การวินิจฉัย ของ โรคคาวาซากิ

Angiography showing ectatic LAD, with largest aneurysm = 6.5 mm in diameter

โรคคาวาซากิวินิจฉัยจากอาการและอาการแสดงทางคลินิกร่วมกับผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ยังไม่มีการตรวจทางห้องปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งที่จำเพาะต่อโรคนี้[8] การวินิจฉัยโรคนี้ให้ทันเวลาจึงต้องอาซัยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด[16] ซึ่งอาจทำได้ยากโดยเฉพาะในช่วงต้นของการดำเนินโรค ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้รับการวินิจฉัยแม้ไปรับบริการที่สถานพยาบาลมาแล้วหลายแห่ง มีโรคอื่นๆ อีกหลายโรคที่มีอาการคล้ายกันและเป็นโรคร้ายแรงที่ต้องถูกนำมารวมอยู่ในการวินิจฉัยแยกโรค เช่น ไข้ดำแดง กลุ่มอาการช็อกจากพิษ ข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก และภาวะพิษจากปรอท[17]

อาการตามแบบฉบับในการวินิจฉัยโรคคาวาซากิคือ มีไข้ห้าวันขึ้นไป[18] และมีอาการตามเกณฑ์วินิจฉัยต่อไปนี้อย่างน้อย 4 จาก 5 ข้อ ได้แก่[19]

  1. ริมฝีปากหรือช่องปากแดง หรือริมฝีปากแตก
  2. มีผื่นตามตัว
  3. มือเท้าบวมหรือแดง
  4. ตาแดง
  5. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต ขนาดไม่ต่ำกว่า 15 มิลลิเมตร

มีผู้ป่วยโรคคาวาซากิจำนวนมากโดยเฉพาะที่เป็นเด็กเล็กไม่ได้แสดงอาการครบตามเกณฑ์ในช่วงแรก ปัจจัยผู้เชี่ยวชาญส่วนหนึ่งแนะนำให้เริ่มการรักษาโรคคาวาซากิไปเลยในผู้ป่วยที่มีเกณฑ์วินิจฉัย 3 ข้อ และมีไข้มา 3 วัน โดยเฉพาะในรายที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เข้าได้กับโรคคาซากิ นอกจากนี้แล้วยังอาจวินิจฉัยโดยการตรวจเจอหลอดเลือดหัวใจโป่งพองได้อีกทาง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคคาวาซากิ http://www.diseasesdatabase.com/ddb7121.htm http://www.elib-online.com/doctors2/child_kawasaki... http://www.emedicine.com/article/topic965367.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=446.... http://reference.medscape.com/calculator/kawasaki-... http://www.merck.com/mmpe/sec19/ch286/ch286d.html http://id.loc.gov/authorities/subjects/sh87004913 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2687814 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7057818 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/10392592