งานวิจัย ของ โรคจอตามีสารสี

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การเจริญเรตินาขึ้นมาทดแทน

การรักษาในอนาคตอาจรวมการผ่าตัดเปลี่ยนจอตา การใช้จอตาเทียม[57]การบำบัดด้วยยีน (gene therapy) การบำบัดด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาหารเสริม และ/หรือยารักษา

ในปี 2006 นักวิจัยชาวอังกฤษได้ปลูกเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้พัฒนาการมาจนถึงระยะสุดท้ายพร้อมที่จะกลายเป็นเซลล์รับแสง เข้าในตาของหนูที่ได้เปลี่ยนพันธุกรรมให้มีอาการเลียนโรคอาร์พีและโรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อมของมนุษย์แล้วพบว่า เซลล์รับแสงเช่นนี้ได้พัฒนาการแล้วเชื่อมต่อกับเซลล์ประสาทในจอตาของหนู ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการคืนสภาพสายตาเพราะก่อนหน้านี้ได้เชื่อว่า จอตาที่พัฒนาสมบูรณ์แล้วไม่สามารถฟื้นฟูซ่อมแซมได้งานวิจัยนี้อาจทำให้สามารถปลูกฝังเซลล์เช่นนี้ในมนุษย์ในอนาคตได้[58]

ในปี 2008 นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่สถาบันชีววิทยาศาสตร์โอซากะ (Osaka Bioscience Institute) ได้ค้นพบโปรตีนที่ตั้งชื่อว่า Pikachurin ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าอาจนำไปสู่วิธีการรักษาโรคอาร์พี[59][60]

ในปี 2008 มีความพยายามที่จะเชื่อมการแสดงออกของยีน FAM46A กับโรค[61]

ในปี 2010 การรักษาด้วยยีนวิธีหนึ่งดูเหมือนจะได้ผลในหนู[62]

ในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้แสดงกับสัตว์ตัวแบบว่า การรักษาด้วยยีน (gene therapy) และการรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิดแบบ induced pluripotent stem cell อาจเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้เพื่อรักษาโรคในอนาคต[63][64]

ในปี 2012 นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันจักษุแบสคอมปาลเมอร์ (Bascom Palmer Eye Institute) แห่งมหาวิทยาลัยไมแอมีได้แสดงการป้องกันรักษาเซลล์รับแสงในสัตว์ตัวแบบเมื่อฉีด mesencephalic astrocyte-derived neurotrophic factor (MANF) เข้าไปในตา[65][66]

ในปี 2014 นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ได้คืนสภาพการเห็นของหนูตาบอดโดยใช้ photoswitch ที่เริ่มการทำงานของ retinal ganglion cell ในสัตว์ที่มีเซลล์รับแสง (ทั้งรูปแท่งและรูปกรวย) เสียหาย[67]

งานศึกษาปี 2015 ที่ศูนย์การแพทย์ซีดาร์ส-ซีนาย (Cedars-Sinai Medical Center) ในนครลอสแอนเจลิสแสดงว่า ยีน CRISPR/Cas9 สามารถใช้รักษาหนูที่มีโรคซึ่งสืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่น[68][69]

ในปี 2016 บริษัท RetroSense Therapeutics มีแผนจะฉีดไวรัสที่มีดีเอ็นเอของสาหร่ายไวแสงเข้าไปในตาของคนตาบอดเนื่องกับโรคอาร์พีหลายคน โดยเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐถ้าประสบความสำเร็จ ก็จะเห็นเป็นขาวดำ[70][71]

ใกล้เคียง

โรคจอตามีสารสี โรคจอตาเหตุเบาหวาน โรคที่จอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิต โรคจิตเภท โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ โรคอัลไซเมอร์ โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจอตามีสารสี http://www.abstractsonline.com/Plan/ViewAbstract.a... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11429.htm http://rpsiam.doctorsomkiat.com/ http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=362.... http://cdn.intechopen.com/pdfs-wm/17267.pdf http://inventorspot.com/articles/lightningfast_vis... http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/13062... http://www.stemcellsfreak.com/2012/12/experiments-... http://onlinelibrary.wiley.com/store/10.1046/j.139... http://newsroom.cumc.columbia.edu/blog/2012/12/20/...