งานวิจัย ของ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 1991 ของชวอร์ซ และคณะ มีการถามผู้ร่วมการทดลองให้กล่าวถึงตัวอย่างพฤติกรรมที่แสดงความมั่นใจ (assertive) และความไม่มั่นใจ (unassertive), หรือโดยนัยตรงกันข้ามกันหลังจากนั้น ก็จะถามผู้ร่วมการทดลองว่าตนเองเป็นคนมีบุคคลิกมั่นใจหรือไม่มั่นใจผลการทดลองแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองบอกว่าตนเองมีความไม่มั่นใจหลังจากกล่าวถึงพฤติกรรมไม่มั่นใจ 6 อย่าง มากว่าเมื่อต้องกล่าวถึงพฤติกรรม 12 อย่าง (ซึ่งทำได้ยากกว่า) คือจะกล่าวว่าตนเองเป็นคนมั่นใจมากกว่าถ้าต้องกล่าวถึงพฤติกรรมไม่มั่นใจ 12 อย่าง แม้ในการถามถึงพฤติกรรมโดยนัยตรงกันข้าม คือให้กล่าวถึงตัวอย่างพฤติกรรมความมั่นใจ ก็มีนัยเดียวกันผลงานทดลองนี้แสดงว่า ข้อสรุป (หรือการตัดสินใจ) อาศัยความรู้หรือข้อมูลที่เรามี (เช่นสรุปว่าเราเป็นคนมั่นใจหรือไม่มั่นใจ) นั้น จะได้รับอิทธิพลจากความยากง่ายในการระลึกถึงความรู้หรือข้อมูลนั้น[8]

ในงานวิจัย ปี ค.ศ. 1973 มีการถามผู้ร่วมการทดลองว่า"ถ้าเอาคำศัพท์มาจากหนังสืออังกฤษโดยสุ่ม มีโอกาสมากกว่าที่คำนั้น ๆ จะเริ่มด้วยอักษร K หรือว่ามีอักษร K เป็นอักษรที่สามของคำ"คนพูดอังกฤษได้จะสามารถนึกถึงคำต่าง ๆ มากมายที่เริ่มด้วย "K" (เช่น kangaroo, kitchen, kale)แต่ว่า ต้องอาศัยความพยายามมากกว่าในการคิดถึงคำหนึ่ง ๆ ที่มีอักษร "K" เป็นตัวที่สาม (เช่น acknowledge, ask)ผลงานวิจัยแสดงว่า ผู้ร่วมการทดลองประเมินความน่าจะเป็นของคำที่เริ่มต้นด้วย K เกินความจริงและประเมินคำที่มี K เป็นอักษรตัวที่สามต่ำเกินไปนักวิจัยสรุปว่า คนเราตอบคำถามเช่นนี้ด้วยการเปรียบเทียบความน่าจะเป็นของสิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยประเมินว่า สามารถระลึกถึงตัวอย่างต่าง ๆ ได้ง่ายขนาดไหนกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพราะว่า การคิดถึงคำที่เริ่มต้นด้วยตัว K ง่ายกว่าที่จะคิดถึงคำที่มี K เป็นอักษรที่สาม ดังนั้น เราจึงตัดสินใจว่าคำที่เริ่มต้นด้วย K เป็นคำที่มีมากกว่าแต่จริง ๆ แล้ว ปรากฏว่า หนังสือโดยทั่ว ๆ ไปมีคำที่มี K เป็นอักษรที่สามมากกว่าคำที่เริ่มต้นด้วย K ถึงสามเท่า[5]

ในปี ค.ศ. 1967 แช็ปแมนได้พรรณนาถึงความเอนเอียงในการตัดสินความชุกของเหตุการณ์ 2 อย่างที่เกิดขึ้นด้วยกัน ซึ่งแสดงว่า การมีสิ่งเร้าสองอย่างเกิดขึ้นด้วยกันมีผลให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินความชุกของการเกิดขึ้นด้วยกันมากเกินไป[9] คือ มีการให้ข้อมูลสมมุติเกี่ยวกับคนไข้โรคจิตหลายคนโดยที่ข้อมูลของคนไข้แต่ละคนจะมีการวินิจฉัยทางคลินิกและรูปที่วาดโดยคนไข้หลังจากนั้น ก็ให้ผู้ร่วมการทดลองประเมินความชุกของข้อวินิจฉัยแต่ละอย่างที่มาด้วยกันกับลักษณะต่าง ๆ ของรูปวาด (เช่นความขี้ระแวงของคนไข้และรูปตาที่แปลก ๆ)ผู้ร่วมการทดลองทำการประเมินถึงความชุกของการเกิดขึ้นด้วยกันมากเกินไป ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่แช็ปแมนได้เรียกว่า illusory correlation (สหสัมพันธ์ลวง)ทเวอร์สกี้และคาฮ์นะมันเสนอว่า ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายเป็นคำอธิบายโดยธรรมชาติของปรากฏการณ์สหสัมพันธ์ลวงกำลังของความสัมพันธ์ระหว่างสองเหตุการณ์ (ที่เป็นอัตวิสัย) สามารถใช้เป็นฐานในการตัดสินใจว่าเหตุการณ์สองอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยกันบ่อยครั้งแค่ไหนเป็นอย่างดีคือ เมื่อมีความสัมพันธ์ (โดยอัตวิสัย) ที่มีกำลัง ก็จะมีโอกาสสูงขึ้นที่จะสรุปว่า เหตุการณ์สองอย่างนี้เกิดขึ้นด้วยกันบ่อย ๆ[5]

ในงานวิจัยปี ค.ศ. 1992 มีการเปลี่ยนอารมณ์เพื่อดูผลต่อฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย คือมีการให้ผู้ร่วมการทดลองอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์เศร้า หรือมีความสุขผู้ที่มีอารมณ์เศร้าสามารถระลึกถึงความจำได้ดีกว่าผู้ที่มีความสุขซึ่งแสดงว่ากำลังของปรากฏการณ์นี้สามารถเปลี่ยนไปได้ภายใต้สถานการณ์บางอย่าง[10]

ใกล้เคียง

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย ฮิวริสติกโดยการตั้งหลักและการปรับ ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน ฮิวริสติก (แก้ความกำกวม) ฮิวริสติก (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ฮิวริสติก ฮิว กริฟฟิท

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย http://www.businessinsider.com/the-availability-bi... http://www.investopedia.com/university/behavioral_... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1002/bsl.237... http://dtserv2.compsy.uni-jena.de/__C1257641005FF6... //doi.org/10.1002%2Facp.2350090202 //doi.org/10.1002%2Fbsl.2370070106 //doi.org/10.1007%2Fs10551-008-9690-7 //doi.org/10.1016%2F0001-6918(93)e0072-a //doi.org/10.1016%2F0010-0285(73)90033-9 //doi.org/10.1016%2Fs0022-5371(67)80066-5