ประวัติ ของ โทษประหารชีวิต

วิธีการประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะโดยใช้ดาบของประเทศญี่ปุ่นสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ในภาพ เป็นการประหารชีวิตผู้ที่สังหารกงสุลอังกฤษประจำประเทศญี่ปุ่นที่เมืองโยโกฮามา)ผู้นิยมอนาธิปไตย ออกุส เวเลนท์ (Auguste Vaillant) ถูกประหารชีวิตด้วยเครื่องกิโยติน ในประเทศฝรั่งเศสในปี 1894

การดำเนินการเกี่ยวกับอาชญากรรมและศัตรูทางการเมืองได้ถูกนำมาใช้โดยในเกือบทุกสังคมทั้งกับการลงโทษความผิดทางอาญาและความขัดแย้งทางการเมือง ในบรรดาประเทศส่วนใหญ่ที่โทษประหารในทางปฏิบัติได้ถูกสงวนไว้สำหรับคดีการฆาตกรรม (การฆ่าคน), การจารกรรม, การก่อกบฏ หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระทรวงยุติธรรม ในบางประเทศอาชญากรรมทางเพศเช่น การข่มขืนกระทำชำเรา, คบชู้, การร่วมประเวณีกับญาติสนิทและการสังวาสที่ผิดธรรมชาติ ถูกดำเนินการประหารชีวิตเช่นเดียวกับการก่ออาชญากรรมทางศาสนาเช่น การละทิ้งศาสนาในประเทศอิสลาม (สละอย่างเป็นทางการในศาสนาประจำชาติ) ในหลายประเทศที่มีการใช้โทษประหารชีวิตนั้น, การค้ายาเสพติดยังคงเป็นความผิดทางกฎหมาย ในประเทศจีน การค้ามนุษย์และกรณีที่ร้ายแรงของการทุจริตทางการเมืองจะต้องถูกลงโทษโดยการประหารชีวิต ในกองทัพทั่วโลก ศาลทหารได้กำหนดโทษประหารสำหรับความผิดเช่น ขี้ขลาด, ละทิ้งหน้าที่, ไม่เชื่อฟัง และกบฏ [7]

การใช้การประหารชีวิตอย่างเป็นทางการได้แพร่ขยายไปสู่จุดเริ่มต้นของบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ บันทึกทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่และวิธีการปฏิบัติต่างๆ ของชนเผ่าโบราณระบุว่าโทษประหารชีวิตเป็นส่วนหนึ่งของระบบยุติธรรมของพวกเขา การลงโทษสำหรับการกระทำผิดกฎหมายของประชาชนโดยทั่วไปรวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดยผู้กระทำความผิด, การลงโทษทางกาย, การต่อต้าน, การเนรเทศและการประหารชีวิต โดยปกติ, ค่าชดเชยและการหลบหนีก็เพียงพอแล้วต่อรูปแบบของความยุติธรรมที่มีอยู่ [8] การตอบสนองกับอาชญากรรมที่กระทำโดยชนเผ่าที่อยู่ใกล้เคียงหรือชุมชนนั้นรวมไปถึงการขอโทษอย่างเป็นทางการ เบี้ยทำขวัญ หรือ ความอาฆาตกันทั้งตระกูล (blood feud)

ความอาฆาตกันทั้งตระกูลหรือความพยาบาทอันยาวนาน (blood feud, vendetta) เกิดขึ้นเมื่อการอนุญาโตตุลาการระหว่างครอบครัวหรือชนเผ่าล้มเหลวหรือระบบอนุญาโตตุลาการเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง รูปแบบของความยุติธรรมนี้เป็นเรื่องปกติธรรมดาก่อนที่จะมีการเกิดขึ้นของระบบอนุญาโตตุลาการที่ขึ้นอยู่กับรัฐหรือการจัดระเบียบทางศาสนา มันอาจจะเป็นผลมาจากความผิดทางอาญา, ข้อพิพาทดินแดน หรือหลักปฏิบัติคุณธรรม (code of honour) "การกระทำแห่งการตอบโต้นั้นได้เน้นย้ำขีดความสามารถของกลุ่มทางสังคมเพื่อให้เกิดการปกป้องต่อตัวเองและแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อศัตรู (เช่นเดียวกับชาติพันธมิตรที่มีศักยภาพ) ซึ่งการล่วงละเมิดที่จะมีต่อทรัพย์สิน, ต่อสิทธิ, หรือต่อบุคคล ในอันที่จะกระทำไปโดยที่ไม่มีใครขัดขวางนั้น จะมิอาจเกิดมีขึ้นได้โดยง่าย" [9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โทษประหารชีวิต http://capitaldefenseweekly.com/innocent.html http://www.mthai.com/square/news/news32569.html http://www.recordnet.com/apps/pbcs.dll/article?AID... http://wweek.com/editorial/3411/10288/ http://mitglied.lycos.de/PeterWill/penal9.htm http://www.tnp.no/norway/panorama/4100-university-... http://tvnz.co.nz/national-news/a-history-capital-... http://web.amnesty.org/library/index/engasa3600120... http://www.amnesty.org/en/death-penalty http://www.amnesty.org/en/death-penalty/abolitioni...