ศัพท์อภิธาน ของ โรคกามวิปริต

มีศัพท์หลายอย่างที่หมายถึงความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไปต่าง ๆ แต่ก็ยังมีการโต้เถียงเกี่ยวกับความแม่นยำของคำเหล่านั้น และเกี่ยวกับความเข้าใจของอาการต่าง ๆ เหล่านั้นนักเพศวิทยา ดร.จอห์น มันนี่ เป็นผู้สร้างความนิยมให้กับคำว่า paraphilia เพื่อใช้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ใช่เป็นคำดูถูก ของความสนใจทางเพศที่ไม่ทั่วไป[9][10][11][12]โดยกล่าวถึงกามวิปริตว่า เป็นการตกแต่งเพิ่มรสชาติ หรือเป็นทางเลือก ของข้อปฏิบัติทางเพศทั่วไป[13]แต่จิตแพทย์ท่านอื่นก็เขียนไว้ว่า แม้จะมีความพยายามโดยบุคคลต่าง ๆ รวมทั้ง ดร.มันนี่ คำว่า paraphilia ก็ยังเป็นคำดูถูกในกรณีทั่ว ๆ ไป[14]

นักเพศวิทยาชาวโครเอเชีย-ออสเตรีย ฟรีดริก ครอส เป็นผู้ได้เครดิตการบัญญัติคำในปี ค.ศ. 1903 ที่ต่อมาเริ่มใช้ในภาษาอังกฤษในปี 1913[15]เป็นคำจากภาษากรีกโบราณว่า παρά (para) ซึ่งแปลว่า "เคียงข้างนอกจาก" และจาก φιλία (-philia) ซึ่งแปลว่า "มิตรภาพ, ความรัก"

เริ่มตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็ได้เริ่มจัดหมวดหมู่กามวิปริตแบบต่าง ๆ เพื่อเป็นระบบการอธิบายความชอบใจแบบต่าง ๆ นอกเหนือจากที่มีในด้านกฎหมายและศาสนาในยุคนั้นเกี่ยวกับการร่วมเพศทางทวารหนัก[16]และกามวิปริตอื่น ๆ[17]ในเรื่องคู่มือวินิจฉัยแพทย์ ก่อนที่จะเริ่มใช้คำว่า paraphilia ใน DSM-III (ค.ศ. 1980) คู่มือ 2 ฉบับแรกได้ใช้คำว่า "sexual deviation" แทน[18]ในปี ค.ศ. 1981 บทความพิมพ์ในวารสารจิตเวชศาสตร์อเมริกัน แสดงกามวิปริตว่าเป็น "จินตนาการที่เร้าความรู้สึกทางเพศอย่างรุนแรง ความอยากทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศ ที่เกิดซ้ำ ๆ โดยทั่วไปเกี่ยวกับ"[19]

  1. วัตถุที่ไม่เกี่ยวกับมนุษย์
  2. การได้รับทุกข์หรือการถูกทำให้อับอาย ของตนเองหรือของคู่ (BDSM)
  3. เด็ก
  4. คนที่ไม่ยินยอม

รักร่วมเพศหรือรักแบบไม่ต่างเพศ

รักร่วมเพศครั้งหนึ่งจัดว่าเป็นความวิปริตทางเพศ[20]โดยเฉพาะต่อประสาทแพทย์ ดร.ซิกมุนด์ ฟรอยด์ และนักจิตวิเคราะห์ต่อ ๆ มา ที่พัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับรักร่วมเพศและกามวิปริตอื่น ๆ[21]ดังนั้น ในหมู่ชาวตะวันตกจึงมีคำอื่น ๆ ที่ใช้กล่าวถึงความวิปริตทางเพศ (เช่น sexual perversion, pervert) โดยหมายถึงชายรักร่วมเพศ หรือบุคคลอื่น ๆ ที่มีรสนิยมทางเพศที่ไม่นับว่าปกติ[20][21][22][23][24]

โดยกลางคริตส์ศตวรรษที่ 20 แพทย์พยาบาลเกี่ยวกับสุขภาพจิตเริ่มจัดหมวดหมู่กามวิปริตโดยเป็นเพศสภาพที่เบี่ยงเบน (deviant sexuality)มีหมายเลขเริ่มต้นเป็น 000-x63 ใน DSM โดยมีรักร่วมเพศอยู่ในอันดับแรก (หมายเลข 302.0) จนกระทั่งสมาคมจิตเวชศาสตร์อเมริกัน (APA) ถอนรักร่วมเพศออกจากความเป็นโรคที่วินิจฉัยในคู่มือในปี ค.ศ. 1974จิตแพทย์ผู้ชำนาญในโรคกามวิปริตกล่าวว่า "ความผิดปกติทางเพศหลายอย่างที่ครั้งหนึ่งพิจารณาว่าเป็นโรคกามวิปริต (เช่น รักร่วมเพศ) เดี๋ยวนี้พิจารณาว่า เป็นความแตกต่างทางเพศสภาพที่ปกติ"[22]

งานศึกษาวรรณกรรมปี ค.ศ. 2012 ของนักจิตวิทยาที่รักษาคนไข้คนหนึ่งพบว่า รักร่วมเพศต่างจากโรคกามวิปริตต่าง ๆ มากพอที่จะพิจารณาว่าไม่ใช่แนวคิดเรื่องเดียวกัน[23][24]

ใกล้เคียง

โรคกามวิปริต โรคกาฬม่วง โรคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร โรคอารมณ์สองขั้ว โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคเกาต์ โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง โรคคาวาซากิ โรคพาร์คินสัน โรคกุ้งตายด่วน

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคกามวิปริต http://0-search.ebscohost.com.mercury.concordia.ca... http://0-download.springer.com.mercury.concordia.c... http://www.behavenet.com/capsules/disorders/paraph... http://download.journals.elsevierhealth.com/pdfs/j... http://abcnews.go.com/Politics/wireStory?id=106660... http://web.me.com/gregdeclue/Site/Volume_2__2010_f... http://connect.customer.mheducation.com/products/c... http://www.psychiatrictimes.com/articles/psychopat... http://www.psychiatrictimes.com/display/article/10... http://psyweb.com/Mdisord/DSM_IV/jsp/Axis_I.jsp