ประวัติยุคต้น ของ เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์

เนื้อเพลง

กวีนิพนธ์ "Defence of Fort M'Henry (การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่)" ต้นฉบับดั้งเดิมของ ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ ซึ่งปัจจุบันเปิดให้ชมที่ Maryland Historical Society

ในวันที่ 3 กันยายน 2357 หลังจากการเผานครวอชิงตัน ดี.ซี. และการโจมตีเมืองอะเล็กซานเดรีย รัฐเวอร์จิเนีย นายฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ และนายจอห์น สจวร์ต สกินเนอร์ ออกเรือ HMS Minden จากเมืองบอลทิมอร์ โดยยกธงขาวในภารกิจพิเศษที่ประธานาธิบดีเจมส์ แมดิสัน ได้อนุมัติแล้ว และมีจุดมุ่งหมายเพื่อแลกเปลี่ยนเชลยศึก รวมทั้ง นพ. วิลเลียม บีนส์ ซึ่งเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นเพื่อนของนายคีย์ที่ถูกฝ่ายอังกฤษจับไป ในข้อหาช่วยจับทหารอังกฤษ

หลังจากที่ขึ้นเรือธง HMS Tonnant ของอังกฤษเมื่อวันที่ 7 กันยายนเพื่อเจรจากับพลตรีรอเบิร์ต รอส และพลเรือโทอะเล็กซานเดอร์ คอเครน ซึ่งเป็นเวลาที่นายทหารทั้งสองปรึกษาแผนการยุทธ์ในระหว่างอาหารเย็น ตอนแรก นายทหารทั้งสองจะไม่ยอมปล่อยหมอ แต่ก็ยินยอมหลังจากที่คีย์และสกินเนอร์แสดงจดหมายเขียนโดยเชลยศึกชาวอังกฤษที่สรรเสริญหมอและคนอเมริกันอื่น ๆ เนื่องจากได้รับการปฏิบัติที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา แต่เพราะว่า คีย์และสกินเนอร์ได้ยินแผนการโจมตีเมืองบอลทิมอร์ ก็เลยถูกจับเอาไว้จนกระทั่งสุดการโจมตี ตอนแรกบนเรือ HMS Surprise และต่อมา บนเรือ HMS Minden อีก หลังจากการระดมยิง มีเรือปืนอังกฤษที่พยายามรอดผ่านป้อมแม็กเฮ็นรี่แล้วยกทหารขึ้นบกที่อ่าวเล็ก ๆ ทางตะวันตก แต่ก็ถูกส่งกลับด้วยการยิงสนับสนุนจากป้อมโควิงตันใกล้ ๆ ที่เป็นด่านป้องกันสุดท้ายของเมือง

จิตรกรรมแสดงการโจมตีป้อมแม็กเฮ็นรี่ ธงอันแพรวพราวไปด้วยดารา 15 ดวงและริ้ว 15 ริ้วที่เป็นแรงดลใจของบทกวี (ถ่ายปี 2416) ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่สถาบันสมิธโซเนียน

ในช่วงกลางคืนที่มึดครึ้มไปด้วยฝน คีย์ได้เห็นธงแบบ "storm flag" ที่เล็กกว่ายังคงพริ้วสะพัดเหนือป้อม แต่หลังจากที่ราชนาวีอังกฤษหยุดโจมตีป้อมด้วยปืนใหญ่และจรวด[5] เขาก็มองไม่เห็นว่าการสู้รบเป็นอย่างไรจนอรุณรุ่ง ในรุ่งเช้าของวันที่ 14 ป้อมก็ได้ลดธงเก่าลงและชักธงที่ใหญ่กว่าขึ้น ในช่วงการโจมตี HMS Terror และ HMS Meteor เป็นเรือที่ยิง "ระเบิดที่ปะทุกระจายกลางนภากาศ" คีย์ได้รับแรงดลใจของชัยชนะฝ่ายอเมริกันและการเห็นธงชัยใหญ่ที่โบกสะพัดเหนือป้อม

ธงผืนนี้ต่อมาจึงได้ชื่อเป็น Star-Spangled Banner (ธงอันแพรวพราวไปด้วยดารา) และปัจจุบันเปิดให้ชมในพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์อเมริกันแห่งชาติ ซึ่งเป็นส่วนของสถาบันสมิธโซเนียน โดยมีการบูรณะธงผืนนี้ในปี 2457 และปี 2541 เพื่อรักษาธงไว้

ในขณะที่ยังอยู่บนเรือ คีย์ได้ประพันธ์กวีนิพนธ์บนหลังกระดาษจดหมายที่เขาเก็บไว้ในกระเป๋า ต่อมาเวลาเย็นวันที่ 16 กันยายน เขาและสกินเนอร์จึงได้อนุญาตให้กลับไปที่บอลทิมอร์ เขาจึงเขียนบทกวีให้เสร็จในโรงแรมที่เขาอยู่ แล้วตั้งชื่อว่า "Defence of Fort M'Henry (การต่อสู้พิทักษ์ป้อมแม็กเฮ็นรี่)" ไอเดียโดยมากในบทกวี รวมทั้งจินตภาพของธงและคำบางคำ มาจากเพลง ("When the Warrior Returns") ที่คีย์ได้เขียนประกอบกับเพลง "The Anacreontic Song" เช่นกันมาก่อน[6]

เพราะคีย์ไม่ได้อธิบายบทกวีของเขาก่อนเสียชีวิตในปี 2386 จึงมีคนที่ได้เดาถึงความหมายของวลีในบทต่าง ๆ ตามนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่ง คำว่า "the hireling and slave" (พวกรับจ้างและทาส) หมายถึงทาสเก่าเป็นพัน ๆ ในหมู่ทหารคนอังกฤษที่จัดเป็นกองนาวิกโยธินชาวอาณานิคม (Corps of Colonial Marines) ที่ได้รับการปลดปล่อยจากทหารอังกฤษและเรียกร้องให้ส่งไปกองหน้า "ที่ตนอาจจะเจอเจ้านายเก่า"[7] (แม้ว่า ประเทศอังกฤษเองในขณะนั้นก็ยังมีทาสอยู่) นี่เป็นกลยุทธ์ที่ภายหลังประธานาธิบดีลินคอล์นก็ได้ใช้เมื่อปล่อยทาสที่อยู่ในการดูแลของฝ่ายรัฐกบฏแต่ไม่ใช่ในรัฐของพวกตน

ส่วนศาสตราจารย์ชาวอเมริกันคนหนึ่งอ้างว่า คำทั้งสองใช้เพื่อดูถูกศัตรูอังกฤษในสงครามปี ค.ศ. 1812 ไม่ใช่เพื่อยกย่องการมีทาส[8] โดยอ้างว่า คำที่ใช้หมายถึง ทหารอาชีพชาวอังกฤษ (พวกรับจ้าง) และกองนาวิกโยธินชาวอาณานิคม (ทาส) ที่คีย์มองว่าเป็น คนพาลและเป็นคนทรยศผู้ก่อกบฏ ซึ่งทำให้สหรัฐไม่ร้องเพลงส่วนนี้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเพราะอังกฤษเป็นพันธมิตร

มีคนอื่นอีกที่อ้างว่า[9] วลีนี้หมายถึงความจงรักภักดีที่ไม่สม่ำเสมอ[10] คือ พวกรับจ้าง หมายถึงทหารรับจ้างที่สนใจเรื่องเงินทองไม่ใช่รักประเทศชาติ และหมายถึงคนอเมริกันที่ประเทศอังกฤษโอ้อวดว่า "สมัครเป็นทหาร" แต่ความจริง "ตกเป็นทาส" ด้วยกระบวนการเกณฑ์ทหารโดยบังคับของอังกฤษ[11][12]

หลังจากที่สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเซ็นสนธิสัญญาสันติภาพเมื่อสิ้นปี 2357 รัฐบาลสหรัฐก็เรียกร้องให้อังกฤษคืนทรัพย์สินคนอเมริกัน ซึ่งเมื่อตอนนั้น หมายถึงทาส 6,000 คน ที่ได้อิสรภาพ แต่อังกฤษปฏิเสธ ต่อมาคน 6,000 คนโดยมากในที่สุดก็ตั้งถิ่นฐานในแคนาดา โดยมีบางส่วนที่ไปยังเกาะตรินิแดด[13]

ฉบับเสียงประกอบกับแผ่นโน้ตดนตรี  Play (วิธีใช้·ข้อมูล) อนุสรณ์ของนายจอห์น สแตฟฟอร์ด สมิธ ในมหาวิหารกลอสเตอร์ ประเทศอังกฤษ

เพลงที่เขียนโดยจอห์น สแตฟฟอร์ด สมิธ

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

เพลงชาติ

ป้ายอนุสรณ์ในนครวอชิงตัน ดี. ซี. แสดงที่ที่เพลง "The Star-Spangled Banner" ร้องต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก (601 Pennsylvania Avenue)

เพลงเพิ่มความนิยมเรื่อย ๆ ตลอดทั้งคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยวงศ์ดุริยางค์มักจะเล่นเพลงนี้ในงานต่าง ๆ เช่นวันชาติ (Independence Day) ส่วนป้ายอนุสรณ์ที่ Fort Meade รัฐเซาท์ดาโคตา อ้างว่า ไอเดียเพื่อใช้เพลงเป็นเพลงชาติเริ่มที่สนามเดินขบวนของค่ายทหารเริ่มในปี 2435 โดยมีพันเอกคาเล็บ คาร์ลตัน ผู้บัญชาการของค่าย เป็นผู้ตั้งประเพณีให้เล่นเพลงนี้เมื่อ "ลดธงและเมื่อจบการเดินสวนสนามหรือคอนเสิร์ต" เมื่อเขาอธิบายให้กับผู้ว่าราชการรัฐคือนายเช็ลดอน ผู้ว่าการก็ "สัญญาว่าเขาจะพยายามตั้งเป็นประเพณีแก่กองกำลังอาสาสมัครของรัฐ" และเมื่อธิบายให้กับเลขาธิการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ คือ นายแดเนียล อี. ลาม็อนต์ เขาก็ได้ออกคำสั่งให้ "เล่นเพลงทุกเย็นเมื่อลดธงในค่ายทหารทุกค่าย"[14]

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2432 เลขาธิการของกองทัพเรือสหรัฐเบ็นจามิน เอ็ฟ. เทรซีย์ เซ็นคำสั่งให้ใช้เพลงเป็นเพลงทางการเมื่อยกธงชาติ ต่อมาในปี 2459 ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันจึงออกคำสั่งให้เล่นเพลงในงานทหารและงานที่เหมาะสมอื่น ๆ การเล่นเพลงอีกสองปีต่อมาในช่วงพักเกมเบสบอล (seventh-inning stretch) ของ 1918 World Series และต่อจากนั้นระหว่างเกม บ่อยครั้งอ้างว่าเป็นเหตุการณ์แรกที่ให้เล่นเพลงชาติในเกมเบสบอล[15] แม้ว่าจะมีหลักฐานที่แสดงว่า การเล่นเพลงอาจเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2440 ของงานเปิดเกมวันแรกในเมืองฟิลาเดลเฟีย และเล่นเป็นประจำในสนามกีฬา Polo Grounds ในนครนิวยอร์กเริ่มตั้งแต่ปี 2441 อย่างไรก็ดี ประเพณีของการเล่นเพลงชาติก่อนเกมเบสบอลทุกเกมเริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[16]

ในวันที่ 10 เมษายน 2461 สมาชิกรัฐสภาคนหนึ่งได้เสนอกฎหมายยอมรับให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ[17] แต่ว่ากฎหมายไม่ผ่านรัฐสภา[17] แม้จนกระทั่งถึงวันที่ 15 เมษายน 2472 สมาชิกรัฐสภาคนเดิมก็ได้เสนอกฎหมายเป็นครั้งที่ 6[17] จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน 2472 คอลัมนิสต์การ์ตูน (Robert Ripley) ได้เขียนการ์ตูนกล่าวว่า "จะเชื่อหรือไม่ อเมริกาไม่มีเพลงชาติ"[18]

ในปี 2473 กลุ่มทหารผ่านศึก (Veterans of Foreign Wars) จึงได้ยื่นฎีการ้องให้สหรัฐอเมริกายอมรับให้เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ[19] โดยมีคน 5 ล้านคนเซ็นคำร้องร่วม[19] ซึ่งต่อมายกขึ้นสู่คณะกรรมการฝ่ายตุลาการของรัฐสภาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2473[20] ในวันเดียวกัน หญิงสองคน (Elsie Jorss-Reilley และ Grace Evelyn Boudlin) ได้ร้องเพลงนี้ให้คณะกรรมการฟังเพื่อพิสูจน์ว่า เพลงไม่ได้มีเสียงสูงเกินไปสำหรับคนทั่วไปจะร้อง[21] คณะกรรมการจึงออกเสียงให้ส่งเสนอกฎหมายเพื่อลงคะแนนต่อไปในรัฐสภา[22] ซึ่งต่อมาผ่านกฎหมายในปีเดียวกัน[23] โดยวุฒิสภาก็ผ่านกฎหมายในวันที่ 3 มีนาคม 2474[23]

ในวันที่ 4 มีนาคม 2474 ประธานาธิบดีเฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ จึงได้เซ็นผ่านกฎหมายยอมรับ "The Star-Spangled Banner" เป็นเพลงชาติทางการของสหรัฐอเมริกา[1]

ใกล้เคียง

เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 9 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 7 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 8 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 4 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 10 เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 5 เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 11

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์ http://digital.library.mcgill.ca/fishstein/images/... http://baseballisms.com/cubs-vs-red-sox-1918-world... http://sportsillustrated.cnn.com/multimedia/photo_... http://www.cnn.com/2016/08/31/opinions/star-spangl... http://dailycaller.com/2016/08/29/progressives-put... http://www.daltai.com/padraig/USA.htm http://ijr.com/2016/08/684228-national-anthem-vers... http://josefeliciano.com/index.php?page=anthem http://articles.latimes.com/1990-07-28/local/me-53... http://www.musiqueacadienne.com/banniere.htm