คำอธิบาย ของ เสียงพยัญชนะนาสิก

โดยหลักการแห่งการเกิดเสียง เสียงนาสิกเป็นเสียงกลุ่มซอนอรันต์ (sonorant) ซึ่งหมายความว่าเสียงกลุ่มนี้จะไม่ปิดกั้นลมออก และเป็นเสียงก้องเสมอในแทบทุกภาษา เว้นแต่ภาษาไอซ์แลนด์กับภาษาเวลส์ที่มีแบบเสียงไม่ก้อง (ในขณะที่เสียงกลุ่มอ็อบสตรูอันต์ (obstruent) คือเสียงที่ปิดกั้นลมออก หรือปล่อยอากาศปริมาณน้อย และมีทั้งเสียงก้องและไม่ก้อง) อย่างไรก็ตามเสียงนาสิกต่าง ๆ ก็ถือว่าเป็นเสียงกักบนฐานที่เกิด เพราะการไหลของอากาศผ่านปากหยุดโดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันก็ปล่อยอากาศออกทางจมูกแทน จึงสามารถเรียกได้ว่าเสียงนาสิกมีพฤติกรรมที่เหมือนทั้งซอนอแรนต์และทั้งออบสตรูนต์ โดยทั่วไปเสียงนาสิกจะพิจารณาว่าเป็นซอนอแรนต์ตามคำอธิบาย แต่ในหลายภาษาเสียงนาสิกพัฒนามาจากหรือพัฒนาไปเป็นเสียงพยัญชนะกัก เสียงนาสิกมีแถบของพลังงานอยู่ที่ประมาณ 200 ถึง 2,000 เฮิรตซ์

เสียงไม่ก้องเสียงก้อง
คำอธิบายIPASAMPAเสียงไทยคำอธิบายIPASAMPAเสียงไทย
เสียงนาสิก ริมฝีปาก ไม่ก้อง[m̥] หรือ [m̊][m_0]เสียงนาสิก ริมฝีปาก ก้อง[m][m][ม]
เสียงนาสิก ริมฝีปาก-ฟัน ไม่ก้อง[ɱ̥] หรือ [ɱ̊][F_0]เสียงนาสิก ริมฝีปาก-ฟัน ก้อง[ɱ][F]
เสียงนาสิก ฟัน ไม่ก้อง[n̪̥] หรือ [n̪̊][n_d_0]เสียงนาสิก ฟัน ก้อง[n̪][n_d]
เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก ไม่ก้อง 1[n̥] หรือ [n̊][n_0]เสียงนาสิก ปุ่มเหงือก ก้อง 1[n][n][น]
เสียงนาสิก ลิ้นม้วน ไม่ก้อง[ɳ̥] หรือ [ɳ̊][n`_0]เสียงนาสิก ลิ้นม้วน ก้อง[ɳ][n`]([ณ])
เสียงนาสิก เพดานแข็ง ไม่ก้อง[ɲ̥] หรือ [ɲ̊][J_0]เสียงนาสิก เพดานแข็ง ก้อง[ɲ][J]([ญ])
เสียงนาสิก เพดานอ่อน ไม่ก้อง[ŋ̥] หรือ [ŋ̊][N_0]เสียงนาสิก เพดานอ่อน ก้อง[ŋ][N][ง]
เสียงนาสิก ลิ้นไก่ ไม่ก้อง[ɴ̥] หรือ [ɴ̊][N\_0]เสียงนาสิก ลิ้นไก่ ก้อง[ɴ][N\]
  1. ^  สัญลักษณ์ [n] โดยปกติก็ใช้แทนเสียงนาสิกฐานฟันด้วยเช่นกัน (มากกว่าที่จะเป็น [n̪]) ในภาษาที่ออกเสียงไม่แตกต่างจากเสียงนาสิกฐานปุ่มเหงือก

เสียงนาสิก ลิ้นม้วน ก้อง [ɳ] เป็นเสียงปกติในกลุ่มภาษาอินโด-อารยัน

เสียงนาสิก เพดานแข็ง ก้อง [ɲ] เป็นเสียงปกติในภาษาแถบยุโรปอาทิ ภาษาสเปน ñ, ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอิตาลี gn, ภาษากาตาลา ภาษาฮังการี และภาษาลูกันดา ny, ภาษาเช็กและภาษาสโลวัก ň, ภาษาโปแลนด์ ń, ภาษาออกซิตันและภาษาโปรตุเกส nh, ภาษาเซอร์เบีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาบอสเนีย และภาษามอนเตเนโกร nj เป็นต้น

เสียงนาสิก เพดานอ่อน ก้อง [ŋ] มักเขียนแทนด้วยอักษรละติน ng

ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีนกลาง ฯลฯ ล้วนมีเสียง [m], [n] และ [ŋ] แต่บางภาษาก็มีมากกว่านั้น เช่นภาษาทมิฬมีอักษรแต่ละตัวแทนเสียง [m], [n̪], [n], [ɳ], [ɲ] และ [ŋ] ได้แก่ ம, ந, ன, ண, ஞ และ ங ตามลำดับ

ภาษากาตาลา ภาษาออกซิตัน ภาษาสเปน และภาษาอิตาลีมีเสียง [m], [n], [ɲ] เป็นหน่วยเสียง (phoneme) และมี [ɱ], [ŋ] เป็นเสียงแปร (allophone) (สำเนียงภาษาสเปนในอเมริกาบางสำเนียง ไม่มีเสียงนาสิกฐานเพดานแข็ง มีแต่เพียงเสียงนาสิกที่ลิ้นส่วนหน้าสู่เพดานแข็ง (palatalized nasal) [nʲ] นย เหมือนในคำอังกฤษ canyon)

คำว่า เสียงหยุดนาสิก มักจะถูกย่อเหลือเพียงแค่ เสียงนาสิก อย่างไรก็ตามก็มีเสียงนาสิกอื่น ๆ เช่น เสียงเสียดแทรกนาสิก เสียงสะบัดลิ้นนาสิก และเสียงสระนาสิก เช่นในภาษาฝรั่งเศส ภาษาโปรตุเกส ภาษากาตาลา (บางสำเนียง) ภาษาโยรูบา ภาษากเบ ภาษาโปแลนด์ และภาษาสโลวีเนียสำเนียงลูบลิยานา ในสัญลักษณ์สัทอักษรสากล เสียงสระนาสิกแสดงด้วยเครื่องหมายทิลเดอ (~) ไว้เหนือสระ เช่น คำฝรั่งเศส sang [sɑ̃] ออกเสียงคล้าย ซอง แต่ไม่ใช่เสียงสะกด