ลักษณะเด่น ของ เพียงความเคลื่อนไหว

งานเนาวรัตน์มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวในข้อที่ว่า เขาสามารถถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาอย่างนุ่มนวลดังนั้น เนาวรัตน์จึงมิได้เขียนบทกวีการเมืองจากทฤษฎีหรือตรรกะ แต่เริ่มต้นจากความรู้สึกลึกซึ้งต่อเหตุการณ์ทั้งหลาย ที่ระเบิดออกมาจากภายใน ในเพียงความเคลื่อนไหว เนาวรัตน์ระบายความรู้สึกของเขาออกมาจากความกดดันของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ว่า

ชั่วเหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดดร้อนที่แผดก็ผ่อนเพลาพระเวหา
พอใบไม้ไหวพลิกริกริกมาก็รู้ว่าวันนี้มีลมวก

จาก ลมวก นี้ เนาวรัตน์นำคลี่คลายเหตุการณ์ตอนจบบทกวี เพียงความเคลื่อนไหว ว่า

พอเสียงร่ำรัวกลองประกาศกล้าก็รู้ว่าวันพระมาอีกหน
พอปืนเปรี้ยงแปลบไปในมณฑลก็รู้ว่าประชาชนจะชิงชัย
หน้า 55

ภาพ เหยี่ยวกระหยับปีกกลางเปลวแดด ในวรรคแรกนั้นเป็นประสบการณ์จริง ของเนาวรัตน์ ขณะที่เขาอยู่ภาคใต้ ซึ่งเขาคิดวรรคอันทรงพลังนี้ขึ้นมา แต่ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์นี้ควรนำไปเปรียบกับอะไร จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม จึงรู้ว่าถึงเวลาของ ลมวกแล้ว นี่คือประสบการณ์ของกวีที่มีความหมายต่อการสร้างสรรค์งานของเขา

จากผลงาน เพียงความเคลื่อนไหว ทำให้เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้รับรางวัลซีไรท์ ในปี พ.ศ. 2523 คณะกรรมการตัดสินในปีนั้นกล่าวว่า

ความสามารถในการใช้รูปแบบกวีนิพนธ์ของเขานั้น เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว เขาเป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านฉันทลักษณ์ตามแบบแผน และทั้งด้านเพลงพื้นบ้านถึงขนาดที่เรียกว่า ในเพลงกล่อมเด็ก เนาวรัตน์ก็อาจสอดสาระทางการเมือง และสังคมที่ร้อนแรงได้

บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด กรุณาช่วยปรับปรุงบทความนี้ โดยเพิ่มการอ้างอิงแหล่งที่มาที่น่าเชื่อถือ เนื้อความที่ไม่มีแหล่งที่มาอาจถูกคัดค้านหรือลบออก
รายชื่อวรรณกรรมสัญชาติไทยที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนเรียงตามปี
ลูกอีสาน (พ.ศ. 2522) · เพียงความเคลื่อนไหว (พ.ศ. 2523) · ขุนทอง เจ้าจะกลับเมื่อฟ้าสาง (พ.ศ. 2524) · คำพิพากษา (พ.ศ. 2525) · นาฏกรรมบนลานกว้าง (พ.ศ. 2526) · ซอยเดียวกัน (พ.ศ. 2527) · ปูนปิดทอง (พ.ศ. 2528) · ปณิธานกวี (พ.ศ. 2529) · ก่อกองทราย (พ.ศ. 2530) · ตลิ่งสูง ซุงหนัก (พ.ศ. 2531) · ใบไม้ที่หายไป : กวีนิพนธ์แห่งชีวิต (พ.ศ. 2532) · อัญมณีแห่งชีวิต (พ.ศ. 2533) · เจ้าจันท์ผมหอม นิราศพระธาตุอินทร์แขวน (พ.ศ. 2534) · มือนั้นสีขาว (พ.ศ. 2535) · ครอบครัวกลางถนน (พ.ศ. 2536) · เวลา (พ.ศ. 2537) · ม้าก้านกล้วย (พ.ศ. 2538) · แผ่นดินอื่น (พ.ศ. 2539) · ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน (พ.ศ. 2540) · ในเวลา (พ.ศ. 2541) · สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน (พ.ศ. 2542) · อมตะ (พ.ศ. 2543) · บ้านเก่า (พ.ศ. 2544) · ความน่าจะเป็น (พ.ศ. 2545) · ช่างสำราญ (พ.ศ. 2546) · แม่น้ำรำลึก (พ.ศ. 2547) · เจ้าหงิญ (พ.ศ. 2548) · ความสุขของกะทิ (พ.ศ. 2549) · โลกในดวงตาข้าพเจ้า (พ.ศ. 2550) · เราหลงลืมอะไรบางอย่าง (พ.ศ. 2551) · ลับแล, แก่งคอย(พ.ศ. 2552) · ไม่มีหญิงสาวในบทกวี (พ.ศ. 2553)  · แดดเช้าร้อนเกินกว่าจะนั่งจิบกาแฟ (พ.ศ. 2554) · คนแคระ (พ.ศ. 2555) · หัวใจห้องที่ห้า (พ.ศ. 2556)  · อสรพิษและเรื่องอื่นๆ (พ.ศ. 2557)  · ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต (พ.ศ. 2558) · นครคนนอก (พ.ศ. 2559)  · สิงโตนอกคอก (พ.ศ. 2560) · พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ (พ.ศ. 2561) · ระหว่างทางกลับบ้าน (พ.ศ. 2562)
กวีนิพนธ์และบทละคร
นวนิยาย
เรื่องสั้น
ประวัติศาสตร์
การเมือง
ศิลปะ
สังคมวิทยา, มานุษยวิทยา
และประวัติศาสตร์สังคม
ศาสนา
ธรรมชาติ
บทความเกี่ยวกับวรรณกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์

...

ใกล้เคียง

เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ เพียงพอน เพียงเธอ..รักนี้ดีสุดแล้ว เพียงใจที่ผูกพัน เพียงแค่ใจเรารักกัน (ละครโทรทัศน์) เพียงเพื่อ รอพบหัวใจเรา เพียงพอนเส้นหลังขาว เพียงพอนสีน้ำตาล เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น เพียงพอนไซบีเรีย