งานสร้าง ของ เดอะซิมป์สันส์

ผู้อำนวยการสร้าง

รายชื่อผู้รับตำแหน่ง โชว์รันเนอร์ ในแต่ละฤดูกาล

แม็ตต์ โกรนิงและเจมส์ แอล. บรูกส์ รับหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างตั้งแต่เริ่ม และทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านความคิดสร้างสรรค์ ส่วนแซม ไซมอน รับหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายความคิดสร้างสรรค์สำหรับ 4 ฤดูกาลแรก แต่ยังคงได้เครดิตเป็นผู้อำนวยการสร้างถึงแม้จะไม่ได้ทำงานแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993[20] อีกตำแหน่งที่มีส่วนสำคัญคือ โชว์รันเนอร์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าในการเขียน การจัดการภาคผลิตของโชว์ของทั้งฤดูกาลนั้น[21]

การเขียนบท

อัล ฌอง (ซ้าย) ผู้อำนวยการสร้างคนปัจจุบัน และ เดวิด เมอร์คิน (ขวา) อดีตผู้อำนวยการสร้างและเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานเขียนบทตั้งแต่ปี 1994

ทีมงานเขียนบท เดอะซิมป์สันส์ ประกอบด้วยนักเขียน 16 คน ที่จะเสนอแนวคิดทุกช่วงต้นเดือนธันวาคม[22] นักเขียนหลักแต่ละตอนจะเขียนแบบร่างแรก จากนั้นจะมีกลุ่มมาร่วมกันเขียนใหม่และพัฒนาบท โดยจะสอดแทรกหรือลดมุกตลก เพิ่มฉาก และจะเรียกมาอ่านอีกครั้งโดยผู้พากย์เสียง[23] หัวหน้าของกลุ่มนี้คือ จอร์จ เมเยอร์ ที่พัฒนาโชว์มาตั้งแต่ฤดูกาลที่ 1 และนักเขียนอีกคน จอน วิตติ และเมเยอร์เอง ได้คิดคำพูดที่ดีที่สุดในแต่ละตอน ถึงแม้ว่านักเขียนบทในตอนนั้น ๆ จะได้รับเครดิตไป[23] แต่ละตอนใช้เวลาทำถึง 6 เดือน เนื้อหาจึงมักไม่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน[24] อย่างไรก็ตาม บางตอนที่มีการวางแผนระยะยาวอย่างโอลิมปิกหรือซูเปอร์โบวล์ก็มีปรากฏมาบ้าง

ส่วนหนึ่งของทีมงานเขียน เดอะซิมป์สันส์ ในปี 1992
จากซ้ายไปขวา: ไมค์ เม็นเดล, โคลิน เอบีวี ลูวิส (บางส่วน) , เจฟฟ์ โกลด์สไตน์, อัล ฌอง (บางส่วน) , โคนัน โอ'เบรียน, บิลล์ โอกเลย์, จอช ไวน์สไตน์, ไมค์ รีสส์ ,เคน ซึมาระ, จอร์จ เมเยอร์ , จอห์น สวาร์ตซเวลเดอร์, จอน วิตติ (บางส่วน) , ซีเจ กิบสัน และ เดวิด เอ็ม. สเตริ์น
แถวหน้า จากซ้ายไปขวา : ดี คาเปลลิ, โลนา วิลเลียมส์ และ บุคคลไม่ทราบชื่อ

จอห์น สวาตซ์เวลเดอร์ กับเครดิตในการเขียนกว่า 60 ตอน ที่ถือว่าเขียนบทมากที่สุดในทีมงาน[25] หนึ่งในนักเขียนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคนหนึ่งคือ โคนัน โอ'เบรียน ที่ช่วยเขียนอยู่หลายตอนในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ก่อนที่จะไปทำงานทอล์คโชว์[26] ริกกี้ เกอร์เวส นักแสดงตลกชาวอังกฤษได้เขียนบทในตอนที่ชื่อ "Homer Simpson, This Is Your Wife" ถือเป็นคนดังคนแรกที่ได้เขียนบทและรับเชิญเป็นแขกในตอนของ เดอะซิมป์สันส์[27]

ปลายปี ค.ศ. 2007 นักเขียนบทจาก เดอะซิมป์สันส์ ร่วมประท้วงสมาคม เดอะไรเตอร์สไกด์ออฟอเมริกา ฝั่งตะวันออก โดยนักเขียนได้ร่วมกับสมาคมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998[28] ผลของการประท้วงนี้จะมีผลต่อ 23 ตอนในฤดูกาลที่ 19[29]

เสียงพากย์

เครดิตผู้ให้เสียงในแต่ละตอน ทางฟ็อกซ์และทีมงานสร้างต้องการที่จะเก็บความลับชื่อผู้ให้เสียงพากย์ตั้งแต่ต้นฤดูกาลที่ฉาย ดังนั้นในการบันทึกเสียงพวกเขาจะปฏิเสธในการถ่ายรูปศิลปินที่จะมาบันทึกเสียงพากย์[30] อย่างไรก็ตาม ท้ายสุดก็มีการแสดงเครดิตบทบาทนักแสดงที่ร่วมในตอน "Old Money" เพราะโปรดิวเซอร์พูดว่า ผู้ให้เสียงนักแสดงควรได้รับเครดิตสำหรับการทำงาน[31]

เดอะซิมป์สันส์ มีตัวละครหลักอยู่ 6 ตัว แดน แคสเทลลาเนตารับบทเป็น โฮเมอร์ ซิมป์สัน, อับราฮัม ซิมป์สัน, ครัสตี เดอะ คลาวน์, และตัวละครผู้ชายผู้ใหญ่[32] จูลี คาฟเนอร์ ให้เสียงของ มาร์จ ซิมป์สัน และ แพ็ตตี บูวีเยร์ และ เซลมา บูวีเยร์ และตัวละครประกอบอีกหลายตัว[32] แนนซี คาร์ตไรต์ ให้เสียง บาร์ต ซิมป์สัน, ราล์ฟ วิกกัม และตัวละครเด็ก ๆ อื่น ๆ[32] เยิร์ดเลย์ สมิธ ให้เสียง ลิซา ซิมป์สัน เป็นคนเดียวให้ให้เสียงตัวละครเพียงตัวเดียว[32] ยังมีนักพากย์เสียง 2 คนที่พากย์เสียงตัวละครนอกครอบครัวซิมป์สันส์ อย่าง แฮงก์ อาซาเรีย ให้เสียงอย่าง โม ซิซแลค, ผู้กองวิกกัม และ อาปู นหสปีมเปติโลน อีกคนหนึ่งคือ แฮร์รี เชียร์เรอร์ ให้เสียงกับ มิสเตอร์เบิร์นส, สมิตเธอร์ส, ครูใหญ่สกินเนอร์, เน็ด แฟลนเดอร์ส, ศาสนจารย์เลิฟจอย และ จูเลียส ฮิบเบิร์ท[32] นอกจากนี้ตัวละครทุกตัวยังรับรางวัลเอมมีสาขาผู้ให้เสียงยอดเยี่ยมอีกด้วย (ยกเว้น แฮร์รี เชียร์เรอร์ คนเดียวเท่านั้นที่ไม่ได้รับรางวัล) [33]

แฮงก์ อะซาเรีย เป็นส่วนหนึ่งของทีมพากย์ตั้งแต่ฤดูกาลที่ 2[34]

จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1998 ผู้ให้เสียงพากย์ 6 คนได้รับเงินค่าตอบแทน 30,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน ในปี 1998 พวกเขามีข้อโต้แย้งกับทางฟ็อกซ์ ทางบริษัทขู่ว่าจะรับนักพากย์ใหม่ ถึงขนาดจะเตรียมการแคสต์เสียงนักพากย์ใหม่ โกรนิงเองในฐานะผู้สร้างก็เข้ามาช่วยเหลือพวกเขา[35] และปัญหาดังกล่าวก็ยุติไป โดยในระหว่างปี ค.ศ. 1998-2004 พวกเขาได้รับค่าตอบแทนเป็น 125,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน และรายการก็เติบโตด้วยยอดขายดีวีดีเพิ่มมากขึ้น จากนั้นเมษายน ค.ศ. 2004 พวกเขาเรียกร้องเงิน 360,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน[36][37] และก็สามารถตกลงกันได้อีก 1 เดือนต่อมา[38] และเงินเดือนพวกเขาก็เพิ่มขึ้นอยู่ระหว่าง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ[39] ถึง 360,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตอน[40] ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 การสร้างฤดูกาลที่ 20 ก็ถูกระงับชั่วคราวเนื่องจากสัญญาใหม่ที่นักพากย์เสียงต้องการให้ได้เงินจำนวนใกล้ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตอน[40] แต่ก็ตกลงกันได้ที่ เพิ่มเงินเดือนเป็น 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อตอน[41]

ในแต่ละตอนของมักจะมีแขกรับเชิญ ตั้งแต่ นักแสดง นักกีฬา นักประพันธ์ วงดนตรี นักดนตรี และนักวิทยาศาสตร์ ในช่วงฤดูกาลแรก ๆ แขกรับเชิญส่วนใหญ่จะรับบทเป็นตัวเอง โทนี เบ็นเน็ตต์ เป็นแขกรับเชิญคนแรกที่รับบทเป็นตัวเอง ปรากฏตัวในฤดูกาลที่ 2 กับตอนที่ชื่อว่า "Dancin' Homer"[42] เดอะซิมป์สันส์ ยังสร้างสถิติโลกคือ "เป็นรายการซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่มีแขกรับเชิญมากที่สุด"[43]

รายการยังได้มีการแปลเป็นหลากหลายภาษา ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เยอรมัน สเปน และโปรตุเกส และบางส่วนทั้งภาษาฝรั่งเศส และ ภาษาฝรั่งเศสควิเบก[44] เดอะซิมป์สันส์ออกอากาศในภาษาอาราบิก แต่เนื่องอาจมีผลต่อความเชื่อศาสนาอิสลาม บางตอนจึงมีการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น โฮเมอร์กินโซดา แทนกินเบียร์ และกินไส้กรอกเนื้ออียิปต์แทนกินฮ็อตด็อก และด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้เอง จึงได้กระแสตอบรับทางด้านลบจากแฟนพันธุ์แท้ของ เดอะซิมป์สันส์ เองในภูมิภาคนี้[45]

แอนิเมชัน

สตูดิโอที่มีส่วนเกี่ยวข้อง:

  • AKOM
    • สร้างสองฤดูกาลแรก
    • สร้างทุกตอนตลอดฤดูกาลของซีรีส์
  • Anivision
    • สร้างแอนิเมชันในฤดูกาลที่ 3-10
  • Rough Draft Studios
    • สร้างแอนิเมชันในฤดูกาลที่ 4 เป็นต้นมา
  • U.S. Animation, Inc.
    • ร่วมสร้างตอนที่ชื่อว่า "Radioactive Man" ร่วมกับ Anivision
    • สร้างตอนที่ชื่อว่า "The Simpsons 138th Episode Spectacular"
  • Toonzone Entertainment
    • สร้างตอนที่ชื่อว่า "The Fat and the Furriest" และ "She Used to Be My Girl"

การทำภาพแอนิเมชันใน เดอะซิมป์สันส์ ว่าจ้างสตูดิโอทั้งในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่น ในการสร้างแอนิเมชันตอนสั้น ๆ ที่ออกในรายการเดอะ เทรซีย์ อุลแมน โชว์ ใช้ทีมงานภายในประเทศที่ชื่อ คลาสกีชัปโป[46] กับการปรากฏตัวในรูปแบบซีรีส์ อันเนื่องด้วยงานล้น ทำให้ฟ็อกซ์ว่าจ้างบริษัทผลิตงานสตูดิโอนอกประเทศหลายสตูดิโอ อย่างในเกาหลีใต้[46] ศิลปินจากสตูดิโอในอเมริกาที่ชื่อ ฟิล์ม โรมัน จะวาดสตอรีบอร์ด ออกแบบตัวละครใหม่ ฉากหลัง อุปกรณ์ประกอบฉาก ที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เคลื่อนไหวให้ผู้เขียนอีกต่อที่ กราซี ฟิล์มส ในการปรับปรุงเพิ่มเติม ก่อนที่จะส่งข้ามทะเลออกไป ส่วนสตูดิโอนอกประเทศจะวาดโดยใช้หมึกและลงสี จากนั้นทำแอนิเมชันให้เคลื่อนไหวลงเทป และส่งเทปกลับสหรัฐอเมริกา มาที่ฟ็อกซ์ 3-4 เดือนหลังจากส่งไป[47]

ใน 3 ฤดูกาลแรก คลาสกีชัปโปทำแอนิเมชันในสหรัฐอเมริกา ในปี 1992 ได้เปลี่ยนบริษัทโพรดักชัน จาก กราซีฟิล์มส์ เป็น ฟิล์ม โรมัน[48] ซึ่งยังคงทำแอนิเมชันของรายการจนถึงปี ค.ศ. 2008

ในฤดูกาลที่ 14 ทีมสร้างได้เปลี่ยนวิธีการทำแอนิเมชันดั้งเดิมมาเป็นการใช้หมึกดิจิตอลและการสีดิจิตอลแทน[49] โดยในตอนแรกที่ได้ทดลองใช้สีดิจิตอลคือ ตอนที่ชื่อ "Radioactive Man" ในปี ค.ศ. 1995 นักสร้างแอนิเมชันได้ทดลองใช้ทั้งหมึกและสีดิจิตอลในฤดูกาลที่ 12 ในตอนที่ชื่อว่า "Tennis the Menace" แต่กราซีฟิล์มสได้ใช้จริง ทั้งหมึกและสีดิจิตอลในอีกสองฤดูกาลต่อมา[50]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดอะซิมป์สันส์ http://www.theage.com.au/articles/2004/04/02/10805... http://www.armyarcherd.com/2007/11/on-the-firing-l... http://www.avclub.com/content/node/47756 http://www.avclub.com/content/node/47771/1 http://www.avclub.com/content/node/47771/3 http://www.boxofficemojo.com/movies/?id=simpsons.h... http://www.boxofficemojo.com/weekend/chart/?yr=200... http://www.cbsnews.com/stories/2004/05/01/entertai... http://www.channel4.com/entertainment/tv/microsite... http://www.channel4.com/entertainment/tv/microsite...