ข้อจำกัด ของ เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์

เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายตัวเมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้นดังที่ได้กล่าวข้างต้น จึงไม่นิยมใช้ในการแสดงแผนที่ในบริเวณที่ละติจูดมีค่าสูงกว่า 70 องศาเหนือและใต้ เนื่องจากอัตราส่วนจะมีค่าเข้าใกล้ค่าอนันต์เมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้นเข้าใกล้ขั้วโลก ดังนั้นแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์จึงไม่สามารถใช้แสดงลักษณะของขั้วโลกได้ ในบริเวณขั้วโลกจึงใช้เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ตามขวาง (Transverse Mercator projection)

สำหรับบริเวณที่เกิดการบิดเบี้ยวขึ้นมาสามารถใช้วิธีการตรวจสอบและอ้างอิงพื้นฐานได้จากแผนภาพของทฤษฏีของทิสสอต

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการใช้งานแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์อย่างแพร่หลาย แต่ก็ยังไม่สามารถนำมาใช้ในการอ้างอิงเพื่อใช้งานเป็นแผนที่โลกได้ เนื่องจากยังมีข้อจำกัดในการแสดงขนาดของพื้นที่เมื่อละติจูดมีค่าสูงขึ้น ดังนั้นแผนที่เล่ม (atlas) สมัยใหม่จึงไม่ใช้แผนที่แบบเมอร์เคเตอร์เป็นตัวอ้างอิง แต่จะใช้การแสดงแผนที่แบบทรงกระบอกแบบอื่นแทน อย่างไรก็ดีแผนที่เมอร์เคเตอร์ยังคงถูกใช้งานอยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ที่ซึ่งการบิดเบี้ยวมีค่าน้อย

ใกล้เคียง

เส้นโค้งเชิงวงรี เส้นโครงแผนที่ เส้นโค้งเบซีเย เส้นโครงแผนที่แบบเมอร์เคเตอร์ เส้นโค้งปิดเสมือนเวลา เส้นโค้ง เส้นโค้งคีลิง เส้นโลก เส้นโค้งฮิลเบิร์ท เส้นโค้งกลอทอยด์