การวินิจฉัย ของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา_2019

การสาธิตการกวาดคอหอยส่วนจมูกเพื่อตรวจโควิด-19 ชุดทดสอบ rRT-PCR สำหรับโควิด-19 ของซีดีซี[78]

WHO จัดพิมพ์เกณฑ์วิธีการทดสอบหลายเกณฑ์สำหรับโรค[79] วิธีการทดสอบมาตรฐาน คือ ปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสแบบย้อนกลับเรียลไทม์ (rRT-PCR)[80] ตรงแบบการทดสอบใช้กับตัวอย่างทางเดินหายใจที่ได้จากการกวาดคอหอยส่วนจมูก อย่างไรก็ดี อาจใช้การกวาดจมูกหรือตัวอย่างเสมหะได้[20][81] โดยทั่วไปจะทราบผลในไม่กี่ชั่วโมงถึงสองวัน[82][83] สามารถใช้การทดสอบเลือดได้ แต่ต้องใช้ตัวอย่างเลือดสองตัวอย่างแยกกันและเก็บห่างกันสองสัปดาห์ และผลลัพธ์ที่ได้มีคุณค่าทันทีน้อย[84] นักวิทยาศาสตร์จีนสามารถแยกสายพันธุ์ของไวรัสโคโรนาและจัดพิมพ์ลำดับพันธุกรรมเพื่อให้ห้องปฏิบัติการทั่วโลกสามารถพัฒนาการทดสอบปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) ได้อย่างอิสระเพื่อตรวจหาการติดเชื้อไวรัส ณ วันที่ 4 เมษายน 2563 การทดสอบแอนติบอดี (ซึ่งอาจตรวจพบการติดเชื้อที่กำลังดำเนินอยู่ และว่าบุคคลนั้นเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่) กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่ยังไม่มีใช้แพร่หลาย[85][86][87] ประสบการณ์การทดสอบของจีนแสดงให้เห็นว่ามีความแม่นยำเพียง 60 ถึง 70%[88] องค์การอาหารและยาในสหรัฐอนุมัติการทดสอบข้างเตียงครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2563 สำหรับใช้ในปลายเดือนนั้น[89]

แนวทางการวินิจฉัยที่ออกโดยโรงพยาบาลจงหนาน มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น แนะนำวิธีการตรวจหาการติดเชื้อตามลักษณะทางคลินิกและความเสี่ยงทางวิทยาการระบาด สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการระบุตัวผู้ที่มีอาการต่อไปนี้อย่างน้อยสองอาากร ร่วมกับมีประวัติเดินทางไปอู่ฮั่นหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อรายอื่น ได้แก่ ไข้ ภาพถ่ายรังสีที่เข้าได้กับปอดบวม จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวปกติหรือต่ำ หรือมีลิมโฟไซต์ต่ำ[90]

การศึกษาหนึ่งให้ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลไอลงในภาชนะปลอดเชื้อเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำลาย และตรวจพบไวรัสในผู้ป่วยสิบเอ็ดจากสิบสองรายโดยใช้ RT-PCR เทคนิคนี้มีศักยภาพเร็วกว่าการกวาดและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขน้อยกว่า (เก็บที่บ้านหรือในรถ)[62]

ร่วมกับการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ ซีทีสแกนหน้าอกอาจเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโควิด-19 ในปัจเจกที่มีความสงสัยทางคลินิกสูงต่อการติดเชื้อ แต่ไม่แนะนำสำหรับเป็นการตรวจคัดโรครูทีน[21][22] รอยทึบแบบกระจกฝ้าในปอดหลายกลีบสองข้าง กับทั้งการกระจายแบบรอบนอก อสมมาตรและด้านหลัง (bilateral multilobar ground-glass opacities with a peripheral, asymmetric and posterior distribution) พบทั่วไปในการติดเชื้อระยะต้น[21] ส่วนการพบมากในชั้นใต้เยื่อหุ้มปอด "crazy paving" (การหนาตัวของผนังกั้นกลีบย่อยโดยมีน้ำอยู่ในถุงลมมากน้อยต่างกัน) และรอยทึบ (consolidation) อาจปรากฏขึ้นเมื่อโรคดำเนินไป[21][91]

ปลายปี 2562 WHO กำหนดรหัสโรคฉุกเฉิน ICD-10 U07.1 สำหรับการเสียชีวิตจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ห้องปฏิบัติการยืนยันแล้ว และ U07.2 สำหรับการเสียชีวิตจากโตวิด-19 ที่วินิจฉัยทางคลินิกหรือวิทยาการระบาดโดยไม่มีการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ห้องปฏิบัติการยืนยัน[92]

พยาธิวิทยา

มีข้อมูลเกี่ยวกับรอยโรคทางกล้องจุลทรรศน์และพยาธิสรีรวิทยาของโควิด-19 น้อย[93][94] ข้อค้นพบทางพยาธิวิทยาหลักในการชันสูตรพลิกศพ ได้แก่

  • เห็นได้ด้วยตาเปล่า : เยื่อหุ้มปอดอักเสบ, เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ, รอยทึบในปอด และปอดบวมน้ำ
  • สังเกตพบความรุนแรงของโรคปอดบวมเหตุไวรัสสี่ประเภท:
    • ปอดบวมเล็กน้อย : สิ่งซึมเยิ้มข้นใส (serous exudation) เล็กน้อย, สิ่งซึมเยิ้มข้นไฟบรินเล็กน้อย
    • ปอดบวมแบบเบา: ปอดบวมน้ำ, การเจริญเกินของเซลล์ปอด, เซลล์ปอดนอกแบบขนาดใหญ่, การอักเสบแทรก (interstitial) โดยมีการแทรกซึมของลิมโฟไซต์และมีการก่อตัวของเซลล์ยักษ์หลายนิวเคลียส
    • ปอดบวมรุนแรง: การเสียหายของถุงลมแบบแผ่กระจาย (DAD) โดยมีสิ่งซึมเยิ้มข้นของถุงลมแบบแผ่กระจาย DAD เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (ARDS) และภาวะอ็อกซิเจนต่ำในเลือดอย่างรุนแรง
    • ปอดบวมที่กำลังหาย: การจัดระเบียบของสิ่งซึมเยิ้มข้นในโพรงถุงลมและภาวะเกิดพังผืดแทรกในปอด
    • มีพลาสมาเซลล์มากใน BAL[95]
  • เลือด : ภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC);[96] ปฏิกิริยามีเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (leukoerythroblastic)[97]
  • ตับ : ไขมันพอกตับแบบถุงเล็ก

ใกล้เคียง

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคติดเชื้อโมโนนิวคลีโอซิส โรคติดเชื้อ โรคติดเชื้อบรูเซลลา โรคติดเชื้อลิชมาเนีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคติดเชื้อลิสเทอเรีย โรคติดเชื้ออุบัติใหม่ โรคติดเชื้อ (การแพทย์เฉพาะทาง) โรคติดเชื้อไวรัส

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา_2019 http://www.bccdc.ca/resource-gallery/Documents/Gui... http://weekly.chinacdc.cn/en/article/id/e53946e2-c... http://en.nhc.gov.cn/2020-02/07/c_76337.htm http://rs.yiigle.com/yufabiao/1181998.htm http://www.columbia.edu/~jls106/galanti_shaman_ms_... http://med.stanford.edu/content/dam/sm/id/document... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18478118 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20197533 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/22563403 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30463995