ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ของ เมลาโทนิน

สหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ขึ้นทะเบียนเมลาโทนินเป็นอาหารเสริมจึงหาซื้อได้ทั่วไป ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี ค.ศ. 1995 ยอดขายของเมลาโทนินนั้นสูงกว่าแอสไพริน ในสหรัฐอเมริกานั้นมีการโฆษณาว่ามีสรรพคุณในการรักษาของเมลาโทนินด้านต่างๆดังนี้:

•การป้องกันอาการไมเกรน•กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม•จับกับอนุมูลอิสระและมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ส่งผลให้สามารถ•ชะลอริ้วรอยแห่งวัย•ต่อสู้หรือป้องกันโรคมะเร็ง•ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน โรคหัวใจ

เมลาโทนินในประเทศแคนาดา ก็ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเช่นกัน

ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 เป็นต้นมา คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได้อนุมัติให้ใช้เมลาโทนินเป็นยาได้ (ชื่อทางการค้าคือ Circadin) ข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการนอนไม่หลับเบื้องต้น (การหลับที่ไม่มีประสิทธิภาพ) เป็นระยะเวลาสั้นๆในผู้ป่วยอายุ 55 ปีขึ้นไป ยา Circadin มีส่วนประกอบของเมลาโทนิน 2 มิลลิกรัม โดยเป็นยาประเภทออกฤทธิ์ช้าปริมาณที่แนะนำคือ 2 มิลลิกรัม รับประทานสองชั่วโมงก่อนเข้านอนและหลังอาหารมื้อสุดท้ายของวัน ควรรับการรักษาเป็นเวลา 3 สัปดาห์ในประเทศเยอรมนี กำหนดให้เมลาโทนินเป็นยาที่ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์ โดยไม่ว่าจะมีปริมาณเท่าไหร่ก็ยังต้องอยู่ในการควบคุมของแพทย์ รวมทั้งไม่อนุญาตให้มีการตีตราว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารเสริม สำหรับการใช้เมลาโทนินในอาหารเสริม ตามรายการในรายงานที่จัดทำร่วมกันของคณะกรรมาธิการยุโรป ในมาตรา 13 ของกฎระเบียบ EC หมายเลข 1924/2006 (สิทธิว่าด้วยเรื่องการกล่าวอ้างด้านสุขภาพ) (EG) Nr. 1924/2006 (Health Claims) อนุญาตให้กล่าวในแง่สุขภาพว่า "เมลาโทนิน ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียหลังจากการโดยสารด้วยเครื่องบิน (Jetlag) "และ" เมลาโทนินช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น " ปริมาณของการใช้ยาที่เหมาะสมของข้อมูลผู้ใช้ยา รวมทั้งคำอธิบายในการใช้ยาได้กำหนดไว้ด้วยซึ่งข้อความก่อนกล่าวก่อนหน้านี้เป็นการประเมินทางวิทยาศาสตร์ โดยสำนักงานความปลอดภัยอาหารแห่งสหภาพยุโรป (European Food Safety Authority : EFSA) ได้พูดถึงและเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2010 และ 2011 เมลาโทนินได้บรรจุเข้าไปในรายชื่อที่อนุญาตให้สามารถใช้ในแง่สุขภาพได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอนุญาตให้ใช้เมลาโทนินในส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมได้ว่าด้วยเรื่อง"การกล่าวอ้างทางสุขภาพ" มีเฉพาะสำหรับอาหารเสริมเท่านั้น อาหารเสริมดังกล่าวที่เรียกกันว่า "อาหารเสริมสมดุล" จะสามารถหาซื้อได้ในบางประเทศในสหภาพยุโรป (เช่นออสเตรีย) โดยผู้ผลิตรายต่างๆ ซึ่งจะมีส่วนผสมของเมลาโทนิน อย่างมากไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อแคปซูลสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคและความปลอดภัยของอาหารแห่งชาติ (BVL) ประเทศเยอรมนี ได้ฟ้องร้องผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของเมลาโทนิน เป็น "อาหารเสริมสมดุล" ในปี ค.ศ. 2010 อาหารเสริมสมดุลเป็นสินค้าประเภทอาหารเสริม ข้อฟ้องร้องของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคและความปลอดภัยของอาหารแห่งชาติ (BVL) ประเทศเยอรมนี อนุญาตให้รับประทานเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ฉลากสินค้าประเภทนี้จะถูกส่งต่อไปยังสำนักงานของรัฐบาลกลางการควบคุมอาหารอย่างเป็นทางการของรัฐ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบ และเป็นการคัดสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพออกจากตลาด ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยมีความเข้มข้นของเมลาโทนิน 2 มิลลิกรัมต่อการบริโภคหนึ่งวัน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์จากความเข้มข้นของเมลาโทนิน 1 หรือ 2มิลลิกรัมต่อวัน (เช่น โภชนาการ) อาหารบริโภคที่สามารถวางขายในตลาด ต้องถูกตรวจสอบ ในกรณีที่เป็นแบบบุคคลและความรับผิดชอบของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบ มีสารหลายอย่างที่ทั้งในผลิตภัณฑ์ยาและของบริโภค ทุกผลิตภัณฑ์ที่มีสารเหล่านี้จึงต้องมีการตรวจสอบและการจัดหมวดหมู่

สารที่มีคุณสมบัติใกล้เคียง

สารอะโกเมลาทีน (agomelatine) มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับเมลาโทนิน ซึ่งข้อแตกต่างของสารสองชนิดนี้คือ สารอะโกเมลาทีน ออกฤทธิ์กระตุ้น ตัวรับเมลาโทนิน ชนิด MT1 และMT2 (Melatonin receptors typ MT1/MT2) รวมทั้งยังมีคุณสมบัติออก ตัวรับเซโรทานิน 5 HT2C (serotonin recepter 5-HT2c )อะโกเมลาโทนินใช้เป็นยารักษาของภาวะซึมเศร้า

สารเมลาโทนินในอาหาร

กระบวนการผลิตเมลาโทนินผลิตไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น แต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหมดก็ผลิตเมลาโทนินในเวลากลางคืนได้เช่นกัน โดยเฉพาะวัวจะผลิตด้วยกลไกเดียวกันกับมนุษย์ โดยส่งผ่านจากกระแสเลือดเข้าไปในน้ำนม ทั้งนี้ปริมาณฮอร์โมนขึ้นอยู่กับเวลากลางวันและกลางคืนและอาหารที่วัวได้รับ โครงสร้างของเมลาโทนินในวัวนมมีจำนวนต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ระบบแสงที่ออกแบบพิเศษในการเลี้ยงวัวนม เพื่อให้สอดคล้องกับแสงธรรมชาติในเวลากลางวัน /กลางคืน เช่นเดียวกับการให้หญ้าและสมุนไพรแก่วัว ก็ช่วยให้ระดับเมลาโทนินในตอนกลางคืนเพิ่มสูงขึ้น เมื่อนำน้ำนมมาแยกพบว่ามีเมลาโทนินถึง 0.04 ไมโครกรัมต่อลิตร ประโยชน์ของนมที่ทำให้นอนหลับ ที่เรียกว่า "นมก่อนนอน" ยังไม่ได้พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์[11][12]

การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์

มีงานศึกษาวิจัยหลายขึ้นที่ค้นคว้าเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเมลาโทนินเกี่ยวกับอาการ Jetlag ข้อมูลที่ได้ค่อนข้างแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) [การวิเคราะห์อภิมานเป็นการวิจัยงานวิจัย (Research of Research)] ที่เปิดเผยข้อมูลโดย องค์กรความร่วมมือคอเครน (Cocrane) ประเทศอังกฤษ[13] โดยแสดงผลของการใช้เมลาโทนินที่ปริมาณ 0,5 ถึง 5 มิลลิกรัมในสภาวะ Jetlag พบว่าให้ผลในการบรรเทาอาการ ได้อย่างไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่หากใช้ที่ปริมาณ 5 มิลลิกรัมจะทำให้เวลาในการเคลิ้มหลับสั้นลง และยิ่งเห็นผลชัดมากขึ้น เมื่อข้ามโซนเวลาและในเที่ยวบินจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ในการศึกษานี้ได้ตรวจสอบพารามิเตอร์ของการนอนเช่นเดียวกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการง่วงนอนตอนกลางวัน และ การมีสุขภาพดีแข็งแรง การวิเคราะห์อภิมานอื่นๆ พบว่า เมลาโทนินไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ได้อย่างชัดเจนสำหรับอาการ Jetlag รวมทั้งไม่ได้ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้นในกรณีที่เกิดอาการนอนไม่หลับ สำหรับผู้ที่ทำงานเป็นกะ นอกจากนี้เวลานอนหลับโดยรวมก็ไม่ได้นานอย่างมีนัยสำคัญ ในการศึกษาวิจัยทั้งหมด ขาดการศึกษาเกี่ยวข้องกับอายุ / การประเมินผล เหตุนี้ประสิทธิภาพของสารนี้ อาจจะเห็นผลมากกับคนอายุ 55 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ในงานวิจัย ยังพบว่ามีปฏิสัมพันธ์กับการต่อต้านการเกิดลิ่มเลือดและยาลดอาการลมชัก การรับประทานเมลาโทนินระยะสั้น (<3 เดือน) การวิเคราะห์แบบอภิมานนี้ยังถูกวิพากวิจารณ์ในเรื่องของการเลือกศึกษาเฉพาะเรื่องด้วย (เช่น การใช้ยาระยะสั้น ปริมาณที่ใช้และการกำหนดจุดสิ้นสุดของการทดลอง)

GABAA
แอลกอฮอล์
บาร์บิเชอริต
เบ็นโซไดอาเซพีน
คาร์บาเมต
อิมิดาโซล
Monoureide
Neuroactive steroid
Nonbenzodiazepine
ฟีนอล
Piperidinedione
Quinazolinone
อื่นๆ
GABAB
H1
สารต้านฮิสตามีน
ยาแก้ซึมเศร้า
ยาระงับอาการทางจิต
α2-Adrenergic
5-HT2A
ยาแก้ซึมเศร้า
ยาระงับอาการทางจิต
อื่นๆ
เมลาโทนิน
Orexin
อื่นๆ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เมลาโทนิน http://www.chemspider.com/Chemical-Structure.872.h... http://www.kegg.jp/entry/D08170 http://www.commonchemistry.org/ChemicalDetail.aspx... http://www.guidetopharmacology.org/GRAC/LigandDisp... //upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/5/5f/Mela... https://www.drugbank.ca/drugs/DB01065 https://www.drugs.com/cdi/melatonin.html https://chemapps.stolaf.edu/jmol/jmol.php?model=CO... https://echa.europa.eu/substance-information/-/sub... https://fdasis.nlm.nih.gov/srs/srsdirect.jsp?regno...