โรคชิคุนกุนย่า
โรคชิคุนกุนย่า

โรคชิคุนกุนย่า

โรคชิคุนกุนย่า[5][6] (อังกฤษ: Chikungunya) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสชิคุนกุนย่า[3] (อังกฤษ: Chikungunya virus, CHIKV) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และปวดข้อ[2] โดยมักเริ่มมีอาการ 2-12 วันหลังได้รับเชื้อ[3] อาการอื่นที่อาจพบร่วมด้วยได้แก่ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ข้อบวม และมีผื่น เป็นต้น[2] อาการเหล่านี้มักดีขึ้นเองภายในหนึ่งสัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อได้อีกหลายเดือนหรือหลายปี[2][7] อัตราเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 1 ต่อ 1,000[4] โดยผู้ที่มีความเสี่ยงจะเกิดโรครุนแรงได้แก่ผู้ป่วยอายุน้อย อายุมาก และผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ[2]โรคนี้มียุงเป็นพาหะที่สำคัญ 2 ชนิด ได้แก่ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus)[3] ซึ่งมักออกดูดเลือดในเวลากลางวัน[8] สัตว์ที่เป็นแหล่งรังโรคตามธรรมชาติของเชื้อนี้มีหลายชนิดรวมไปถึงนกและหนูด้วย[3] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดหาสารพันธุกรรมหรือแอนติบอดีต่อไวรัส[3] อาการของโรคนี้คล้ายกันกับโรคไข้เลือดออกเดงกีและไข้ซิกา[3] ปัจจุบันเชื่อกันว่าผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ[2]วิธีป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการควบคุมยุงลายและการป้องกันไม่ให้ยุงกัด[4] อาจทำได้โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (ได้แก่ บริเวณที่มีน้ำขัง) ใช้ยาฆ่าแมลง และใช้มุ้ง[3] ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษาจำเพาะ[3] การรักษาทำโดยการรักษาตามอาการ ได้แก่ ให้พักผ่อน ให้สารน้ำ และยาแก้ปวดลดไข้[3][2]โรคนี้ส่วนใหญ่พบในแอฟริกาและเอเชีย แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมาก็พบระบาดปะทุเป็นครั้งๆ ในยุโรปและอเมริกาอยู่บ้าง[3] ใน ค.ศ. 2014 ทั่วโลกมีผู้ป่วยต้องสงสัยว่าเป็นโรคนี้มากกว่า 1 ล้านคน[3] ในสหรัฐเคยมีโรคนี้ระบาดในฟลอริดาและสหรัฐแผ่นดินใหญ่เมื่อ ค.ศ. 2014 แต่หลังจาก ค.ศ. 2016 เป็นต้นมาก็ไม่พบระบาดแล้ว[9][10] ต้นกำเนิดของไวรัสชิคุนกุนยามาจากทวีปแอฟริกา โดยพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2495 บริเวณตอนใต้ของประเทศแทนซาเนีย[3] ตั้งชื่อตามภาษามากอนดี ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของแอฟริกา แปลว่าทำตัวงอหรือโค้ง ตามอาการของผู้ป่วยที่อาจปวดข้อมากจนตัวงอ[3] ในประเทศไทยโรคชิคุนกุนยาถูกพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 โดยนายแพทย์ Prof.W McD Hamnon ได้ทำการแยกเชื้อจากผู้ป่วยในโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพฯ และมีการระบาดขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2519 ที่ จ.ปราจีนบุรี, ปี พ.ศ. 2531 ที่ จ.สุรินทร์, ปี พ.ศ. 2534 ที่ จ.ขอนแก่น , ปี พ.ศ. 2536 ที่ จ.เลย และพะเยา, ปี พ.ศ. 2538 ที่ จ.นครศรีธรรมราช และหนองคาย[11]

โรคชิคุนกุนย่า

อาการ ไข้, ปวดข้อ[2]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ
การออกเสียง
ระยะดำเนินโรค ส่วนใหญ่ไม่เกิน 1 สัปดาห์[2]
ความชุก > 1 ล้าน (2014)[3]
สาเหตุ ไวรัสชิคุนกุนย่า (CHIKV) มียุงลายเป็นพาหะ[3]
วิธีวินิจฉัย ตรวจเลือดหาสารพันธุกรรมหรือแอนติบอดี[3]
ภาวะแทรกซ้อน ปวดข้อเรื้อรัง[2]
การรักษา รักษาตามอาการ[3]
การตั้งต้น 2-12 วันหลังได้รับเชื้อ[3]
โรคอื่นที่คล้ายกัน ไข้เด็งกี, ไข้ซิกา[3]
พยากรณ์โรค อัตราคาย ~ 1 ใน 1,000[4]
การป้องกัน การควบคุมยุง, หลีกเลี่ยงไม่ให้ยุงกัด[4]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคชิคุนกุนย่า http://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S0161-... http://www.oxfordlearnersdictionaries.com/us/defin... http://static.trueplookpanya.com/hash_cmsblog/2018... http://cns.miis.edu/research/cbw/possess.htm http://www.ecdc.europa.eu/en/Health_topics/Chikung... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11304054 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15891138 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16700631 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17505252 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17554689