ในชีวิตจริง ของ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

สื่อ

หลังจากที่เห็นข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับการลักพาตัวเด็ก เราอาจจะตัดสินใจว่า เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าความเป็นจริงคือ สื่อสามารถช่วยทำให้เรามีคิดที่มีความเอนเอียงเพิ่มขึ้น โดยทำเหตุการณ์ที่ไม่ทั่วไปให้เป็นข่าวแพร่หลายไปอย่างกว้างขวางเช่นเรื่องฆาตกรรม อุบัติเหตุเครื่องบิน และไม่ทำเรื่องที่ปกติทั่วไปแต่ไม่เร้าใจให้เป็นข่าว เช่นโรคที่สามัญและอุบัติเหตุรถยนต์ต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อถามถึงความน่าจะเป็นของเหตุต่าง ๆ ของการเสียชีวิต เรามักจะกล่าวถึงเหตุน่าสนใจพอที่จะเป็นข่าวได้ว่าเป็นไปได้มากกว่า เพราะว่า เราสามารถระลึกถึงตัวอย่างเหล่านั้นได้ดีกว่านอกจากนั้นแล้ว เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่ชัดเจนเช่น ฆาตกรรม การถูกฉลามทำร้าย หรือการถูกฟ้าผ่ามักจะรับการรายงานในสื่อ (ฝรั่ง) มากกว่าเหตุของความตายต่าง ๆ ที่สามัญแต่ไม่เร้าใจเช่นโรคสามัญธรรมดา ๆ[14]

ยกตัวอย่างเช่น หลายคนคิดว่ามีโอกาสที่จะตายเพราะถูกฉลามทำร้ายมากกว่าที่จะตายเพราะถูกชิ้นส่วนจากเครื่องบินตกใส่ แม้ว่าความจริงแล้ว จะมีคนตายเพราะถูกชิ้นส่วนจากเครื่องบินตกใส่มากกว่าเราคิดผิดอย่างนี้ก็เพราะว่า เมื่อมีคนถูกฉลามทำร้าย เหตุเสียชีวิตนั้นมักจะมีการสื่อข่าวไปอย่างกว้างขวาง แต่การเสียชีวิตเพราะถูกชิ้นส่วนจากเครื่องบินตกใส่ไม่ค่อยได้รับการออกข่าว[15]

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 2010 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรายการโทรทัศน์ที่เหมือนชีวิตจริงกับการเข้าใจถึงชีวิตในสังคมพบว่าคนที่ดูรายการโทรทัศน์รุนแรงเหมือนจริงให้การประเมินว่า มีความชุกของอาชญากรรมและความไร้ศีลธรรมของพวกตำรวจในระดับที่สูงกว่าคนที่ไม่ได้ดูผลงานวิจัยเช่นนี้บอกเป็นนัยว่า ความรุนแรงที่แสดงในโทรทัศน์มีผลโดยตรงต่อความเชื่อเกี่ยวกับความเป็นไปในสังคมและการรับเรื่องความรุนแรงที่เหมือนจริงบ่อย ๆ นำไปสู่การประเมินถึงความชุกของอาชญากรรมและความรุนแรงในสังคมที่เพิ่มระดับขึ้น[16]

ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีงานวิจัยที่แสดงผลค้านการค้นพบเช่นนั้น คือ นักวิจัยที่ทำงานคล้าย ๆ กันอ้างว่า ความเชื่อที่มีความเอนเอียงเหล่านี้อาจเกิดจากการได้รับข้อมูลใหม่คือ นักวิจัยได้ตรวจสอบผลของข้อมูลใหม่ โดยให้ผู้ร่วมการทดลองดูหนังที่แสดงเหตุการณ์เสี่ยงภัยที่ผาดโผน แล้ววัดการประเมินความเสี่ยงของผู้ร่วมการทดลองหลังได้ดูหนังผลที่พบก็คือ โดยเฉลี่ยแล้ว ไม่ปรากฏว่าผู้ร่วมการทดลองรู้สึกว่ามีความเสี่ยงสูงขึ้น แม้ว่าหนังจะแสดงภัยอันตรายที่ดูน่าจะเป็นไปได้ดังนั้นโดยรวม ๆ แล้ว ผลงานวิจัยนี้คัดค้านงานทดลองก่อน ๆ[17]

สุขภาพ

ในปี ค.ศ. 1991 นักวิจัยได้ทำการตรวจสอบวิธีแก้ปัญหาทางประชานในกระบวนการประเมินความเสี่ยงของโรคเอดส์นายแพทย์ 331 คนได้รายงานว่ามีความวิตกกังวลว่าจะติดเชื้อเอชไอวีเพราะเหตุแห่งอาชีพ และเพราะทำงานกับคนไข้ที่มีเชื้อเอชไอวีโดยวิเคราะห์คำตอบที่ได้มาจากนายแพทย์ นักวิจัยสรุปว่า ข้อมูลความจริงที่มีเกี่ยวกับเอดส์ ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความรู้สึกเกี่ยวกับความเสี่ยง[18] (คือแม้ว่าข้อมูลอาจจะบอกว่าความเสี่ยงมีในระดับต่ำ แต่แพทย์ก็ยังรู้สึกเสียวว่าจะติดโรคอยู่ดี)

ในปี ค.ศ. 1992 มีการให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านคำพรรณนาถึงคนไข้สมมุติที่มีเพศต่าง ๆ กันมีความชอบใจทางเพศต่าง ๆ กันคนไข้สมมุติเหล่านี้แสดงอาการของโรคสองโรคผู้ร่วมการทดลองต้องบอกว่า ตนคิดว่าคนไข้เหล่านั้นมีโรคอะไรแล้วให้คะแนนคนไข้เกี่ยวกับความเป็นผู้มีความรับผิดชอบและความน่าพึงใจทางสังคมผลที่ได้ปรากกฏว่าเข้ากับปรากฏการณนี้ คือ ผู้ร่วมการทดลองจะเลือกถ้าไม่โรคไข้หวัดใหญ่ (ที่เกิดบ่อย ๆ) ก็โรคเอดส์ (ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลมากกว่า)[19]

ธุรกิจและเศรษฐกิจ

งานวิจัยหนึ่งทำการวิเคราะห์บทบาทของฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายในตลาดหลักทรัพย์คือ นักวิจัยได้กำหนดและทดสอบแบบสองอย่างของปรากฏการณ์นี้[20]

  • ความพร้อมใช้งานของผล (outcome availability) คือผลบวกหรือผลลบในการลงทุน - โดยใช้ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์เป็นตัวแทน
  • ความพร้อมใช้งานของความเสี่ยง (risk availability) - โดยใช้ระดับความเคลื่อนไหวของดัชนีเป็นตัวแทน[20]

นักวิจัยได้พบว่า

  • ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นที่เป็นการตอบสนองต่อการยกระดับคำแนะนำหุ้น (ของนักวิเคราะห์หุ้น) มีกำลังกว่าถ้าดัชนีมีผลบวกในวันนั้น และราคาหุ้นลดลงที่เป็นการตอบสนองต่อการลดระดับคำแนะนำหุ้นมีกำลังกว่าถ้าดัชนีมีผลลบในวันนั้น ซึ่งนักวิจัยแสดงว่าเป็นผลของ outcome availability คือการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายคือดัชนีในวันนั้น
  • ในวันที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความเปลี่ยนแปลงมาก (คือมีความเสี่ยงสูง) ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นผิดปกติที่เป็นการตอบสนองต่อการยกระดับคำแนะนำหุ้นมีกำลังอ่อน และราคาหุ้นที่ลดลงผิดปกติที่เป็นการตอบสนองต่อการลดระดับคำแนะนำหุ้นมีกำลังมากกว่า ซึ่งเป็นผลของ risk availability คือการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่เข้าถึงได้ง่ายคือความแปรปรวนของดัชนีในวันนั้น
  • ผลของปรากฏการณ์นี้ทั้งสองรูปแบบก็ยังมีนัยสำคัญแม้เมื่อควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่เฉพาะบริษัทหรือเฉพาะเหตุการณ์[20]

งานวิจัยได้ชี้ว่า เพราะเราใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย มนุษย์อาจจะเชื่อถือไม่ได้เพราะประเมินความน่าจะเป็นโดยให้น้ำหนักต่อข้อมูลปัจจุบันหรือข้อมูลที่ระลึกถึงได้ง่าย แทนที่จะใช้ข้อมูลที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกันทั้งหมดเนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายนักวิจัยกลุ่มต่าง ๆ ได้พยายามระบุคุณสมบัติต่าง ๆ ในวัฏจักรธุรกิจ เพื่อจะพยากรณ์ความเอนเอียงโดยความพร้อมใช้งานในงานพยากรณ์ธุรกิจของนักวิเคราะห์ และพบว่า มีความเอนเอียงโดยความพร้อมใช้งานในงานพยากรณ์ธุรกิจของนักวิเคราะห์ ซึ่งมีผลต่อการลงทุน[21]

โดยสาระก็คือ นักลงทุนใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายเพื่อการตัดสินใจในการลงทุน และเพราะเหตุนั้น อาจจะไม่ได้ประสิทธิภาพการลงทุนที่ดีเช่น ความรู้สึกที่ยืดเยื้อเกี่ยวกับสภาพของตลาดที่ไม่ดีอาจจะทำให้มองโอกาสต่าง ๆ ในการลงทุนในแง่ลบเกินไปทำให้ไม่รู้สึกว่าควรจะเสี่ยงลงทุน ไม่ว่ากำไรที่ได้จากการลงทุนในหลักทรัพย์ที่รู้สึกว่า "ปลอดภัย" จะน้อยแค่ไหนเพื่อที่จะแสดงเนื้อความนี้ มีงานสำรวจประจำปีของบริษัทลงทุน Franklin Templeton ที่ถามคนที่สำรวจว่า ตนเชื่อว่าดัชนีหุ้น S&P 500 ทำเงินได้ดีขนาดไหนในปี ค.ศ. 2009, 2010 และ 201166% ของผู้ตอบกล่าวว่า ตนเชื่อว่าตลาดหุ้นไม่กระเตื้อง หรือเชื่อว่าตกลงในปี ค.ศ. 2009 48% บอกอย่างเดียวกับสำหรับปี ค.ศ. 2010 และ 53% บอกอย่างเดียวกับสำหรับปี ค.ศ. 2011แต่จริง ๆ แล้ว ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 26.5% ในปี ค.ศ. 2009เพิ่มขึ้น 15.1% ในปี ค.ศ. 2010 และเพิ่มขึ้น 2.1% ในปี ค.ศ. 2011ซึ่งแสดงว่า ความรู้สึกที่ยืดเยื้อที่เกิดจากเหตุการณ์รุนแรงและที่ทำให้เกิดความช้ำใจ (เช่นตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลลบในปีก่อน ๆ) สามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะได้ยุติไปแล้ว[22]

นอกจากนั้นแล้ว งานวิจัยในปี ค.ศ. 2009 พบว่า ความยากง่ายในการระลึกถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เชื่อว่าการกระทำหนึ่ง ๆ นั้นยอมรับได้โดยศีลธรรม มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกทางศีลธรรมในเรื่องนั้นของบุคคลนั้นผลงานวิจัยนี้บอกเป็นนัยว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายมีอิทธิพลเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมทางจริยธรรมภายในองค์กรต่าง ๆ[23] (ดังนั้น ถ้ามีตัวอย่างที่ไม่ดีให้นึกถึงได้ง่าย ก็จะมีความรู้สึกว่าเรื่องที่ไม่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้โดยศีลธรรม)

การศึกษา

งานวิจัยในปี ค.ศ. 2006 ของเครก ฟ๊อกซ์ ให้ตัวอย่างของการใช้ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายในห้องเรียนในงานวิจัยนี้ ฟ๊อกซ์ทดสอบว่า ความยากลำบากในการระลึกถึงมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจอย่างไร โดยเฉพาะในการประเมินหลักสูตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยคือ ฟ๊อกซ์ให้นักศึกษาสองกลุ่มกรอกใบประเมินหลักสูตรโดยให้กลุ่มแรกเขียนข้อแนะนำในการปรับปรุงหลักสูตรสองข้อ (ซึ่งทำได้ค่อนข้างง่าย) แล้วให้เขียนสิ่งที่ประทับใจสองอย่างในหลักสูตรนั้นและให้กลุ่มที่สองเขียนข้อแนะนำที่ศาสตราจารย์ผู้สอนสามารถปรับปรุงตัวสิบข้อ (ซึ่งทำได้ยาก) แล้วให้เขียนสิ่งที่ประทับใจสองอย่างในหลักสูตรนั้นในที่สุดของการประเมิน ก็ให้นักศึกษาทั้งสองกลุ่มให้คะแนนหลักสูตรระหว่าง 1 ถึง 7ผลงานวิจัยแสดงว่า นักศึกษาที่ต้องเขียนข้อแนะนำ 10 อย่าง ให้คะแนนหลักสูตรดีกว่าเพราะประสบความยากลำบากในการระลึกถึงข้อมูลเชิงลบส่วนนักศึกษาที่คิดถึงสิ่งที่ควรปรับปรุงสองอย่างสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า ดังนั้นจึงให้คะแนนหลักสูตรแย่กว่า[24]

การพิพากษาคดีอาญา

สื่อข่าวมักจะพุ่งความสนใจไปที่อาชญากรรมที่รุนแรงหรืออุกฉกรรจ์ ซึ่งสาธารณชนคิดถึงได้ง่ายซึ่งอาจจะมีบทบาทต่อกระบวนการทางศาลในการประเมินและตัดสินการลงโทษที่สมควรสำหรับอาชญากรในงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 1993 ผู้ร่วมการทดลองให้คะแนนว่าเห็นด้วยกับกฎหมายหรือกับนโยบายที่สมมุติขึ้นเช่น "คุณสนับสนุนกฎหมายที่ให้ผู้ต้องโทษคดีปล้นทรัพย์โดยไม่ได้ใช้อาวุธทุกคน ต้องติดคุกเป็นเวลาสองปีหรือไม่"แล้วจึงให้ผู้ร่วมการทดลองอ่านเค้สคดีและตัดสินโทษโดยใช้คำถามหลายคำถามเกี่ยวกับการลงโทษและผลก็ออกมาตรงตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ คือผู้ร่วมการทดลองสามารถระลึกถึงคดีอุกฉกรรจ์ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าจากความจำระยะยาวซึ่งดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อการตัดสินโทษคือทำให้ผู้ร่วมการทดลองชอบใจโทษที่หนักกว่าแต่ว่านักวิจัยสามารถลดระดับอิทธิพลนี้ได้โดยแสดงรายละเอียดที่ชัดเจนหรือแปลกเกี่ยวกับความบาดเจ็บที่ลดความสาหัสลงที่เกิดจากอาชญากรรม (คือไม่เท่ากับที่สื่อมักจะแสดง)[25]

งานวิจัยคล้าย ๆ กันอีกงานหนึ่งในปี ค.ศ. 1989 ให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเลือกการลงโทษในคดีอาชญาอุกฉกรรจ์สี่คดี ที่การลงโทษจำคุกเป็นการลงโทษที่ทำได้แต่ไม่จำเป็นต้องทำมีการให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินการลงโทษของศาลโดยอาศัยข้อมูลอาชญากรรมและการลงโทษที่เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ เพราะสื่อข่าวมักจะเสนอข่าวที่เลือกสรรไม่เป็นตัวแทนที่ดีของคดีที่มีอยู่ทั่วไปจริง ๆ คือพุ่งความสนใจไปที่คดีร้ายแรงหรืออุจฉกรรจ์แทนที่จะเสนอคดีทั่ว ๆ ไปการระลึกถึงข้อมูลเช่นนี้ทำให้ผู้ร่วมการทดลองคิดว่า ศาลตัดสินเบาเกินไปแต่ว่า เมื่อให้ผู้ร่วมการทดลองเลือกการลงโทษเอง โทษที่เลือกกลับเทียบเท่าหรือเบากว่าที่ศาลให้กล่าวอีกนัยก็คือ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายทำให้ผู้ร่วมการทดลองเชื่อว่าศาลและลูกขุนตัดสินลงโทษเบาเกินไปแต่ผู้ร่วมการทดลองกลับให้การลงโทษที่คล้ายกับผู้พิพากศาลเอง ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ข้อมูลที่ระลึกได้ไม่ถูกต้อง[26]

นักวิจัยในงานปี ค.ศ. 1989 พยากรณ์ว่า ลูกขุนสมมุติจะให้คะแนนพยานว่า ไม่น่าเชื่อถือถ้าพยานให้การตามความเป็นจริง ก่อนที่จะให้การเท็จ มากกว่าถ้าพยานถูกจับได้ว่าให้การเท็จ ก่อนที่จะให้การตามความเป็นจริงเพราะว่า ถ้าฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายมีบทบาทในเรื่องนี้ การให้การเท็จทีหลังก็จะยังอยู่ในใจของพวกลูกขุน (เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุด) และจะทำให้มีโอกาสจำพยานว่าให้การเท็จมากกว่าให้การจริงเพื่อที่จะทดสอบสมมุติฐานนี้ มีการให้นักศึกษามหาวิทยาลัย 312 คนเล่นเป็นลูกขุนสมมุติและดูเทปวีดิโอของพยานที่ให้การ ผลการทดลองรับรองสมมุติฐานของนักวิจัย คือลูกขุนสมมุติได้รับอิทธิพลจากเหตุการณ์ที่เกิดล่าสุดมากกว่า[27]

ใกล้เคียง

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ฮิวริสติกโดยการตั้งหลักและการปรับ ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน ฮิวริสติก (แก้ความกำกวม) ฮิวริสติก (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ฮิวริสติก ฮิว กริฟฟิท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย http://www.businessinsider.com/the-availability-bi... http://www.investopedia.com/university/behavioral_... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/bsl.237... http://dtserv2.compsy.uni-jena.de/__C1257641005FF6... //doi.org/10.1002%2Facp.2350090202 //doi.org/10.1002%2Fbsl.2370070106 //doi.org/10.1007%2Fs10551-008-9690-7 //doi.org/10.1016%2F0001-6918(93)e0072-a //doi.org/10.1016%2F0010-0285(73)90033-9 //doi.org/10.1016%2Fs0022-5371(67)80066-5