โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ
โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ

โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ

โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ (อังกฤษ: Creutzfeldt-Jakob disease, CJD) เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบเจอได้ยาก และนับว่าเป็นโรคสมองที่เป็นรูพรุนสามารถติดต่อได้ (Transmissible spongiform encephalopathy) โรคนี้ถูกกล่าวครั้งแรกโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมัน Hans Gerhard Creutzfeldt ในปีพ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) และต่อมาโดย Alfons Maria Jakob อาการที่พบในระยะแรกมีลักษณะคล้ายภาวะสมองเสื่อม เช่นการสูญเสียความจำ การเปลื่ยนแปลงทางพฤติกรรม มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวและการมองเห็น ส่วนใหญ่อาการของโรคนี้จะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 1 ปีหลังได้รับการวินิจฉัยผู้ป่วยร้อยละ 70 เสียชีวิตลง [1]สาเหตุของโรคเกิดจากโปรตีนพรีออน ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีนปกติให้เป็นรูปแบบก่อโรค ลักษณะของโรคจะแบ่งออกเป็นสามประเภทคือณ ตอนนี้ยังไม่มีหนทางรักษาโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ มีเพียงแต่ยาระงับปวด เช่น โอปิออยด์ และยากันชัก เช่น คโลนะเซแพม ที่สามารถบรรเทาอาการของโรคนี้ได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคเดียวกันกับโรควัวบ้า (boline spongiform encephalopathy) [1]

ใกล้เคียง

โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ โรคคริสต์มาส โรคใคร่เด็ก โรคกรดไหลย้อน โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง โรคริดสีดวงทวาร โรคพร่องเอนไซม์ G-6-PD โรคคาวาซากิ โรคคูรู