อิทธิพล ของ เดอะซิมป์สันส์

อิทธิพลต่อภาษา

ผู้สร้าง เดอะซิมป์สันส์ ชื่อแม็ตต์ โกรนิง

มีคำศัพท์ใหม่หลายคำที่เกิดมาจาก เดอะซิมป์สันส์ และได้รับคำนิยมจนเป็นภาษาพูด[76] มาร์ก ลิเบอร์แมน นักภาษาศาสตร์ ให้ความเห็นว่า "เดอะซิมป์สัน เข้ามาแทนที่เชคสเปียร์และไบเบิล ในฐานะแหล่งข้อมูลใหญ่ของสำนวน วลีติดปาก และต่าง ๆ นานา รวมถึงคำอุปมา"[77] วลีติดปากที่ดังที่สุดคือ เสียงรำคาญของโฮเมอร์ที่ว่า "D'oh!" ซึ่งมีคนใช้อย่างแพร่หลายจนได้รับการบรรจุในพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด แต่สะกดแบบไม่มีเครื่องหมายวรรคตอน (Doh) [78] แดน แคสเทลลาเนตาพูดว่า เขายืมประโยคดังกล่าวมาจาก เจมส์ ฟินเลย์สัน นักแสดงในคณะตลกลอเรลแอนด์ฮาร์ดี ที่ชอบออกเสียงคำพูดต่าง ๆ ยาน ๆ และโทนเสียงสะอื้น ผู้กำกับ เดอะซิมป์สันส์ บอกให้แคสเทลลาเนตา ทำเสียงให้สั้นลง และก็เป็นคำอุทานที่รู้จักดีในรายการทีวีซีรีส์ต่าง ๆ[79] คำนี้ยังใช้ในรายการซีรีส์โทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร รายการ ด็อกเตอร์ฮู อีกด้วย[80]

สำนวนอื่นที่โด่งดังเช่น "excellent" พูดแบบยืดยานแบบ "eeeexcelllent…" โดยชาร์ลส มอนต์โกเมอรี เบิร์นส, เสียงแห่งความมีชัยของโฮเมอร์ที่ว่า "Woohoo!" และเนลสัน มุนตซ์ กับคำเย้ยหยัน "Ha-ha!" ส่วนผู้ดูแลดิน วิลลีกับคำว่า "cheese-eating surrender monkeys" (แปลลงตัวว่า ลิงกินชีสที่ยอมแพ้) ได้ถูกนำไปใช้ในบทในคอลัมน์ใน เนชันอลรีวีว เขียนโดยโจนาห์ โกลด์เบิร์กในปี ค.ศ. 2003 หลังจากประเทศฝรั่งเศสค้านการรุกรานอิรัก ประโยคนี้ได้ถูกใช้แพร่หลายสู่นักเขียนท่านอื่น[81] คำว่า "Cromulent" ที่ใช้ในตอน "Lisa the Iconoclast" ก็ปรากฏในพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับเว็บสเตอร์สหัสวรรษใหม่[82] คำว่า "Kwyjibo" ประดิษฐ์ขึ้นโดยบาร์ตในตอน "Bart the Genius" ก็ถูกใช้เป็นชื่อเวิร์มที่ชื่อ "Melissa worm"[83] ส่วนประโยคที่ว่า "I, for one, welcome our new insect overlords" ได้ใช้โดยเคนต์ บร็อกแมนในตอน "Deep Space Homer" ได้กระจายสู่วัฒนธรรมสมัยนิยม ในความหมายของจำนวนอีเวนต์ และมีการใช้ในทางเย้ยหยัน โดยมากใช้เพื่อเป็นมุกตลก[84] อีกทั้งยังมีการใช้ในสื่อหลายแขนง อย่างในนิตยสาร New Scientist[85] และคำว่า "Meh" ก็เป็นที่นิยมใช้ในรายการ[86]

อิทธิพลทางโทรทัศน์

เดอะซิมป์สันส์ เป็นรายการประเภทแอนิเมชันในช่วงไพรม์ไทม์รายการแรกที่ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่รายการ Wait Till Your Father Gets Home ในช่วงทศวรรษ 1970[87] ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่ารายการแอนิเมชันเหมาะสมสำหรับเด็กเท่านั้น และการทำแอนิเมชันใช้ค่ายใช้จ่ายสูงที่จะให้อยู่ในระดับคุณภาพมาตรฐานในรายการโทรทัศน์ช่วงไพรม์ไทม์ แต่ เดอะซิมป์สันส์ ได้เปลี่ยนแปลงแนวความคิดนี้ไป[46] การใช้สตูดิโอจากเกาหลีในระหว่างการทำสี การถ่าย ทำให้แต่ละตอนถูกลง การประสบความสำเร็จของ เดอะซิมป์สันส์ และค่าใช้จ่ายการผลิตที่ถูกลงกระตุ้นให้สถานีโทรทัศน์มีโอกาสที่จะทำรายการแอนิเมชันเรื่องอื่น[46] การพัฒนานี้เอง ในช่วงยุคทศวรรษ 1990 นำไปสู่การทำรายการแอนิเมชันในช่วงไพร์มไทม์ อย่างเช่น เซาธ์ปาร์ก, แฟมิลีกาย, คิงออฟเดอะฮิลล์, ฟิวเจอรามา, และ เดอะคริติก[46] ต่อมาเซาธ์ปาร์กได้ทำการคารวะต่อ เดอะซิมป์สันส์ ในตอนที่ชื่อว่า "Simpsons Already Did It"[88]

เดอะซิมป์สันส์ ยังมีอิทธิพลต่อรายการประเภทไลฟ์แอกชัน อย่าง Malcolm in the Middle ที่ออกอากาศครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2000 ในช่วงเวลาหลังรายการ เดอะซิมป์สันส์[8][89] Malcolm in the Middle ใช้ตลกท่าทางและไม่ใช้เสียงหัวเราะแทรกเหมือนอย่างซิตคอมทั่วไป ริกกี้ เกอร์เวส เรียกว่า เดอะซิมป์สันส์ มีอิทธิพลอย่างมากกับรายการตลกอังกฤษที่ชื่อ The Office ไม่มีเสียงหัวเราะแทรกเช่นกัน[90]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดอะซิมป์สันส์ http://www.theage.com.au/articles/2004/04/02/10805... http://www.armyarcherd.com/2007/11/on-the-firing-l... http://www.avclub.com/content/node/47756 http://www.avclub.com/content/node/47771/1 http://www.avclub.com/content/node/47771/3 http://www.boxofficemojo.com/movies/?id=simpsons.h... http://www.boxofficemojo.com/weekend/chart/?yr=200... http://www.cbsnews.com/stories/2004/05/01/entertai... http://www.channel4.com/entertainment/tv/microsite... http://www.channel4.com/entertainment/tv/microsite...