ข้อวิจารณ์ ของ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

นักวิจัยบางท่านเสนอว่า สิ่งที่เราคิดว่าเป็นเหตุผลของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ และไม่ใช่จินตนาภาพของเหตุการณ์นั้น ๆ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการประเมินความน่าจะเป็นของผล[28] หลักฐานที่สนับสนุนไอเดียนี้มาจากงานวิจัยที่ให้ผู้ร่วมการทดลองจินตนาการถึงผู้ชนะการอภิปราย หรือให้คิดถึงเหตุผลว่าทำไมนายโรนัลด์ เรแกน หรือนายวอลเตอร์ มอนเดล์ จะชนะการอภิปรายเนื่องด้วยการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ค.ศ. 1984ผลงานวิจัยนี้แสดงว่า การจินตนาการว่า นายเรแกนหรือนายมอนเดล์ชนะการอภิปราย ไม่มีผลต่อการพยากรณ์ว่าใครจะชนะการอภิปรายแต่ว่า การจินตนาการและการพิจารณาถึงเหตุผลว่าทำไมนายเรแกนหรือนายมอนเดล์จะชนะ มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการพยากรณ์[28]

ส่วนนักจิตวิทยาพวกอื่น ๆ เสนอว่า งานวิจัยคลาสสิกทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายคลุมเครือและไม่ได้อธิบายถึงกระบวนการทางประชานที่เป็นฐานของการตัดสินใจ[29] ยกตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับงานวิจัยปี ค.ศ. 1973 ที่มีชื่อเสียงของทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมัน แว้งก์และคณะเชื่อว่า ความยากง่ายที่ไม่เหมือนกันในการระลึกถึงความจำ สามารถปรับเปลี่ยนการประเมินความสามัญของชื่อได้โดยสองวิธีในวิธีหนึ่ง ดังที่สมมุติฐานเกี่ยวกับฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายได้แสดงแล้ว ผู้รับการทดลองจะใช้ความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับความยากง่ายในการระลึกถึงชื่อเป็นฐานในการตัดสินใจซึ่งถ้าเป็นโดยวิธีนี้ ก็จะสามารถพยากรณ์การตัดสินใจของผู้ร่วมการทดลองว่า จะแสดงความชุกในระดับที่สูงกว่าของชื่อที่ระลึกได้ง่ายกว่า ส่วนวิธีที่สองที่ใช้เปรียบเทียบกัน นักวิจัยเสนอว่า ผู้ร่วมการทดลองอาจจะระลึกถึงชื่อแต่ละประเภทให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในเวลาที่ให้ แล้วตัดสินใจโดยใช้ชื่อที่ระลึกได้เป็นฐาน (ไม่ได้ใช้ความยากง่าย)ถ้าชื่อที่ระลึกได้ง่ายกว่าเริ่มด้วยอักษรใดอักษรหนึ่ง ก็จะระลึกถึงชื่อเช่นนั้นได้มากกว่าชื่ออื่น ๆ และก็จะสามารถพยากรณ์การตัดสินใจของผู้ร่วมการทดลองว่า จะแสดงความชุกในระดับที่สูงกว่าของชื่อเหล่านั้น แต่ว่าในกรณีที่สอง การตัดสินใจจะมีฐานเป็นสิ่งที่ระลึกถึงได้ ไม่ใช่มีฐานเป็นความรู้สึกตามอัตวิสัยของความยากง่ายในการระลึกถึงความจำ[29]

มีนักวิจัยบางพวกคิดว่า อาจมีตัวแปรสับสน (confounding variable) ในงานวิจัยดั้งเดิมของทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมัน[8] คือนักวิจัยตั้งของสงสัยว่า ผู้ร่วมการทดลองตัดสินความสามัญของชื่อคนมีชื่อเสียงโดยมีฐานเป็นข้อมูลที่ระลึกได้ หรือว่ามีฐานเป็นความยากง่ายในการระลึกได้ส่วนนักวิจัยบางพวกเสนอว่า แบบการทดลองในยุคต้น ๆ มีปัญหาและไม่สามารถกำหนดจริง ๆ ได้ว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายมีการทำงานอย่างไร[8]

งานวิจัยในปี ค.ศ. 1995 แสดงหลักฐานว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายเป็นกลยุทธ์เพียงอย่างหนึ่งในกลยุทธ์หลายอย่างที่มนุษย์ใช้ในการประเมินความสามัญของสิ่ง ๆ หนึ่ง[30] งานวิจัยในอนาคตควรที่จะพยายามทำการวิเคราะห์โดยพิจารณากลยุทธ์อื่น ๆ เหล่านี้ด้วย

ใกล้เคียง

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ฮิวริสติกโดยการตั้งหลักและการปรับ ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน ฮิวริสติก (แก้ความกำกวม) ฮิวริสติก (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ฮิวริสติก ฮิว กริฟฟิท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย http://www.businessinsider.com/the-availability-bi... http://www.investopedia.com/university/behavioral_... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/bsl.237... http://dtserv2.compsy.uni-jena.de/__C1257641005FF6... //doi.org/10.1002%2Facp.2350090202 //doi.org/10.1002%2Fbsl.2370070106 //doi.org/10.1007%2Fs10551-008-9690-7 //doi.org/10.1016%2F0001-6918(93)e0072-a //doi.org/10.1016%2F0010-0285(73)90033-9 //doi.org/10.1016%2Fs0022-5371(67)80066-5