การเชื่อมต่อ ของ เซลล์ประสาท

นิวรอนสื่อสารกันเองผ่านจุดประสานประสาท (ไซแนปส์) โดยปลายแอกซอน (axon terminal หรือ en passant bouton) ของเซลล์หนึ่งจะอยู่ติดกับเดนไดรต์ ตัวเซลล์ หรือ (แม้จะน้อยกว่า) แอกซอนของอีกเซลล์หนึ่งนิวรอนเช่นเซลล์เพอร์คินจีในสมองน้อยอาจมีสาขาเดนไดรต์เป็นพัน โดยเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ อีกเป็นหมื่น ๆนิวรอนอื่น ๆ เช่น magnocellular neuron ของ supraoptic nucleus (ในไฮโปทาลามัส) มีเดนไดรต์เพียแค่ 1-2 สาขา แต่ว่าแต่ละสาขามีไซแนปส์เป็นพัน ๆไซแนปส์สามารถเป็นทั้งแบบเร้า (excitatory, EPSP) หรือแบบยับยั้ง (inhibitory, IPSP) และสามารถเพิ่มหรือลดการทำงานของเซลล์เป้าหมายตามลำดับมีนิวรอนที่สามารถสื่อสารผ่านจุดประสานประสาทไฟฟ้า ผ่านช่อง gap junction ที่สามารถนำไฟฟ้าระหว่างเซลล์[ต้องการอ้างอิง]

ในไซแนปส์เคมี กระบวนการสื่อประสาทเป็นดังต่อไปนี้ เมื่อศักยะงานวิ่งมาถึงปลายแอกซอน (axon terminal) เซลล์ก็จะเปิดช่องแคลเซียมที่เปิดปิดโดยศักย์ไฟฟ้า (voltage-gated calcium channel) ทำให้ไอออนแคลเซียมไหลเข้ามาในปลายแอกซอนได้แคลเซียมจะทำให้ถุงไซแนปส์ (synaptic vesicle) จำนวนหนึ่งที่เต็มไปด้วยโมเลกุลสารสื่อประสาท เชื่อมเข้ากับเยื่อหุ้มเซลล์ แล้วปล่อยสารเขาไปในร่องไซแนปส์ (synaptic cleft)สารก็จะแพร่ข้ามร่องไซแนปส์และออกฤทธิ์กับตัวรับของนิวรอนหลังไซแนปส์นอกจากนั้นแล้ว ระดับแคลเซียมที่สูงขึ้นในไซโทพลาซึมที่ปลายแอกซอน (axon terminal) ยังจุดชนวนให้ไมโทคอนเดรียดูดซึมแคลเซียม (mitochondrial calcium uptake) ซึ่งก็จะเริ่มกระบวนการเมแทบอลิซึมทางพลังงานของไมโทคอนเดรียเพื่อผลิดอะดีโนซีนไตรฟอสเฟต (ATP) เพื่อเป็นพลังงานดำรงการสื่อประสาท[19]

สมองมนุษย์มีไซแนปส์จำนวนมหาศาลนิวรอนแต่ละตัวในแสนล้านตัว (1011) มีไซแนปส์ 7,000 อันที่เชื่อมกับนิวรอนอื่น ๆ โดยเฉลี่ยสมองของเด็กอายุสามขวบประเมินว่า มีไซแนปส์ประมาณพันล้านล้านอัน (1015) แต่จำนวนจะลดลงตามอายุ แล้วคงจำนวนเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ค่าประเมินในผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 100-500 ล้านล้านไซแนปส์ (1014-5 x 1014)[20]

สัญญาณที่ส่งไปตามแอกซอน (axon) ไปยังตัวเซลล์และเดนไดรต์ (dendrite) ของเซลล์เป้าหมาย เริ่มตั้งแต่เซลล์ประสาท (neuron) ด้านบนขวาส่งพัลส์ไฟฟ้าหรือศักยะงาน (ตามลูกศร) ทางแอกซอนไปสู่ตัวเซลล์และเดนไดรต์ที่เป็นเป้าหมาย ภาพเล็กแสดงโมเลกุลของสารสื่อประสาทในถุงไซแนปส์ (synaptic vesicle) ที่เข้าเชื่อมกับเยื่อหุ้มเซลล์ แล้วปล่อยสารสื่อประสาทเข้าในร่องไซแนปส์ (synaptic cleft) สารจะแพร่ข้ามร่องเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์เป้าหมาย

แหล่งที่มา

WikiPedia: เซลล์ประสาท http://www.cerebromente.org.br/n17/history/neurons... http://www.ualberta.ca/~neuro/OnlineIntro/NeuronEx... http://ykolodin.50webs.com/ http://www.blackwellpublishing.com/aphmeeting/abst... http://www.histology-world.com/photoalbum/thumbnai... http://www.immunoportal.com/modules.php?name=galle... http://www.nytimes.com/1999/10/15/us/brain-may-gro... http://dictionary.reference.com/browse/neuron http://www.springerlink.com/content/m748132506x00l... http://www.uppicth.com/bio.html