สาระสำคัญและประวัติ ของ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

เมื่อต้องตัดสินความน่าจะเป็นหรือความชุกของสิ่ง ๆ หนึ่งซึ่งเป็นงานที่ยาก เรามักจะใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ จำนวนหนึ่งที่เรียกว่า ฮิวริสติก เพื่อที่จะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้นกลยุทธ์อย่างหนึ่งก็คือฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งเป็นความโน้มน้าวที่จะตัดสินความชุกของเหตุการณ์หนึ่ง ๆ โดยอาศัยว่าง่ายเท่าไรในการที่จะระลึกถึงตัวอย่างเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน[5] ในปี ค.ศ. 1973 อะมอส ทเวอร์สกี้ และแดเนียล คาฮ์นะมัน เริ่มการศึกษาปรากฏการณ์เช่นนี้และบัญญัติคำว่า "Availability Heuristic"ซึ่งเป็นกระบวนการใต้สำนึก (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) ที่ทำงานโดยหลักว่า "ถ้าสามารถนึกถึงได้ จะต้องเป็นสิ่งสำคัญ"[5] กล่าวอีกอย่างก็คือ ยิ่งง่ายเท่าไรที่จะคิดถึงตัวอย่าง ความรู้สึกว่าสิ่งนี้เกิดบ่อยก็จะมากขึ้นเท่านั้นดังนั้น เรามักจะใช้ลักษณะหรือข้อมูลที่คิดถึงได้ง่าย ๆ เป็นฐานในการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ ที่อาจจะมีความเกี่ยวข้องกันน้อย[7]

ในการทดลองที่ตรวจสอบปรากฏการณ์นี้ ทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันให้ผู้ร่วมการทดลองศึกษารายชื่อ 4 รายการ คือสองรายการมีชื่อของหญิงมีชื่อเสียง 19 คน และชายมีชื่อเสียงน้อยกว่า 20 คน และสองรายการมีชื่อของชายมีชื่อเสียง 19 คนและหญิงมีชื่อเสียงน้อยกว่า 20 คน มีการให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มแรกระลึกถึงชื่อให้มากที่สุดที่จะจำได้ และให้ผู้ร่วมการทดลองกลุ่มที่สองประเมินว่า มีชื่อผู้หญิงหรือผู้ชายมากกว่ากันในรายการผลปรากฏว่า ในกลุ่มแรก มีผู้ร่วมการทดลองถึง 57% ที่ระลึกถึงชื่อที่มีชื่อเสียงได้มากกว่าในกลุ่มที่สอง ผู้ร่วมการทดลองถึง 80% ทำการประเมินผิดพลาดว่า มีชื่อผู้ชายหรือผู้หญิงมากกว่า คือถ้ารายการมีหญิงมีชื่อเสียง 19 คนและมีชายมีชื่อเสียงน้อยกว่า 20 คน ผู้ร่วมการทดลองก็จะประเมินผิด ๆ ว่า มีชื่อของผู้หญิงมากกว่า และในนัยตรงกันข้ามก็เช่นกันแม้ว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายอาจจะเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์หลายอย่าง แต่ว่าเมื่อจะต้องตัดสินความน่าจะเป็น การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้อาจนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ[5]

ใกล้เคียง

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ฮิวริสติกโดยการตั้งหลักและการปรับ ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน ฮิวริสติก (แก้ความกำกวม) ฮิวริสติก (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ฮิวริสติก ฮิว กริฟฟิท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย http://www.businessinsider.com/the-availability-bi... http://www.investopedia.com/university/behavioral_... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/bsl.237... http://dtserv2.compsy.uni-jena.de/__C1257641005FF6... //doi.org/10.1002%2Facp.2350090202 //doi.org/10.1002%2Fbsl.2370070106 //doi.org/10.1007%2Fs10551-008-9690-7 //doi.org/10.1016%2F0001-6918(93)e0072-a //doi.org/10.1016%2F0010-0285(73)90033-9 //doi.org/10.1016%2Fs0022-5371(67)80066-5