ประวัติ ของ เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

การร้อง

แฟนกีฬาร้องเพลงชาติก่อนเกมเบสบอลที่ Coors Field ในเมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด

เพลงร้องยากมากสำหรับคนไม่ใช่มืออาชีพเพราะมีเสียงสูงต่ำต่างกันมาก นักเขียนตลกคนหนึ่งได้กล่าวถึงความยากของเพลงในหนังสือของเขาว่า

เพื่อเข้ายึดเมืองบอลทิมอร์ พวกอังกฤษได้โจมตีป้อมแม็กเฮ็นรี่ ซึ่งพิทักษ์อ่าวเมืองอยู่ ระเบิดไม่นานก็ปะทุกระจายกลางนภากาศ จรวดก็ส่งแสงเจิดจ้า และทั่วไปแล้วมันก็เป็นจุดสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ ในระหว่างการยิงโจมตีป้อม ทนายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่า ฟรานซิส อ็อฟ์ฟ คีย์ (ฟราซิสทำนองแตก) [sic] ประพันธ์ "The Star-Spangled Banner" และในแสงเรืองรุ่งอรุณ เมื่อทหารอังกฤษได้ยินเสียงร้อง พวกเขาก็รีบหนีไปอย่างสยองขวัญ— Richard Armour

ทั้งนักร้องมืออาชีพมือสมัครเล่นล้วนแต่เคยลืมเนื้อเพลงมาแล้วทั้งนั้น ซึ่งเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่มักจะอัดเสียงเพลงก่อนแล้วมาตีหน้าร้องตามที่หลัง บางครั้ง ก็หลีกเลี่ยงปัญหาโดยให้เล่นเสียงดุริยางค์แทนการร้อง การอัดเพลงชาติล่วงหน้าก่อนจะแสร้งร้อง ต่อมาได้กลายเป็นประเพณีทั่วไปในเกมเบสบอล[28]

เพลงจะเล่นก่อนการแข่งกีฬาหรือก่อนคอนเสิร์ตออร์เคสตราในที่โล่งในสหรัฐอเมริกา ตลอดจนการประชุมของสาธารณชนอื่น ๆ ทั้ง National Hockey League และเมเจอร์ลีกซอกเกอร์ บังคับให้การแข่งขันทั้งในสหรัฐอเมริกาเล่นเพลงชาติทั้งแคนาดาและสหรัฐอเมริกาที่ผู้แข่งขันมาจากทั้งสองประเทศ โดยจะเล่นเพลงประเทศของทีมมาเยี่ยมก่อน[29]

นอกจากนั้นแล้ว เป็นเรื่องปกติที่จะเล่นเพลงชาติทั้งอเมริกันและแคนาดา (โดยทำแบบเดียวกับ NHL และ MLS) ก่อนการแข่งกีฬาของเมเจอร์ลีกเบสบอลและเอ็นบีเอที่มีทีม Toronto Blue Jays หรือโทรอนโตแร็ปเตอส์ตามลำดับร่วมด้วย ซึ่งเป็นทีมแคนาดาเดียวในลีกกีฬาหลักของสหรัฐ และใน All Star Games ของ MLB, NBA, และ NHL ส่วนทีม Buffalo Sabres ของ NHL ซึ่งอยู่ในเมืองชายแดนระหว่างสหรัฐอเมริกา-แคนาดา และมีแฟนเป็นคนแคนาดาเป็นจำนวนมาก จะเล่นเพลงชาติทั้งสองไม่ว่าทีมไหนจะมาแข่งด้วย[30]

มีการร้องเพลงชาติ 2 ครั้งที่ฉีกแนวมากหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 คือในวันที่ 12 กันยายน 2544 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงทำลายพระประเพณีของมหาราชวังแล้วทรงอนุญาตให้วงศ์ดุริยางค์ Band of the Coldstream Guards เล่นเพลงชาติสหรัฐ ณ พระราชวังบักกิงแฮมแห่งนครลอนดอนในพิธีเปลี่ยนเวรทหารรักษาพระองค์ เพื่อแสดงน้ำพระหฤทัยสนับสนุนพันธมิตรของอังกฤษ[31] ในวันต่อมาในพิธีอนุสรณ์ต่อผู้เสียชีวิตที่มหาวิหารเซนต์พอล พระองค์ก็ทรงร่วมร้องเพลงชาติสหรัฐ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน[32]

งานประจำชาติครบรอบ 200 ปี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การดัดแปลง

ป้ายโปสเตอร์ของกองทัพอากาศที่เป็นส่วนของกองทัพบกสหรัฐในปี 2488 (ช่วงใกล้สิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง)

การเล่นเป็นเพลงสมัยนิยมครั้งแรกต่อคนสาธารณชนในอเมริกาเริ่มโดยนักร้องและนักกีตาร์ชาวเปอร์โตริโกโฮเซ เฟลีเซียโน ซึ่งสร้างความโกลาหลทั่วประเทศเมื่อเขาดีดกีตาร์เสียงเพลงอย่างช้า ๆ ในรูปแบบดนตรีบลูส์[33] ที่สนามกีฬาไทเกอร์แห่งนครดีทรอยต์ก่อนเกมที่ 5 ของ 1968 World Series ระหว่าง Detroit Tigers กับ St. Louis Cardinals[34] เป็นตัวการเริ่มข้อถกเถียงเรื่อง "ธงอันแพรวพราวด้วยดารา" สมัยปัจจุบัน โดยได้รับการตอบสนองในเชิงลบจากคนอเมริกันโดยทั่วไปท่ามกลางบรรยากาศแห่งสงครามเวียดนาม ถึงอย่างไรก็ดี การเล่นเพลงของเฟลีเซียโนได้เปิดประตูให้ตีความเพลงในรูปแบบต่าง ๆ เป็นจำนวนมากต่อ ๆ มา[35]

นักกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนเหรียญทองทอมมี่ สมิธ และนักกีฬาเหรียญทองแดงจอห์น คาร์ลอส ยกกำปั้น ในขณะที่ฟังเพลงชาติสหรัฐหลังจากชนะการแข่งวิ่ง 200 ม.

อาทิตย์หนึ่งหลังการเล่นของเฟลีเซียโน เพลงชาติก็สร้างข่าวอีกเมื่อนักกีฬาโอลิมปิกชาวอเมริกันทอมมี่ สมิธ และจอห์น คาร์ลอส ยกกำปั้นขึ้นเมื่อเล่นเพลง ต่อมา นักร้องมาร์วิน เกย์ได้ร้องเพลงผสมสไตล์โซลในการเปิดการแข่งกีฬา 1983 (ปี 2526) NBA All-Star Game และนักร้องวิตนีย์ ฮิวสตันร้องเพลงในสไตล์เดียวกันก่อนงานซูเปอร์โบวล์ครั้งที่ 25 ในปี 2534 และต่อมาออกแผ่นเป็นเพลงเดี่ยวที่ติดอันดับ 20 ในบิลบอร์ดฮอต 100 ในปี 2534 และอันดับที่ 6 ในปี 2544 ซึ่งร่วมกับโฮเซ เฟลีเซียโน เป็นช่วง ๆ เดียวที่เพลงชาติติดบิลบอร์ด

ต่อมาปี 2536 วงดนตรีคิสออกเพลงแบบร็อกเฉพาะเสียงดนตรีเป็นแถร็กสุดท้ายของอัลบัม Alive III การตีความเล่นเป็นเพลงดุริยางค์ที่รู้จักกันดีอีกรุ่นหนึ่งก็คือของนักกีตาร์จิมิ เฮนดริกซ์ ซึ่งเขาเล่นอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ฤดูใบไม้ตกปี 2511 จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในปี 2513 รวมทั้งการเล่นที่มีชื่อเสียงที่เทศกาลวูดสต็อกในปี 2512 โดยใช้เสียงพิเศษเพื่อเน้น "แสงเจิดจ้าแห่งจรวด" และ "ระเบิดที่ปะทุกระจายกลางนภากาศ" ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960

ต่อมานักตลกโรแซนน์ บาร์ร ร้องเพลงชาติที่ก่อปัญหาก่อนเกมเบสบอลของทีม San Diego Padres ที่สนามกีฬาแจ็คเมอร์ฟีย์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2533 โดยร้องเป็นเสียงดังแสบแก้วหู แล้วภายหลังพยายามทำท่าเหมือนกับนักกีฬาโดยถุยน้ำลายแล้วจับที่เป้ากางเกงของเธอเหมือนกับขยับอุปกรณ์ป้องกัน ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้คนบางพวก รวมทั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในตอนนั้นคือนายจอรจ์ เอ็ช. ดับเบิลยู. บุช (บิดาของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช)[36]

นักร้องซูฟยาน สตีเวนส์เล่นเพลงชาติในการแสดงสดของเขา แต่จะเปลี่ยนบาทสุดท้ายที่มองโลกในแง่ดีในบทแรก ด้วยบาทที่แสดงสภาพแตกแยกของประเทศทุกวันนี้ นักร้องเดวิด ลี รอธ ทั้งอิงบางส่วนของเพลงชาติ และทั้งเล่นเพลงในสไตล์ฮาร์ดร็อกในเพลง "Yankee Rose" ในอัลบัมเดี่ยวปี 2529 ที่มีชื่อว่า Eat 'Em and Smile ส่วนนักร้องสตีเฟ่น ไทเลอร์สร้างความขัดแย้งในปี 2544 (ในการแข่งรถ Indianapolis 500 ซึ่งภายหลังเขาขอโทษ) และในปี 2555 (ที่การแข่งกอล์ฟ AFC Championship Game) โดยร้องเปลี่ยนเนื้อในสไตล์อะแคปเปลลา[37]

นักดนตรีโจ เพร์รี และแบร็ด วิตฟอร์ด แห่งวงแอโรสมิธ เล่นบางส่วนของเพลงท้ายเพลง "Train Kept A-Rollin'" ในอัลบัม Rockin' the Joint วงบอสตันเล่นเพลงแค่เสียงดนตรีในอัลบัม Greatest Hits และวง Crush 40 เล่นเพลงในแถร็กเริ่มต้นของอัลบัม Thrill of the Feel (2543)

ในเดือนมีนาคม 2548 โปรแกรมที่สนับสนุนโดยรัฐบาลคือโปรเจ็กต์เพลงชาติ (National Anthem Project) ก็เริ่มขึ้นหลังจากโพลแสดงว่า ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ทั้งเนื้อร้องหรือประวัติของเพลง[38]

ป้ายแสดงประเพณีให้ยืนเมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติในเมืองทาโคมา รัฐวอชิงตัน ทำเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2436 หน้าอาคาร Bostwick

ใกล้เคียง

เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 7 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 8 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 4 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 10 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 5 เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 11

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ http://digital.library.mcgill.ca/fishstein/images/... http://baseballisms.com/cubs-vs-red-sox-1918-world... http://sportsillustrated.cnn.com/multimedia/photo_... http://www.cnn.com/2016/08/31/opinions/star-spangl... http://dailycaller.com/2016/08/29/progressives-put... http://www.daltai.com/padraig/USA.htm http://ijr.com/2016/08/684228-national-anthem-vers... http://josefeliciano.com/index.php?page=anthem http://articles.latimes.com/1990-07-28/local/me-53... http://www.musiqueacadienne.com/banniere.htm