อินเจนูอิตี
อินเจนูอิตี

อินเจนูอิตี

อินเจนูอิตี (อังกฤษ: Ingenuity) เป็นเฮลิคอปเตอร์หุ่นยนต์ขนาดเล็ก ซึ่งอยู่บนดาวอังคาร ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 มันประสบความสำเร็จในการบินขับเคลื่อนควบคุมโดยใช้แรงยกจากชั้นบรรยากาศบนดาวเคราะห์ใด ๆ นอกจากโลกเป็นครั้งแรก ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 โดยบินขึ้นเป็นแนวดิ่ง รักษาความสูง และลงจอด[9][10] เฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กลอยขึ้นประมาณ 3 m (9.8 ft) และอยู่เหนือพื้น 39.1 วินาที ก่อนกลับสู่พื้นผิวดาวอังคาร[11]อินเจนูอิตีเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจมาร์ส 2020 ของนาซา, โดรนอากาศยานปีกหมุนร่วมแกนขนาดเล็กนี้ ทำหน้าที่เป็นตัวสาธิตเทคโนโลยีสำหรับความเป็นไปได้ในการใช้ยานสำรวจบินได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ พร้อมทั้งศักยภาพในการสำรวจตำแหน่งแห่งความสนใจ และสนับสนุนการวางแผนเส้นทางขับเคลื่อนของยานสำรวจดาวอังคารในอนาคต[12][13][1] อินเจนูอิตี ปัจจุบันอยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร โดยมันถูกเก็บไว้ด้านใต้ของยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์ระหว่างการเดินทางไปดาวอังคาร มันถูกปล่อยลงบนพื้นผิวในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564[5][6][7] ประมาณ 60 วันหลังจากการลงจอดของเพอร์เซเวียแรนส์ ณ จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์ ในหลุมอุกกาบาตเจซีโร หลังจากที่มันปล่อยเฮลิคอปเตอร์ลงบนพื้นผิวแล้ว ยานสำรวจดาวอังคารนั้นขับเคลื่อนออกมาประมาณ 100 m (330 ft) จากเฮลิคอปเตอร์เพื่อให้มี "เขตกันชน" ซึ่งเป็นเขตที่อินเจนูอิตี้ได้ทำการบินครั้งแรก [14] [15] การบินครั้งแรกนั้นเกิดนั้นในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 ณ เวลา 14:15น. UTC+7 (7:15น. UTC) พร้อมกับการส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่องสดในอีก 3 ชั่วโมงต่อมา (17:15น. UTC+7, 10:15น. UTC) ยืนยันการบินสำเร็จ[16][17][18][19]อินเจนูอิตี นั้นถูกคาดว่าจะบินได้ถึงห้าครั้งระหว่างช่วงทดสอบ 30 วัน ซึ่งถูกวางแผนไว้ให้ปฏิบัติในช่วงต้นของภารกิจของยานสำรวจดาวอังคาร โดยส่วนใหญ่เป็นการสาธิตเทคโนโลยี[1][20] โดยการบินแต่ละครั้งนั้นถูกวางแผนให้บินที่ความสูงตั้งแต่ 3–5 m (10–16 ft) เหนือพื้นดิน.[1] เป็นเวลาถึง 90 วินาที ต่อครั้ง อินเจนูอิตี สามารถเดินทางในแนวราบได้ 50 m (160 ft) และกลับมายังจุดเริ่มต้น[1] โดยระบบควบคุมอัตโนมัติ ระหว่างช่วงการบินสั้น ๆ ของมันจะถูกวางแผนด้วยการการควบคุมหุ่นยนต์ทางไกล เขียนขั้นตอนการทำงานโดยผู้ดำเนินการ ณ ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (เจพีแอล) มันจะสื่อสารโดยตรงกับ ยานสำรวจเพอร์เซเวียแรนส์หลังจากการลงจอดแต่ละครั้ง ใบพัดของมันปลดออกได้สำเร็จในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 ไม่กี่วันหลังจากถูกปล่อยลงพื้นผิวจากเพอร์เซเวียแรนส์[21][22]อินเจนูอิตี ขนชิ้นส่วนผ้าจากปีกของไรต์ไฟลเออร์ เครื่องบินของพี่น้องไรต์ อากาศยานขับเคลื่อนควบคุมลำแรกของมนุษยชาติบนโลก [23] และจุดบินขึ้นและลงจอดแรกของอินเจนูอิตีถูกตั้งชื่อว่า ลานพี่น้องไรต์ [24] ก่อนการบินของอินเจนูอิตี การบินครั้งแรกในทุกประเภทบนดาวเคราะห์ดวงอื่นนอกจากโลกคือ การบินบอลลูนไร้แรงขับบนดาวศุกร์ โดยยานอวกาศ เวกา 1 ของสหภาพโซเวียตในปี พ.ศ. 2528[25]

อินเจนูอิตี

ผู้ผลิต ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (นาซา)
ประเภท เฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ
ลงจอด 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 20:55 UTC
หมายเลขจดทะเบียน IGY
สถานะ
  • ปฏิบัติการ (ปล่อยลงจากเพอร์เซเวียแรนส์)
  • ปล่อยลงเมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2564[5][6][7][8]
กำลังไฟฟ้า 350 watts[1][4]
ขนาด
  • ลำตัว: 13.6 × 19.5 × 16.3 ซm (0.45 × 0.64 × 0.53 ft)[1]
  • ขาลงจอด: 0.384 m (1 ft 3.1 in)[1]
ความสูง 0.49 m (1 ft 7 in)[1]
เส้นผ่าศูนย์กลาง ใบพัด: 1.2 m (4 ft)[1][2][3]
วันที่ส่งขึ้น 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 11:50:00 UTC
พิกัดลงจอด 18°26′41″N 77°27′03″E / 18.4447°N 77.4508°E / 18.4447; 77.4508
หลุมอุกกาบาตเจซีโร
จุดลงจอดออกเตเวีย อี บัตเลอร์
มวลหลังการลงจอด
  • ทั้งหมด: 1.8 kg (4.0 lb)[1][3]
  • แบตเตอรี่: 273 g (9.6 oz)
ชื่ออื่น
  • เฮลิคอปเตอร์สำรวจดาวอังคาร
  • เฮลิคอปเตอร์ดาวอังคาร
  • จินนี
ฐานส่ง แหลมคะแนเวอรัล, SLC-41

ใกล้เคียง

อินเจนูอิตี อินเจอรา อินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส อิน-จัน อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2015 อินเตอร์เนชันแนลแชมเปียนส์คัพ ฤดูกาล 2016

แหล่งที่มา

WikiPedia: อินเจนูอิตี http://www.ibtimes.com/nasas-mars-helicopter-small... http://spacenews.com/decision-expected-soon-on-add... http://spacenews.com/elachi-touts-helicopter-scout... http://www.unmannedspaceflight.com/index.php?showt... http://www.unmannedspaceflight.com/uploads/post-22... http://www.nasa.gov/feature/jpl/nasa-s-mars-helico... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33875875 //doi.org/10.1038%2Fd41586-021-00909-z //doi.org/10.1109%2FMAP.2020.2990088 //doi.org/10.2514%2F6.2019-1411