เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล_พ.ศ._2567
เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล_พ.ศ._2567

เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล_พ.ศ._2567

เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567, กองพิทักษ์ปฏิวัติอิสลาม (IRGC), เป็นเหล่าทัพของกองทัพอิหร่าน ร่วมปฏิบัติการกับไออาร์ไอ,[10] ฮิซบุลลอฮ์ กลุ่มของชาวเลบานอน, และฮูษี กลุ่มของชาวเยเมน ได้เปิดฉากโจมตีประเทศอิสราเอลและดินแดนถือครองอิสราเอลที่ราบสูงกอลาน[note 2] ด้วยโดรน อาวุธปล่อยครูซ และขีปนาวุธ[11] เหตุโจมตีขนานรหัสว่า ปฏิบัติการคำมั่นอันแท้จริง (เปอร์เซีย: وعده صادق, อักษรโรมัน: va'de-ye sādeq).[12][13] ประเทสอิหร่านกล่าวว่าเป็นการตอบโต้เหตุระเบิดโดยอิสราเอลที่สถานทูตอิหร่านประจำกรุงดามัสกัสเมื่อวันที่ 1 เมษายน[14] ซึ่งนายพลชาวอิหร่านเสียชีวิตสองนาย[15] เหตุโจมตีดังกล่าวถูกมองว่าเป็นเหตุต่อเนื่องสงครามอิสราเอล–ฮะมาส และถือเป็นการโจมตีโดยตรงครั้งแรกของประเทศอิหร่านต่อประเทศอิสราเอลนับตั้งแต่เริ่มความขัดแย้งตัวแทน[16]หลายประเทศในตะวันออกกลาง[note 3] ตระเตรียมปิดน่านฟ้าของตนล่วงหน้าไม่กี่ชั่วโมงก่อนประเทศอิหร่านจะเปิดฉากโจมตีประเทศอิสราเอลในเวลาประมาณเที่ยงคืนของวันที่ 13 เมษายน เหตุโจมตีของประเทศอิหร่านประกอบด้วยโดรนราว 170 ลำ อาุวธปล่อยครูสมากกว่า 30 ลูก และขีปนาวุธมากกว่า 120 ลูกมุ่งเป้าโจมตีประเทศอิสราเอลและที่ราบสูงกอลาน, ดินแดนที่ประเทศอิสราเอลยึดครอง[note 2] หลายประเทศของพันธมิตรเริ่มปฏิบัติการเพื่อปกป้องอิสราเอล กองกำลังป้องกันอิสราเอลใช้ระบบแอโรว์ 3 และระบบเดวิตสลิงในการป้องกันเหตุโจมตีดังกล่าว[17][18] ด้วยความช่วยเหลือจากกองทัพอากาศสหรัฐ, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, และจอร์แดน[19][20][21] ประเทศฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการตามการร้องขอของประเทศจอร์แดน[22] ได้ส่งเรือมาให้ตรวจเรดาร์บริเวณพื้นที่ ประเทศจอร์แดนระบุว่าได้สกัดกั้นวัตถุที่บินเข้าไปในน่านฟ้าของตนเพื่อความปลอดภัยของพลเมือง[23]ทางการอิสราเอลระบุว่าร้อยละ 99 ของโดรนและอาวุธปล่อยถูกทำลายโดยชาติพันธมิตร[24][25][26] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันที่มีชื่อรหัสว่า โล่เหล็ก,[27] มากที่สุดก่อนเข้าสู่น่านฟ้าอิสราเอล[28] เจ้าหน้าที่สหรัฐรายหนึ่งกล่าวว่า อาุวธปล่อยของอิหร่านอย่างน้อย 9 ลูก โจมตีฐานทัพอากาศอิสราเอล 2 แห่ง ทำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อย[29] ขีปนาวุธบางส่วนถูกยิงตกในอวกาศโดยระบบแอโรว์[30] ขีปนาวุธดังกล่าวสร้างความเสียหายเล็กน้อยต่อฐานทัพอากาศเนวาติมทางตอนใต้ของอิสราเอล ซึ่งยังคงปฏิบัติการได้[31][32][33] ในประเทศอิสราเอล เด็กหญิงชาวเบดูอินอิสราเอลวัย 7 ขวบ บาดเจ็บถูกขีปนาวุธส่วนหนึ่งโจมตี และอีกสามสิบเอ็ดคนได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยขณะไปศูนย์หลบภัย หรือได้รับการรักษาด้วยภาวะวิตกกังวล จอร์แดนรายงานว่ามีเศษกระสุนบางส่วนตกลงมาในอาณาเขตของตน ทำให้ไม่มีความเสียหายหรือบาดเจ็บ[31][32] วันรุ่งขึ้น ทูตอิหร่านประจำสหประชาชาติระบุว่าการโจมตีดังกล่าว "เห็นว่าควรยุติลง"[34]เหตุโจมตีครั้งนี้ถือเป็นการโจมตีด้วยโดรนครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์,[35][36] ตั้งใจที่จะเอาชนะการป้องกันต่อต้านอากาศยาน นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การโจมตีด้วยอาวุธปล่อยของประเทศอิรักในปี พ.ศ. 2534 ซึ่งประเทศอิสราเอลถูกโจมตีโดยตรงจากกองทัพของรัฐอื่น[37] การโจมตีของประเทศอิหร่านได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากสหประชาชาติ ผู้นำโลกหลายราย และนักวิเคราะห์ทางการเมือง ซึ่งเตือนว่าพวกเขาเสี่ยงทำความขัดแย้งที่จะบานปลายไปสู่สงครามระดับภูมิภาคเต็มรูปแบบ[38][39][40][41] ประเทศอิสราเอลตอบโต้ด้วยการโจมตีอิหร่านอย่างจำกัดมากเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2567[42]

เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล_พ.ศ._2567

ผู้ลงมือ
วัตถุประสงค์ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหมู่อาคารทางการทหารของกองทัพอิสราเอลที่เป็นส่วนหนึ่งของเหตุระเบิดโดยอิสราเอลที่สถานทูตอิหร่านประจำเมืองดามัสกัส ก่อนเหตุโจมตีครั้งนี้
ผู้บังคับบัญชา
ชนิด การโจมตีโดยอาวุธปล่อย, การโจมตีโดยโดรนสังหาร
วันที่ 13–14 เมษายน พ.ศ. 2567[2]
ผู้สูญเสีย พลเรือน 1 คนชาวอิสราเอลได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเศษชิ้นส่วน;[6] รวมถึง 31 คนเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือภาวะวิตกกังวล[7][8][9]

ใกล้เคียง

เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554 เหตุโจรกรรมร้านทองในจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2563 เหตุโจมตีในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย พ.ศ. 2566 เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงพยาบาลในมารีอูปอล เหตุโจมตีคณะผู้แทนทางทูต พ.ศ. 2555 เหตุโจมตีทางอากาศใส่โรงละครในมารีอูปอล เหตุโจมตีสถานีรถไฟกรามาตอสก์ เหตุโจมตีโครคุสซีตีฮอลล์ เหตุโจมตีในปารีส เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล พ.ศ. 2567

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุโจมตีโดยอิหร่านในประเทศอิสราเอล_พ.ศ._2567 https://twitter.com/JasonMBrodsky/status/177951695... https://web.archive.org/web/20240416184254/https:/... https://web.archive.org/web/20240413232658/https:/... https://web.archive.org/web/20240413232702/https:/... https://web.archive.org/web/20240414003127/https:/... https://web.archive.org/web/20240414003254/https:/... https://web.archive.org/web/20240415104855/https:/... https://web.archive.org/web/20240413194551/https:/... https://web.archive.org/web/20240414004211/https:/... https://web.archive.org/web/20240413235922/https:/...