เหตุ ของ โรคจอตามีสารสี

โรคอาจจะเป็น

  1. Nonsyndromic คือเกิดโดยลำพังโดยไม่พบอาการอื่น ๆ
  2. Syndromic คือพบกับความผิดปกติของการรับความรู้สึกทางประสาทอื่น ๆ, กับความผิดปกติทางพัฒนาการ หรือกับอาการที่ซับซ้อนอื่น ๆ
  3. เกิดเป็นอาการทุติยภูมิ (secondary) ของโรคทั่วร่างกายอื่น ๆ[10]

อนึ่ง

  • อาร์พีเมื่อเกิดกับหูหนวก (ไม่ว่าจะแต่กำเนิดหรือค่อย ๆ เป็น) เรียกว่า Usher syndrome[11]
  • กลุ่มอาการอัลพอร์ตที่สัมพันธ์กับอาร์พี เป็นโรคความผิดปกติที่ basement membrane ของ glomerulus ซึ่งทำให้มีอาการไตเสื่อม โรคจะสืบทอดแบบ X-linked dominant
  • อาร์พีเมื่อเกิดกับอัมพาตกล้ามเนื้อตา (ophthalmoplegia), การกลืนลำบาก (dysphagia), ภาวะกล้ามเนื้อเสียสหการ (ataxia) และความผิดปกติการนำไฟฟ้าที่หัวใจ จะพบในคนไข้ Kearns-Sayre syndrome หรือ Ragged Red Fiber Myopathy โดยเป็นความผิดปกติทางดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรีย
  • อาร์พีเมื่อเกิดกับปัญญาอ่อน, โรคเส้นประสาทนอกประสาทกลาง (peripheral neuropathy), acanthotic (spiked) RBCs คือเม็ดเลือดแดงที่มีเยื่อหุ้มเซลล์ยื่นออกเป็นหนาม, steatorrhea คือภาวะไขมันเกินในอุจจาระ และการขาดลิโพโปรตีนหนาแน่นต่ำมาก (VLDL) จะพบในคนไข้ abetalipoproteinemia ซึ่งเป็นภาวะขัดขวางการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมันจากอาหาร[12]
  • ในทางคลินิก อาร์พีเกิดกับความผิดปกติของยีนที่มีน้อยหลายอย่าง รวมทั้งโรคกล้ามเนื้อเจริญผิดเพี้ยน (muscular dystrophy) และ chronic granulomatous disease โดยเป็นส่วนของ McLeod syndrome นี่เป็นฟิโนไทป์แบบ X-linked recessive ปรากฏเป็นการขาดโปรตีน XK ที่ผิวเซลล์อย่างสิ้นเชิง และดังนั้น จึงมีการเแสดงออกของแอนติเจนแบบ Kell น้อยมากที่เม็ดเลือดแดง เมื่อต้องถ่ายเลือด คนไข้เหล่านี้จึงมีเลือดที่จัดว่าไม่เข้ากับผู้บริจาคเลือดปกติ และผู้บริจาคเลือด K0/K0 โดยสิ้นเชิง
  • โรคที่สัมพันธ์กับการทำงานน้อยผิดปกติของอัณฑะหรือรังไข่ (hypogonadism) ทำให้พัฒนาการอย่างล่าช้า และสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive) จะพบในคนไข้โรค Bardet-Biedl syndrome เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมเกี่ยวกับซีเลียของเซลล์และมีผลต่อระบบต่าง ๆ หลายอย่างในร่างกาย[13]

ภาวะอื่น ๆ ที่อาจมีอาการอาร์พีรวมทั้งซิฟิลิสระบบประสาท (neurosyphilis), โรคติดเชื้อท็อกโซพลาสมา (toxoplasmosis) และโรคติดเชื้ออะแคนตามีบา (Refsum's disease)

พันธุศาสตร์

โรคอาร์พีเป็นโรคจอตาเสื่อมอันสืบทอดทางพันธุกรรมซึ่งสามัญที่สุด[7]และปรากฏเป็นความสูญเสียเซลล์รับแสงที่ลุกลาม และอาจจะทำให้ตาบอดได้โดยที่สุด[14]

มียีนหลายยีนที่เมื่อกลายพันธุ์ อาจเป็นเหตุของโรค[15]รูปแบบการสืบทอดทางพันธุกรรมของโรครวมทั้งทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant), ทายกรรมลักษณะด้อย (autosomal recessive), X-linked, สืบจากแม่ (โดยไมโทคอนเดรีย) โดยจะขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์ของยีนอาร์พีที่มีในพ่อแม่[16]

ในปี 1989 นักวิจัยได้พบการกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซิน (rhodopsin) ซึ่งเป็นสารสี (pigment) ที่จำเป็นในการถ่ายโอนแสงที่รับทางตาให้เป็นกระแสประสาท (visual transduction cascade) เพื่อให้เห็นในที่สลัวยีนนี้เข้ารหัสโปรตีนหลักชนิดหนึ่งที่ส่วนนอก (outer segment) ของเซลล์รับแสงการกลายพันธุ์ของยีนที่สามัญที่สุดเป็น missense mutation[upper-alpha 1]หรือการพับตัวผิดปกติ (misfolding) ของโปรตีนโรด็อปซิน และปกติจะสืบทอดทางพันธุกรรมในรูปแบบทายกรรมลักษณะเด่น (autosomal dominant)ตั้งแต่ได้ค้นพบยีนนี้ (มีสัญลักษณ์ RHO) ก็ได้ค้นพบการกลายพันธุ์ของยีนถึง 100 รูปแบบ ซึ่งเป็นเหตุของจอตาเสื่อม (retinal degeneration) รูปแบบต่าง ๆ ถึง 15% และเป็นเหตุของอาร์พีที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นถึง 25%[7][17]

ในปี 1990 มีการค้นพบการกลายพันธุ์ Pro23His ของยีนอ็อปซิน (opsin) เบสเดียวที่ intradiscal domain ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอาร์พี และจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ได้มีการระบุการกลายพันธุ์ของยีนกว่า 150 อย่างการกลายพันธุ์เหล่านี้พบทั่วยีนอ็อปซินโดยกระจายไปตามโดเมน 3 โดเมนของโปรตีน คือ intradiscal domain, transmembrane domain และ cytoplasmic domainเหตุทางชีวเคมีของโรคในกรณีที่ยีนโรด็อปซินกลายพันธุ์ก็คือการพับตัวผิดปกติของโปรตีน (protein misfolding) และการขัดการทำงานของ molecular chaperones ซึ่งช่วยในการพับโปรตีน[upper-alpha 2][18]

งานต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 ต่อ ๆ มาพบว่า การกลายพันธุ์ที่โคดอน (codon) 23 ในยีนโรด็อปซิน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนโปรลีน (proline) เป็นฮิสตาดีน (histidine) เป็นการกลายพันธุ์ของยีนโรด็อปซินซึ่งเกิดบ่อยที่สุดในสหรัฐงานวิจัยอื่น ๆ ได้รายงานการกลายพันธุ์ที่โคดอนอื่น ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับโรคอาร์พีรวมทั้ง Thr58Arg, Pro347Leu, Pro347Ser บวกกกับการหลุดหาย (deletion) ของยีน Ile-255[17][19][20][21][22]

ในปี 2000 การกลายพันธุ์ที่มีน้อยของโคดอน 23 ได้ระบุว่าก่อโรคโดยสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะเด่น และโปรลีนจะเปลี่ยนเป็นอะลานีน (alanine)แต่งานศึกษานี้ก็ได้แสดงว่า ความเสื่อมจอตาที่สัมพันธ์กับกลายพันธุ์นี้ค่อนข้างเบาทั้งโดยอาการและการลุกลามอนึ่ง แอมพลิจูดที่วัดโดย electroretinography จะดีกว่าที่พบในการกลายพันธุ์ Pro23His ที่มีมากกว่า[23]

การสืบทอดทางพันธุกรรมแบบทายกรรมลักษณะด้อยของโรคได้ระบุแล้วในยีนอย่างน้อย 45 ยีน[16]การสืบทอดเช่นนี้หมายความว่า พ่อแม่ที่เป็นพาหะของยีนกลายพันธุ์ที่ก่อโรคโดยมีสองอัลลีล (diallelic) อาจมีลูกที่เกิดโรค

ส่วนการกลายพันธุ์ของยีนแบบ USH2A รู้ว่าเป็นเหตุของโรคแบบเกิดกับอาการอื่น (syndromic) ที่รู้จักว่า Usher's Syndrome โดยจะสืบทอดแบบทายกรรมลักษณะด้อย[24]

การกลายพันธุ์ของ pre-mRNA splicing factors ถึง 4 แบบรู้แล้วว่าเป็นเหตุของโรคที่สืบทอดแบบทายกรรมลักษณะเด่นการกลายพันธุ์รวมทั้ง PRPF3 (PRPF3 ของมนุษย์ก็คือ HPRPF3 หรือ PRP3), PRPF8, PRPF31 และ PAP1เพราะแฟกเตอร์มีการแสดงออกอย่างแพร่หลาย จึงเสนอว่าความบกพร่องของแฟกเตอร์ที่แพร่หลาย (คือโปรตีนที่แสดงออกทุกหนทุกแห่ง) เช่นนี้แต่เป็นเหตุของโรคภายในจอตาเท่านั้น เพราะโรด็อปซินในเซลล์รับแสงจำเป็นต้องอาศัยฤทธิ์ของแฟกเตอร์มากกว่าที่อื่น ๆ[25]

การกลายพันธุ์ของยีน 6 ยีนก่อโรคที่สืบทอดแบบ X-linked โดยที่สามัญสุดจะเกิดที่ตำแหน่ง (loci) โดยเฉพาะ ๆ ของยีน RPGR และ RP2[24]

รูปแบบของอาร์พีรวมทั้ง

OMIM ยีน รูปแบบ
180100 RP1 Retinitis pigmentosa-1
312600 RP2 Retinitis pigmentosa-2
300029 RPGR Retinitis pigmentosa-3
608133 PRPH2 Retinitis pigmentosa-7
180104 RP9 Retinitis pigmentosa-9
180105 IMPDH1 Retinitis pigmentosa-10
600138 PRPF31 Retinitis pigmentosa-11
600105 CRB1 Retinitis pigmentosa-12, ทายกรรมลักษณะด้อย
600059 PRPF8 Retinitis pigmentosa-13
600132 TULP1 Retinitis pigmentosa-14
600852 CA4 Retinitis pigmentosa-17
601414 HPRPF3 Retinitis pigmentosa-18
601718 ABCA4 Retinitis pigmentosa-19
602772 EYS Retinitis pigmentosa-25
608380 CERKL Retinitis pigmentosa-26
607921 FSCN2 Retinitis pigmentosa-30
609923 TOPORS Retinitis pigmentosa-31
610359 SNRNP200 Retinitis pigmentosa 33
610282 SEMA4A Retinitis pigmentosa-35
610599 PRCD Retinitis pigmentosa-36
611131 NR2E3 Retinitis pigmentosa-37
268000 MERTK Retinitis pigmentosa-38
268000 USH2A Retinitis pigmentosa-39
612095 PROM1 Retinitis pigmentosa-41
612943 KLHL7 Retinitis pigmentosa-42
268000 CNGB1 Retinitis pigmentosa-45
613194 BEST1 Retinitis pigmentosa-50
613464 TTC8 Retinitis pigmentosa 51
613428 C2orf71 Retinitis pigmentosa 54
613575 ARL6 Retinitis pigmentosa 55
613617 ZNF513 Retinitis pigmentosa 58
613861 DHDDS Retinitis pigmentosa 59
613194 BEST1 Retinitis pigmentosa, concentric
608133 PRPH2 Retinitis pigmentosa, digenic
613341 LRAT Retinitis pigmentosa, juvenile
268000 SPATA7 Retinitis pigmentosa, juvenile, ทายกรรมลักษณะด้อย
268000 CRX Retinitis pigmentosa, late-onset dominant
300455 RPGR Retinitis pigmentosa, X-linked, and sinorespiratory infections, อาจจหูหนวกหรือไม่

ใกล้เคียง

โรคจอตามีสารสี โรคจอตาเหตุเบาหวาน โรคที่จอตาในทารกคลอดก่อนกำหนด โรคอารมณ์สองขั้ว โรคจิต โรคจิตเภท โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ โรคอัลไซเมอร์ โรคจุดภาพชัดของจอตาเสื่อม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคจอตามีสารสี http://www.abstractsonline.com/Plan/ViewAbstract.a... http://www.diseasesdatabase.com/ddb11429.htm http://rpsiam.doctorsomkiat.com/ http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=362.... http://cdn.intechopen.com/pdfs-wm/17267.pdf http://inventorspot.com/articles/lightningfast_vis... http://www.sciencedaily.com/releases/2013/06/13062... http://www.stemcellsfreak.com/2012/12/experiments-... http://onlinelibrary.wiley.com/store/10.1046/j.139... http://newsroom.cumc.columbia.edu/blog/2012/12/20/...