

การติดเชื้อ Helicobacter pylori

บทบาทของแบคทีเรีย Helicobacter pylori ในอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ยังเป็นเรื่องไม่ยุติ โดยยังไม่ปรากฏความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุผลที่ชัดเจนซึ่งจริงทั้งในเรื่องของอาการและพยาธิสรีรวิทยาแม้จะมีงานศึกษาทางวิทยาการระบาดบ้างที่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อ H. pylori กับอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่ แต่งานศึกษาอื่น ๆ ก็ไม่แสดงข้อขัดแย้งอาจมาจากความแตกต่างของวิธีการที่ใช้ และการไม่พิจารณาตัวแปรกวน เช่น ประวัติว่าเคยมีโรคแผลเปื่อยเพปติกมาก่อน และสถานะทางสังคม-เศรษฐกิจ[22]

การทดลองที่มีกลุ่มควบคุมต่าง ๆ สรุปไม่เหมือนกันว่า การกำจัดเชื้อ H. pylori มีประโยชน์ต่ออาการอาหารไม่ย่อยโดยหน้าที่หรือไม่ โดยการทดลองประมาณครึ่งหนึ่งแสดงว่ามีผลดี ส่วนอีกครึ่งไม่แสดงว่ามีประโยชน์การทดลองรวมข้อมูลหลายศูนย์ในสหรัฐที่จัดคนไข้โดยสุ่มเข้ากลุ่มรักษาหรือกลุ่มยาหลอกแล้วติดตามคนไข้ 12 เดือนพบว่า 28% ของคนไข้ที่รักษาและ 23% ที่ได้รับยาหลอกรายงานว่า อาการบรรเทาลงเมื่อติดตามที่ 12 เดือนเช่นเดียวกัน งานทดลองในยุโรปก็ไม่แสดงความแตกต่างการบรรเทาอาการที่สำคัญเมื่อกำจัดเชื้อ H. pylori เทียบกับกลุ่มควบคุม

มีงานปริทัศน์เป็นระบบหลายงานในเรื่องการกำจัดเชื้อ แต่ก็มีผลต่าง ๆ กันเช่นกันงานปริทัศน์เป็นระบบในวารสารแพทย์ Annals of Internal Medicine แสดงว่า ไม่มีผลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมี OR ของการรักษาสำเร็จเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ 1.29 (95% CI, 0.89-1.89; P = 0.18)คือ ไม่ปรากฏกว่ามีผลไม่ว่าจะปรับการวิเคราะห์เพื่อลดความต่าง ๆ กันของงานทดลองและเพื่อแยกแยะว่าได้กำจัด/รักษาเชื้อ H. pylori ได้จริง ๆ ด้วยหรือไม่ส่วนงานทบทวนแบบคอเครนพบผลเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญในการบรรเทาอาการเมื่อเทียบการกำจัด H. pylori กับยาหลอก คือ 36% vs 30% ตามลำดับ[23][24]

โรคทั่วกาย

มีโรคทั่วกาย (systemic disease) จำนวนหนึ่งที่อาจมีอาการอาหารไม่ย่อย รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะหัวใจวาย โรคเบาหวาน ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์เกิน (hyperparathyroidism) โรคไทรอยด์ และโรคไตเรื้อรัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: อาหารไม่ย่อย http://www.diseasesdatabase.com/ddb30831.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=536.... http://www.medicinenet.com/radiculopathy/article.h... http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-... http://www.fda.gov/medwatch/safety/2000/safety00.h... http://www.niddk.nih.gov/health-information/health... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11242496 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11849130 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12269960