การรักษา ของ โรคจอตามีสารสี

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคให้หาย แม้จะมีการตรวจสอบประสิทธิผลและความปลอดภัยของวิธีการรักษาต่าง ๆ อยู่ประสิทธิภาพของอาหารเสริมต่าง ๆ เช่น วิตามินเอ, กรดไขมัน docosahexaenoic acid (DHA) และ Lutein เพื่อชะลอโรคยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ แต่ก็เป็นทางเลือกในการรักษา[32][33]การทดลองทางคลินิกที่ตรวจสอบอุปกรณ์ฝังที่จอตา/เรตินาเทียม (optic prosthetic device), การบำบัดด้วยยีน (gene therapy) และการผ่าตัดเปลี่ยนจอตา (retinal sheet transplantation) เป็นเรื่องที่กำลังศึกษาเพื่อคืนการเห็นเป็นบางส่วนให้แก่คนไข้โรคอาร์พี[34]

วิตามิน A ในรูปแบบ Palmitate

งานวิจัยปี 1993 ของศาสตราจารย์จักษุวิทยาผู้หนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดแสดงว่า คนไข้บางพวกสามารถชะลอความเสื่อมของเซลล์รูปแท่งโดยทานวิตามินเอในรูปแบบของ vitamin A palmitate ประมาณ 15,000 หน่วยสากล (เท่ากับ 4.5 มิลลิกรัม) ต่อวัน[35]แม้จะไม่พบปัญหาความปลอดภัยเมื่อใช้วิตามินเอในระดับสูงในช่วงระยะงานวิจัย แต่ความปลอดภัยระยะยาวก็ยังไม่ชัดเจน เพราะการใช้วิตามินเอในระดับนี้อาจมีผลข้างเคียงหลายอย่างและจัดว่า สามารถก่อความผิดปกติทางพัฒนาการ (teratogenic) อนึ่ง บทความปริทัศน์ปี 2004 สรุปว่า

งานวิจัยและข้อแนะนำ (ของศาสตราจารย์ที่ว่า) นั้นยังมีข้อโต้แย้งอยู่ มีการเสนอว่า มีความจำเป็นต้องมีหลักฐานพิสูจน์ว่า มีประโยชน์ที่กว้างขวางยิ่งกว่านี้ ก่อนที่จะแนะนำการใช้วิตามินเอสำหรับอาร์พี[36]

งานวิจัยของศาสตราจารย์คนเดียวกันปี 2007 แสดงว่าการใช้วิตามินเอที่เหมาะสมสำหรับคนไข้ในบางระยะของโรคบางรูปแบบสามารถชะลอการตาบอดได้ถึง 10 ปี โดยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในอัตรา 10% ต่อปีให้เป็น 8.3% ต่อปี[37]

เรตินาเทียม

อุปกรณ์ฝังในตา/เรตินาเทียม Argus II retinal prosthesis เป็นวิธีการรักษาโรคแรกที่ได้รับอนุมัติในเดือนกุมภาพันธ์ 2011 ปัจจุบันมีใช้รักษาในประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร[38]ผลในระหว่างที่ได้จากคนไข้ 30 คนในการทดลองระยะยาวได้เผยแพร่ในปี 2012[39]

ต่อมาปี 2013 องค์การอาหารและยาสหรัฐจึงได้อนุมัติให้ใช้การรักษานี้ในสหรัฐอเมริกา[40]อุปกรณ์อาจช่วยคนไข้โรคอาร์พีผู้ใหญ่ที่เสียการเห็นรูปร่างและการเคลื่อนไหวเพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันและช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น แม้คนไข้จะเห็นได้ชัดเจนที่สุดในระดับ 20/1260 เท่านั้น[41] ซึ่งยังจัดว่าบอดอยู่ทั้งโดยองค์การอนามัยโลกและประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนมิถุนายน 2013 รพ. 12 แห่งในสหรัฐประกาศว่าจะเริ่มรับคนไข้โรคอาร์พีที่สนใจจะใช้อุปกรณ์ที่จะเริ่มวางตลาดในปลายปีนั้น[42]ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์อยู่ที่ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.7 ล้านบาท) โดยไม่รวมค่าผ่าตัดหรือค่าฝึกใช้อุปกรณ์[43][44]

ส่วนอุปกรณ์ Alpha-IMS เป็นไมโครชิปบันทึกภาพที่สามารถผ่าตัดฝังใต้รอยบุ๋มจอตา (fovea)แต่เพื่อศึกษาว่าอุปกรณ์สามารถทำให้เห็นดีขึ้นหรือไม่ ผู้ผลิตจำต้องแสดงความปลอดภัยของอุปกรณ์ก่อนทำการทดลองทางคลินิกและอนุมัติให้วางตลาด[45]โดยค่าอุปกรณ์และการผ่าตัดจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 ยูโร (ประมาณ 4.1 ล้านบาท)[46]

การบำบัดด้วยยีน (gene therapy)

ส่วนเป้าหมายของการศึกษาเรื่องการบำบัดด้วยยีน (gene therapy) ก็คือเพื่อเสริมเซลล์จอตาอันแสดงออกยีนที่กลายพันธุ์ซึ่งสัมพันธ์กับฟีโนไทป์ของโรคด้วยยีนที่ดีเพื่อให้เซลล์รับแสงสามารถซ่อมแซมตนเองและทำงานได้อย่างถูกต้องด้วยข้อมูลที่ได้จากยีนที่ดีการทดลองทางคลินิกที่ใส่ยีน RPE65 ปกติในจอตาที่แสดงออกฟีโนไทป์โรคอาร์พีแบบ LCA2 (Leber's congenital amaurosis) พบว่าทำให้เห็นดีขึ้นได้เล็กน้อยแต่เซลล์รับแสงก็ยังเสื่อมในอัตราปกติของโรค[47]การบำบัดด้วยยีนน่าจะช่วยรักษาเซลล์จอตาที่ยังดีอยู่ แต่ไม่สามารถซ่อมความเสียหายต่อเซลล์รับแสงที่สั่งสมมาก่อน ๆ ได้[34]โดยทฤษฎีแล้ว การตอบสนองรับการบำบัดด้วยยีนน่าจะดีต่อคนไข้วัยเยาว์ที่โรคมีระยะการดำเนินสั้นที่สุดเพราะมีโอกาสช่วยเซลล์ให้พ้นโรคด้วยยีนที่ใส่เข้าไปมากที่สุด[48]

ในปี 2017 องค์การอาหารและยาสหรัฐอนุมัติการบำบัดด้วยีนที่เรียกว่า Luxturna เพื่อรักษาคนไข้ที่จอตาฝ่อ (retinal dystrophy) เนื่องกับการกลายพันธุ์ของยีน RPE65[49]ค่ารักษาอยู่ที่ 850,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 27.5 ล้านบาท) สำหรับตาทั้งสองข้างเมื่อต้นปี 2018[50]

ใกล้เคียง

โรคจอตามีสารสี โรคจอตาเหตุเบาหวาน โรคที่จอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิต โรคจิตเภท โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ โรคอัลไซเมอร์ โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจอตามีสารสี http://www.abstractsonline.com/Plan/ViewAbstract.a... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11429.htm http://rpsiam.doctorsomkiat.com/ http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=362.... http://cdn.intechopen.com/pdfs-wm/17267.pdf http://inventorspot.com/articles/lightningfast_vis... http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/13062... http://www.stemcellsfreak.com/2012/12/experiments-... http://onlinelibrary.wiley.com/store/10.1046/j.139... http://newsroom.cumc.columbia.edu/blog/2012/12/20/...