การรักษา ของ โรคคาวาซากิ

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคคาวาซากิ ควรจะเป็นการดูแลร่วมกันระหว่างกุมารแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจเด็ก พบว่าการบำบัดโดยการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน Intravenous gammaglobulin (IVIg)[20][21] ในขนาดสูงสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจของผู้ป่วย โดยให้ในขนาด 2 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ครั้งเดียว ในกรณีที่ไข้ไม่ลงใน 48 ชั่วโมง สามารถให้ซ้ำได้อีกครั้ง และให้แอสไพริน 80-100 มก./กก. ในระยะเฉียบพลันของโรค และลดเป็น 5 มก./กก. ต่อวัน อีก 6-8 สัปดาห์

แนวทางการให้การรักษา

  1. แกมมา โกลบูลิน (Gamma globulin) ร่วมกับยากลุ่มซาลิไซเลต (Salicylates)[22]
  2. ยาลดไข้และลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจและผนังหลอดเลือด
  3. ยาป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เพื่อลดอุบัติการของเส้นเลือดอุดตัน
  4. ให้สารภูมิต้านทาน เพื่อลดอุบัติการณ์การการเกิดการโป่งพองและการอักเสบของหลอดเลือดโคโรนารี
  5. IVIg (intravenous gammaglobulin) เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนทางหลอดเลือดหัวใจ โดยจะให้ผลดีมาก ในระยะ 10 วันแรกของโรค (ยามีราคาสูงมาก)

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคคาวาซากิ http://www.diseasesdatabase.com/ddb7121.htm http://www.elib-online.com/doctors2/child_kawasaki... http://www.emedicine.com/article/topic965367.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=446.... http://reference.medscape.com/calculator/kawasaki-... http://www.merck.com/mmpe/sec19/ch286/ch286d.html http://id.loc.gov/authorities/subjects/sh87004913 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2687814 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7057818 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10392592