ประวัติ ของ เนโท

จุดเริ่มต้น

The North Atlantic Treaty was signed by President Harry S. Truman in Washington, D.C., on 4 April 1949 and was ratified by the United States in August 1949.

จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนับสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนการเริ่มต้นสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนืออย่างเป็นทางการนั้น เกิดขึ้นเมื่อมีการลงนามในวอชิงตันดีซี ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 โดยได้รวมสนธิทั้งห้าของของบรัสเซลส์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งในครั้งแรกนั้น คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ โดยเสียงสนับสนุนในการก่อตั้งนั้นไม่เป็นเอกฉันท์ เนื่องจากมีชาวไอซ์แลนด์บางกลุ่มต่อต้านการเข้าเป็นสมาชิกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2492

สงครามเย็น

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

นโยบายของเนโทยุคหลังสงครามเย็น

หลังจากที่สงครามเย็นสิ้นสุดลง เนโทได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างและปรับปรุงนโยบายในหลายๆ ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ดังนี้

  1. การให้ความสำคัญแก่ปฏิบัติการรักษาสันติภาพ (Peace-keeping) ได้แก่ การสร้างความเข้าใจในกระบวนการรักษาสันติภาพ การสร้างความร่วมมือ การวางแผน และการสร้างความสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ และองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ในกระบวนการดังกล่าว รวมทั้งการประสานงานระหว่างฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารโดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม
  2. การหาแนวทางที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยมุ่งเน้นให้รัสเซียมีบทบาทสำคัญและสร้างสรรค์ในการสร้างเสถียรภาพในยุโรปในกรอบกว้าง
  3. การปรับบทบาททางการทหารให้เอื้อต่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนการดำเนินนโยบายทางด้านความมั่นคงที่เอื้อต่อพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ และการจัดสรรงบประมาณที่เหมาะสม ระหว่างงบประมาณด้านการทหารและงบประมาณด้านเศรษฐกิจของประเทศ
  4. ความร่วมมือในโครงการวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม
  5. การเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการพัฒนาความร่วมมือกับประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก