การจำแนกประเภท ของ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง

มีระบบจัดระดับความรุนแรงของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางอยู่หลายระบบ แบบประเมินความรู้สึกตัวของกลาสโกว (Glasgow Coma Scale) ก็เป็นระบบที่ใช้ประเมินความรู้สึกตัวของผู้ป่วยที่ใช้กันตัวไป นอกจากนี้ยังมีระบบวัดคะแนนที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการประเมินผู้ป่วยเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางอยู่สามแบบ แต่ละแบบกำหนดให้ตัวเลขที่มากหมายถึงการมีผลการรักษาไม่ดี[19] แบบประเมินเหล่านี้ถูกออกแบบขึ้นโดยเปรียบเทียบลักษณะอาการของผู้ป่วยกับผลการรักษาย้อนหลัง

แบบประเมินความรุนแรงอันแรกเป็นของ Hunt และ Hess ซึ่งได้อธิบายไว้ในปี ค.ศ. 1968[20]

ระดับความรุนแรงอาการและอาการแสดงอัตรารอดชีวิต
1ไม่มีอาการ หรือมีอาการปวดศีรษะและคอแข็งเล็กน้อย70%
2ปวดศีรษะปานกลางถึงรุนแรง คอแข็ง ไม่มีความบกพร่องของระบบประสาทอื่นนอกจากของเส้นประสาทสมอง60%
3ซึม มีความบกพร่องของระบบประสาทเล็กน้อย50%
4กึ่งสลบ (stuporous) อ่อนแรงครึ่งซีกปานกลางถึงรุนแรง อาจมีอาการแข็งเกร็งแบบ decerebrate ในช่วงแรกแล้วจึงอ่อนเปลี้ยลง20%
5โคม่าระดับลึก มีอาการแข็งเกร็งแบบ decerebrate อาการระดับตรีทูต (moribund)10%

ระบบประเมินความรุนแรงของ Fisher แบ่งระดับความรุนแรงตามลักษณะของเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลางที่ปรากฏให้เห็นใน CT scan[21] แบบประเมินความรุนแรงนี้ได้รับการดัดแปลงโดย Claassen และคณะ ตามความเสี่ยงที่พบใหม่เกี่ยวกับขนาดของเลือดที่ออกและการมีเลือดออกในโพรงสมอง (intraventricular hemorrhage) ร่วมด้วย[22]

ระดับความรุนแรงลักษณะของเลือดที่ออก
1ไม่มีปรากฏให้เห็น
2หนาน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร
3หนาน้อยกว่า 2 มิลลิเมตร
4หนาเท่าไรก็ได้ร่วมกับมีเลือดออกในโพรงสมองหรือมีเลือดซึมเข้าในเนื้อสมอง

ระบบจำแนกประเภทของสหพันธ์ศัลยแพทย์ระบบประสาทแห่งโลก (World Federation of Neurosurgeon, WFNS) ได้ใช้แบบประเมินความรู้สึกตัวของกลาสโกวร่วมกับความบกพร่องทางระบบประสาทเฉพาะที่ (focal neurological deficit) มาใช้ในการประเมินความรุนแรงของอาการ[23]

ระดับความรุนแรงคะแนนแบบประเมินกลาสโกวความบกพร่องทางระบบประสาทเฉพาะที่
115ไม่มี
213–14ไม่มี
313–14มี
47–12มีหรือไม่มีก็ได้
5<7มีหรือไม่มีก็ได้

Ogilvy และ Carter ได้เสนอรายละเอียดการจำแนกประเภทแบบครอบคลุมเพื่อใช้ทำนายผลและประเมินคุณภาพการรักษา[24] ระบบนี้มีระดับความรุนแรง 5 ระดับ โดยให้แต่ละคะแนนขึ้นกับการมีหรือไม่มีปัจจัยดังต่อไปนี้: อายุมากกว่า 50, ระดับความรุนแรงตาม Hunt และ Hess ที่ 4 หรือ 5, คะแนนแบบประเมินของ Fisher 3 หรือ 4, ขนาดหลอดเลือดโป่งพองมากกว่า 10 มิลลิเมตร, และการมีหลอดเลือดโป่งพองของระบบไหลเวียนส่วนหลัง (posterior circulation aneurysm) ขนาดตั้งแต่ 25 มิลลิเมตร[24]

ใกล้เคียง

เลือด เลือดมังกร เลือดข้นคนจาง เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง เลือดในอุจจาระ เลือดแฝงในอุจจาระ เลือดตัดเลือด เลือดชั่ว: เรื่องลับและคำลวงเบื้องหลังบริษัทดาวรุ่งแห่งซิลิคอนแวลลีย์ เลือดเจ้าพระยา เลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก

แหล่งที่มา

WikiPedia: เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง http://jnnp.bmj.com/cgi/content/full/72/6/772 http://jnnp.bmj.com/cgi/content/full/75/3/491 http://www.diseasesdatabase.com/ddb12602.htm http://www.em-consulte.com/article/126528 http://www.emedicine.com/emerg/topic559.htm http://www.emedicine.com/med/topic2883.htm http://www.emedicine.com/neuro/topic357.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=430 http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=852.... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=852....