การวิเคราะห์ ของ เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม

นักวิจารณ์และนักวิชาการหลายสายมองระบบเศรษฐกิจของจีนว่าเป็นเพียงทุนนิยมโดยรัฐรูปแบบหนึ่ง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการปฏิรูปอุตสาหกรรมระหว่างทศวรรษที่ 1980 และ 1990, โดยสังเกตว่าแม้เศรษฐกิจของจีนยังคงมีเศรษฐกิจภาครัฐขนาดใหญ่, รัฐวิสาหกิจบางส่วนกลับมีรูปแบบการดำเนินงานเหมือนกับบริษัทเอกชน และเก็บผลกำไรอยู่กับตัว โดยมิได้ปันส่วนดังกล่าวไปสู่ภาครัฐ เพื่อให้รัฐนำไปทำประโยชน์ให้กับประชาชนโดยรวม. ตัวแบบเศรษฐกิจนี้ยังเป็นที่มาของคำถาม ถึงความสมเหตุสมผลของการมีกรรมสิทธิ์สาธารณะที่มากเกินไป ตลอดจนความเข้ากันของนิยามของระบบที่มีต่อความเป็น “สังคมนิยม”, และนำไปสู่ความกังวลและการถกเถียงกัน ว่าด้วยการจัดสรรผลกำไรของรัฐ.[9][10]

อย่างไรก็ดี, นับตั้งแต่ปี 2017 ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ, รัฐบาลกลางเริ่มส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินปันผลให้กับรัฐ. นโยบายปฏิรูปนอกจากนี้ ยังมีการโอนถ่ายสินทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจไปสู่กองทุนประกันสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่งบเงินบำนาญ, ตลอดจนรัฐบาลระดับเมืองของเซินเจิ้น ยังได้เสนอให้รัฐวิสาหกิจให้การอัดฉีดในรูปแบบเงินปันผลทางสังคมกับประชาชน.[11]

นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีน ชุยจือหยวน ให้ทัศนะถึงตัวแบบของเจมส์ มีดส์ ว่าด้วยสังคมนิยมเสรี ว่ามีความคล้ายคลึงกับเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมของจีน และสามารถนำไปพิสูจน์ความสมเหตุสมผลของตัวแบบของจีนได้. ตัวแบบสังคมนิยมตลาดของมีดส์ กล่าวถึงกรรมสิทธิ์สาธารณะในวิสาหกิจ ที่มีการบริหารงานเป็นเอกเทศ – ในขณะที่รัฐเป็นเพียงผู้อ้างสิทธิในกำไรที่ได้จากผลประกอบการของวิสาหกิจ, แต่มิได้มีสิทธิควบคุมการบริหารหรือการดำเนินงานในวิสาหกิจ. ข้อได้เปรียบของตัวแบบนี้คือ รัฐมีแหล่งรายได้นอกเหนือจากรูปแบบภาษีและหนี้เงินกู้ค้างชำระ, ทำให้สามารถลดภาระด้านภาษีเงินได้ให้กับบุคคลธรรมดาและภาคเอกชน ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งเสริมความเท่าเทียมได้ด้วย. ชุย ชี้ว่าประสบการณ์ของฉงชิ่ง มีลักษณะที่รัฐวิสาหกิจระดับเมืองช่วยให้ภาครัฐสามารถแบกรับค่าใช้จ่ายด้านสังคมที่สูงได้ ควบคู่ไปกับภาษีระดับต่ำ โดยยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงโดยรวม นั้น ถือเป็นข้อพิสูจน์ของตัวแบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม. ตัวแบบฉงชิ่งมีการใช้กำไรจากรัฐวิสาหกิจไปอุดหนุนบริการสาธารณะ (รวมถึงการจัดหาที่อยู่อาศัย), เป็นแหล่งรายได้หลักของการคลังสาธารณะ และยังทำให้ฉงชิ่งสามารถลดอัตราภาษีนิติบุคคล (15% เทียบกับอัตราภาษีนิติบุคคลระดับประเทศที่ 33%) เพื่อจูงใจการลงทุนจากต่างชาติอีกด้วย.[6]

เปรียบเทียบ สังคมนิยมตลาด และทุนนิยม

นักทฤษฎีสายเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม เทียบตัวแบบเศรษฐกิจนี้กับนโยบายเศรษฐกิจใหม่ แห่งยุคทศวรรษ 1920 ของสหภาพโซเวียต ที่นำเสนอการปฏิรูปเชิงตลาดหลากหลายรูปแบบ ในขณะที่ยังรักษาไว้ซึ่งระบบกรรมสิทธิ์ของรัฐ ว่าด้วยเศรษฐกิจที่มีการสั่งการจากมุมสูง. พบว่าการปฏิรูปมีความชอบธรรม ด้วยความเชื่อที่ว่า การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเป็นความจำเป็นในการออกยุทธศาสตร์ใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาสังคมนิยม.[12]


จากข้อมูลของ หลี่หรงหรง, ในปี 2003 ประธานกรรมาธิการตรวจสอบและบริหารสินทรัพย์ของรัฐ ภายใต้คณะรัฐมนตรี, กล่าวว่าระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของจีน ได้รับการค้ำจุนด้วยบทบาทพื้นฐานของวิสาหกิจแบบสาธารณะ

กรรมสิทธิ์สาธารณะ, ในฐานะที่เป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นพลังขั้นพื้นฐานของรัฐที่จะนำพาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเป็นหลักประกันการมีผลสัมฤทธิ์ในประโยชน์สุขขั้นพื้นฐาน และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของประชาชนส่วนใหญ่... เศรษฐกิจรูปแบบกรรมสิทธิ์ของรัฐเข้ามามีอิทธิพลต่อการค้าที่สำคัญ มีความใกล้ชิดต่อเส้นชีวิตทางเศรษฐกิจในพื้นที่สำคัญ และของประเทศ, มีการเตรียมพร้อม, ชี้ทาง และนำพาการพัฒนาด้านเศรษฐ-สังคมในทุกมิติ. อิทธิพลและสมรรถภาพของรัฐวิสาหกิจเติบโตขึ้นเป็นลำดับ. เศรษฐกิจของรัฐวิสาหกิจมีบทบาทที่ไม่สามารถทดแทนได้ในการขับเคลื่อนความทันสมัยของสังคมนิยมในจีน.

ในอดีต, แม้วิสาหกิจส่วนใหญ่เป็นของภาครัฐ, แต่วิสาหกิจก็ยังมีการเก็บผลกำไรไว้กับตัว อีกทั้งมีการจ่ายเงินเดือนอัตราสูงให้กับบรรดาผู้จัดการขององค์กร แทนที่จะปันส่วนกลับไปสู่ประชาชน. อย่างไรก็ดี สถานะดังกล่าวมิได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป, ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญต่อต้านคอร์รัปชั่นของสีจิ้นผิง, ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจต้องเผชิญกับการลดเงินเดือนกว่า 50%,[13] บทบาทการกำกับดูแลของพรรคคอมมิวนิสต์ที่มีอยู่เหนือรัฐวิสาหกิจ ได้รับการรับรองโดยชอบด้วยกฎหมาย[14] และสภาตัวแทนคนงานและพนักงาน, ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบประชาธิปไตยในสถานประกอบการ ได้กลับมามีสถานะเดิมอีกครั้ง เสมือนยุคทศวรรษที่ 1980, รัฐวิสาหกิจมีหน้าที่โดยกฏหมายที่จะต้องรับรองสภานี้ในสถานประกอบการ และกว่า 80% ของวิสาหกิจจดทะเบียนในจีนมีสภานี้ด้วยเช่นกัน, รวมถึงบริษัทภาคเอกชนบางแห่งด้วย. แมกซ์เซนส์ พอลิน นักรัฐศาสตร์การเมืองชาวแคนาดา กล่าวในผลการวิจัยทางวิชาการแห่งปี 2021 ว่า:[4]

วิถีการผลิตของจีนยุคใหม่, นับตั้งแต่ปี 1990, ดำเนินรอยตามตรรกะคล้ายกับสหภาพโซเวียตยุคที่มีการใช้นโยบายเศรษฐกิจใหม่. ตามประสบการณ์ของนโยบายเศรษฐกิจใหม่, งานวิจัยของเราพบว่า ไม่ควรจะไปเข้าใจว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาของจีนนั้นเอนเอียงไปทางตัวแบบเสรีนิยมใหม่. ตามจริงแล้วมันคือการวิวัฒนาการอันเป็นต้นฉบับของลัทธิมาร์กซ์, ซึ่งสอดคล้องกับลัทธิมาร์กซ์-เลนิน แบบดั้งเดิม, เป็นการปรับตัวให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันกับระบบทุนนิยมที่ครอบคลุมไปทั่วโลก.[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยม http://www.chinadaily.com.cn/business/2017-11/19/c... http://english.mofcom.gov.cn/article/topic/bizchin... http://en.people.cn/200507/13/eng20050713_195876.h... https://books.google.com/books?id=MHFsBgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=O1POAQAACAAJ https://books.google.com/books?id=TK3BBAAAQBAJ https://books.google.com/books?id=it5JAgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=k-FJAgAAQBAJ https://books.google.com/books?id=zGS-0bNWDGAC https://www.scmp.com/economy/china-economy/article...