เรื่องเล่าขานที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม ของ เผาตำรา_ฝังบัณฑิต

เหตุการณ์เผาตำราและคัมภีร์ในยุคจีนโบราณ

'[1]' การเผาตำราและคัมภีร์ของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน
'[2]' เมืองฉางอานซึ่งเป็นเมืองหลวงของจักรพรรดิหวัง หมั่งถูกโจมตีและพระราชวังหลวงถูกปล้น พระองค์สิ้นพระชนม์ในสนามรบและบีบบังคับให้เผาหอสมุดพระราชวังเว่ยหยางแห่งชาติ
'[3]' เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น การกระจัดกระจายของห้องสมุดรัฐในยุคสามก๊กโดยเหตุกลียุคอันเป็นผลมาจากสงครามระหว่างวุยก๊ก (魏) จ๊กก๊ก (蜀) และง่อก๊ก (吳)
'[4]' เมื่อสงครามแห่งเจ้าชายทั้งแปดยุติลง การกระจัดกระจายของห้องสมุดรัฐโดยเหตุกลียุคแห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตก
'[5]' จักรพรรดิหยวนแห่งราชวงศ์เหลียงห้อมล้อมไปด้วยกองทัพเว่ยตะวันตกภายในป้อมปราการของพระองค์ พระองค์ทรงจุดไฟเผาการเก็บรวบรวมบันทึกแห่งชาติ

การเผาตำรา

ตามที่บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ (มีชื่อเรียกอย่างหนึ่งว่า บันทึกสื่อจี้) ของซือหม่า เชียน หลังจากที่ ฉินฉื่อหฺวังตี้ จักรพรรดิพระองค์แรกของประเทศจีน ได้รวบรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียวในปี 221 ก่อนคริสตกาล หลี่ ซือ อัครมหาเสนาบดีได้เสนอให้ปราบปรามกวาดล้างการสนทนาของกลุ่มปัญญาชนเพื่อรวบรวมแนวคิดและความเห็นทางการเมืองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในบันทึกสื่อจี้ บทที่ 6 “ประชุมพงศาวดารพื้นฐานแห่งปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน” ปีที่ 34 (ปี 213 ก่อนคริสตกาล)

อัครมหาเสนาบดี หลี่ ซือ กล่าวว่า “ข้าพเจ้า ข้าในพระองค์ มีข้อเสนอว่า บันทึกของนักประวัติศาสตร์ทุกเล่มที่นอกเหนือจากของแคว้นฉินจะต้องถูกเผาทำลาย กับข้อยกเว้นของนักคิดและปัญญาชนผู้ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหนังสือเหล่านั้น ถ้าใครคนใดก็ตามที่อยู่ภายใต้ฟ้าเดียวกันคัดลอกบันทึกสื่อจี้ บันทึกแห่งประวัติศาสตร์ หรืองานเขียนอื่นของขบวนการสำนักความคิดทั้งร้อย พวกเขาจะต้องส่งมอบงานเขียนเหล่านี้ให้กับเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้บังคับบัญชาเพื่อเผาทำลาย ใครก็ตามที่กล้าถกเถียงเกี่ยวกับเนื้อหาในบันทึกสื่อจี้หรือบันทึกแห่งประวัติศาสตร์จะต้องถูกประหารชีวิตในพื้นที่สาธารณะ ใครก็ตามที่ใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ในปัจจุบันจะต้องถูกประหารชีวิตทั้งครอบครัว เจ้าหน้าที่ราชสำนักคนใดก็ตามที่เห็นว่ามีการละเมิดคำสั่งแต่ล้มเหลวในการรายงานความผิดไปยังราชสำนักก็มีความผิดเช่นกัน ใครก็ตามที่ล้มเหลวในการเผาหนังสือหลังจากการประกาศคำสั่งนี้ไปแล้ว 30 วันจะต้องถูกควบคุมตัวไปประทับรอยสักและถูกส่งตัวไปเป็นคนงานก่อสร้างกำแพงเมืองจีน หนังสือที่ได้รับการยกเว้น คือ หนังสือที่มีเนื้อหาด้านการแพทย์ ดวงชะตา การเกษตร และวนศาสตร์ บรรดาผู้ที่มีความสนใจด้านกฎหมายจะถูกอบรมสั่งสอนโดยเจ้าหน้าที่ราชสำนักแทน”[lower-alpha 1]

ตำราและคัมภีร์ที่ถูกตรวจพิจารณาโดย หลี่ ซือ แล้วพบว่ามีเนื้อหารุนแรงทางการเมืองมากที่สุดมี 3 ประเภท ได้แก่ บทกวี ประวัติศาสตร์ และปรัชญา การเก็บรวบรวมบันทึกทางประวัติศาสตร์และบทกวีโบราณประกอบไปด้วยหลายเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองที่มีคุณธรรมในยุคโบราณ หลี่ ซือ เชื่อว่าถ้าประชาชนได้อ่านงานเขียนเหล่านี้จะทำให้พวกเขามีความเป็นไปได้ที่จะโหยหาระบอบการปกครองในอดีตและกลายเป็นไม่พอใจระบอบการปกครองในปัจจุบัน เหตุผลของการต่อต้านสำนักความคิดของหลักปรัชญาทั้งหลาย คือ ทำให้พวกเขามักจะสนับสนุนความคิดทางการเมืองที่ไม่สามารถเข้ากับระบอบเผด็จการได้[4]

ผลกระทบที่ตามมา

ขอบเขตของความเสียหายต่อมรดกทางปัญญาของจีนเป็นสิ่งที่ประเมินได้ยาก เพราะว่ารายละเอียดไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ มีความจริงอยู่หลายเรื่อง อย่างไรก็ตาม ได้บ่งบอกถึงผลกระทบจากเหตุการณ์ ถึงแม้ว่าจะอยู่รอดมาได้แต่ก็ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง หนึ่ง มันถูกบันทึกไว้ในอนุสรณ์สถานของ หลี่ ซือ ว่าตำราและคัมภีร์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมทั้งหมดถูกสำรองเอาไว้ สอง แม้แต่ตำราที่น่ารังเกียจ บทกวี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักปรัชญาถูกเก็บรักษาเอาไว้ในหอจดหมายเหตุของจักรพรรดิ และได้รับอนุญาตให้เก็บรักษาไว้โดยนักคิดและปัญญาชนของราชสำนัก[5]

ตำราและคัมภีร์หลายประเภทที่ถูกกล่าวถึงนั้น ประวัติศาสตร์ประสบกับความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ตำราและคัมภีร์ทางประวัติศาสตร์ยุครณรัฐก่อนเข้าสู่ยุคราชวงศ์ฉินหลงเหลือมาน้อยที่สุด หลี่ ซือ กล่าวว่า ตำราและคัมภีร์ทางประวัติศาสตร์ทุกเล่มที่ไม่ได้อยู่ในการตีความจากราชสำนักฉินจะต้องถูกเผาทำลาย มันไม่แน่ชัดว่าสำเนาของตำราและคัมภีร์เหล่านี้ได้รับอนุญาตให้เก็บอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติหรือไม่ ถึงสำเนาบางฉบับถูกเก็บรักษาเอาไว้ แต่ก็ถูกทำลายไปในปี 206 ก่อนคริสตกาลเมื่อข้าศึกบุกเข้ายึดและเผาพระราชวังของจักรพรรดิจิ๋นซี ซึ่งมีความเป็นไปได้มากที่สุดว่าถูกเก็บเอาไว้ในหอจดหมายเหตุ[6]

ภายหลังจากการเผาตำรา

เมื่อสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน บันทึกแห่งชาติของพระราชวังอาฝางกงถูกทำลายโดยไฟไหม้ สาง จี้ นักกวีสมัยราชวงศ์ถัง ได้เขียนบทกวีเกี่ยวกับนโยบายของการทำลายในเวลาที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้

หลุมศพของการเผาก่อนที่มันจะได้รับความหนาว การจลาจลได้ประทุขึ้นทางทิศตะวันออกของภูเขาเสี้ยว

หลิว ปัง และ เซี่ยง หยี่ ได้ปรากฏตัวขึ้น

ฝังบัณฑิต

การประหารชีวิตนักคิดและปัญญาชนและการเผาตำรา (ภาพวาดจีนสมัยศตวรรษที่ 18)

มีตำนานเล่าขานกันว่าหลังจากที่ถูกหลอกโดยนักเล่นแร่แปรธาตุ 2 คน ขณะที่กำลังมองหาชีวิตที่ยาวนานนั้น จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงออกคำสั่งประหารชีวิตนักคิดและปัญญาชนมากกว่า 460 คนในเมืองหลวงด้วยวิธีฝังทั้งเป็นในปีที่ 2 ของการเนรเทศ ความเชื่อนี้มีพื้นฐานมาจากข้อความนี้ที่ปรากฏอยู่ในบันทึกสื่อจี้ (บทที่ 6):

องค์ปฐมจักรพรรดิจึงมุ่งตรงไปยังการตรวจพิจารณาข้อความในราชสำนักเพื่อสอบสวนนักคิดและปัญญาชนเป็นรายคน พวกเขาต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกัน และดังนั้นจักรพรรดิจึงทรงกำหนดโชคชะตาของบรรดานักคิดและปัญญาชนเหล่านี้เป็นรายคนจำนวนมากกว่า 460 คนถูกฝังทั้งเป็นที่เสียนหยาง และเหตุการณ์นี้ได้ถูกประกาศต่อผู้ที่อยู่ใต้ฟ้าเดียวกันเพื่อตักเตือนบรรดาสาวก ผู้คนจำนวนมากถูกเนรเทศไปยังพื้นที่ชายแดน องค์ชายฝูซู พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ของจักรพรรดิ ได้ตักเตือนว่า “จักรวรรดิฉินเพิ่งจะบรรลุถึงสันติภาพ และเหล่าอนารยชนในพื้นที่ห่างไกลยังไม่ยอมจำนน นักคิดและปัญญาชนทุกคนต่างก็เคารพขงจื้อและยกย่องเขาเป็นแบบอย่าง ข้าพระองค์กลัวว่าถ้าหากฝ่าบาทลงโทษพวกเขาอย่างรุนแรง อาจจะทำให้เกิดความระส่ำระสายภายในราชอาณาจักรได้ ขอให้ฝ่าบาทได้โปรดตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ด้วย” อย่างไรก็ตาม องค์ชายฝูซูไม่สามารถเปลี่ยนพระทัยของพระราชบิดาได้และยังถูกพระราชบิดาส่งให้ไปป้องกันชายแดนแทนซึ่งถือว่าเป็นการเนรเทศแบบพฤตินัย

เรื่องราวนี้ถูกให้ไว้โดย เว่ย หง ในศตวรรษที่ 2 เพิ่มจำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตอีก 700 คน