ประเภท ของ โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลไปทั่ว

ดูบทความหลักที่: โรควิตกกังวลไปทั่ว

โรควิตกกังวลไปทั่ว (Generalized anxiety disorder, GAD) เป็นโรคที่สามัญ เรื้อรัง กำหนดโดยความวิตกกังวลที่ดำรงอยู่นานโดยไม่ได้เพ่งไปที่เรื่องหรือสถานการณ์ใดโดยเฉพาะคนไข้กลัวและกังวลอย่างไม่เฉพาะเจาะจงและเป็นห่วงเรื่องชีวิตประจำวันมากเกินไปตามหนังสือจิตวิทยาเล่มหนึ่ง GAD "กำหนดโดยความกังวลมากเกินไปที่เรื้อรังตามด้วยอาการ 3 อย่างหรือมากกว่านั้นดังต่อไปนี้ คือ อยู่ไม่สุข ล้า ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด กล้ามเนื้อเกร็ง และมีปัญหาการนอน"[5]

GAD เป็นโรควิตกกังวลที่สามัญที่สุดต่อคนมีอายุ[6]แต่ว่า ความวิตกกังวลอาจเป็นอาการทางการแพทย์หรือปัญหาการใช้สารเสพติด และผู้รักษาพยาบาลต้องรู้ในเรื่องนี้GAD จะวินิจฉัยก็ต่อเมื่อบุคคลกังวลมากเกินไปเรื่องปัญหาชีวิตประจำวันเป็นเวลา 6 เดือนหรือมากกว่านั้น[7]

บุคคลอาจพบว่ามีปัญหาตัดสินใจและจำสิ่งที่วางแผนไว้ไม่ได้เนื่องจากไม่มีสมาธิหรือรู้สึกกังวลอย่างหมกมุ่น[8]:790คนไข้อาจจะดูเครียด เหงื่อออกเพิ่มขึ้นที่มือ เท้า และรักแร้[9]และอาจร้องไห้ง่าย ซึ่งแสดงว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้า[10]ก่อนจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค แพทย์จะกันความวิตกกังวลเหตุยาหรือเหตุทางแพทย์อื่น ๆ ออกก่อน[11]

ในเด็ก GAD อาจสัมพันธ์กับอาการปวดหัว อยู่ไม่สุข ปวดท้อง และหัวใจเต้นเร็ว[12]ซึ่งปกติแล้วจะเริ่มที่อายุประมาณ 8-9 ขวบ[12]

โรคกลัว

ดูบทความหลักที่: โรคกลัว

กลุ่มย่อยของโรควิตกกังวลที่ใหญ่ที่สุดอยู่ในจำพวกความผิดปกติจากความกลัว (phobic disorders) ซึ่งรวมกรณีที่ความกลัวและความวิตกกังวลทั้งหมดจุดชนวนโดยสิ่งเร้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะประชากรประมาณ 5%-12% ทั่วโลกมีโรคกลัว[7]คนไข้ปกติจะกังวลถึงผลน่ากลัวที่เกิดจากการประสบกับสิ่งที่ตนกลัว ซึ่งอาจเป็นอะไรก็ได้ตั้งแต่สัตว์ สถานที่ ของเหลวจากร่างกาย หรือสถานการณ์อะไรบางอย่างและจะเข้าใจว่า ตนกลัวมากโดยไม่สมกับอันตรายที่อาจมีจริง ๆ แต่ก็ยังรู้สึกกลัวอยู่ดี[8]

โรคตื่นตระหนก

ดูบทความหลักที่: โรคตื่นตระหนก

สำหรับโรคตื่นตระหนก คนไข้จะกลัวแบบรุนแรงแต่ชั่วคราว บ่อยครั้งพร้อมกับอาการสั่น สับสน เวียนหัว คลื่นไส้ และ/หรือหายใจไม่ออกการเกิดของ panic attack (การจู่โจมของความตื่นตระหนก) เช่นนี้ ดังที่ให้นิยามโดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) ว่าเป็นความกลัวหรือความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นทันทีทันใดและถึงจุดสูงสุดภายใน 10 นาที แต่สามารถดำรงอยู่ได้หลาย ชม.[13]การจู่โจมสามารถจุดชนวนโดยความเครียด ความกลัว หรือแม้แต่การออกกำลังกายเหตุโดยเฉพาะบางครั้งก็ไม่ชัดเจน

นอกจากจะเกิดการจู่โจมของความตื่นตระหนกที่ไม่คาดฝันและเกิดซ้ำ ๆ เกณฑ์วินิจฉัยยังบังคับว่าต้องมีผลเรื้อรังอีกด้วย คือ เป็นความกังวลถึงผลที่อาจตามมาของการจู่โจม ความกลัวอยู่ว่าจะเกิดอีก และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างสำคัญเกี่ยวกับการเกิดการจู่โจมโดยเช่นนี้ คนไข้โรคตื่นตระหนกจะมีอาการแม้นอกเหนือไปจากคราวที่มีการจู่โจมบ่อยครั้ง คนไข้จะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงการเต้นหัวใจที่เป็นปกติ แต่คิดว่า หัวใจของตนผิดปกติ หรือว่า ตนกำลังถูกจู่โจมด้วยความตื่นตระหนกในบางกรณี ความสำนึกที่สูงขึ้น (hypervigilance) เกี่ยวกับการทำงานของร่างกายจะเกิดขึ้นในระหว่างมีการจู่โจม ที่การเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพที่สำนึกถึงทุกอย่างอาจทำให้คิดว่าเป็นความเจ็บป่วยที่อาจทำให้ถึงชีวิต (คือมีอาการไฮโปคอนดริเอซิสแบบรุนแรง)

โรคกลัวที่โล่ง

ดูบทความหลักที่: อาการกลัวที่โล่ง

อาการกลัวที่โล่ง (Agoraphobia) เป็นความวิตกกังวลเรื่องอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่การหลบออกเป็นเรื่องยากหรือน่าอาย หรือว่าอาจไม่มีใครช่วยได้[14]อาการกลัวที่โล่งสัมพันธ์กับโรคตื่นตระหนก และบ่อยครั้งจะเริ่มด้วยความกลัวว่าจะมีการจู่โจมโดยการตื่นตระหนก (panic attack)ลักษณะที่สามัญก็คือต้องเห็นประตูหรือทางหนีอื่น ๆ ตลอดเวลา

นอกจากความกลัวแล้ว คำว่า agoraphobia บ่อยครั้งใช้หมายถึงพฤติกรรมหลีกเลี่ยงที่คนไข้บ่อยครั้งมี[15]ยกตัวอย่างเช่น หลังจากความตื่นตระหนกในขณะขับรถ บุคคลที่มี agoraphobia อาจกังวลเรื่องขับรถแล้วก็จะหลีกเลี่ยงการขับรถพฤติกรรมหลีกเลี่ยงเช่นนี้บ่อยครั้งมีผลเสียหายและเสริมความกลัวที่มีอยู่แล้ว

โรคกลัวการเข้าสังคม

ดูบทความหลักที่: โรคกลัวการเข้าสังคม

โรคกลัวการเข้าสังคม (Social anxiety disorder, SAD) เป็นความกลัวและการหลีกเลี่ยงอย่างรุนแรง ซึ่งการถูกมองในแง่ลบโดยสาธารณชน ความอับอายต่อหน้าคนอื่น การถูกทำให้ขายหน้า และปฏิสัมพันธ์ทางสังคมความกลัวอาจเป็นเฉพาะสถานการณ์ทางสังคมบางอย่าง (เช่น การพูดต่อหน้าสาธารณะ) หรือที่สามัญกว่าก็คือ การต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในสถานการณ์โดยมากหรือทั้งหมดความกังวลอาจปรากฏเป็นอาการทางกายโดยเฉพาะ ๆ รวมทั้งหน้าแดง เหงื่อออก และพูดไม่ออก

เหมือนกับโรคกลัวอื่น ๆ คนไข้โรคนี้จะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตนกังวลแต่ในกรณีนี้ นี่ค่อนข้างจะสร้างปัญหามาก และมีกรณีรุนแรงที่คนไข้ไม่ยอมพบกับใครเลย

ส่วน Social physique anxiety (SPA) เป็นแบบย่อยของโรคกลัวสังคมโดยคนไข้จะกังวลว่าคนอื่นพิจารณารูปร่างของตนว่าเป็นอย่างไร[16]SPA เป็นเรื่องสามัญสำหรับวัยรุ่น โดยเฉพาะเพศหญิง

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ

ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) เป็นโรควิตกกังวลที่เป็นผลของประสบการณ์สะเทือนใจซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรง เช่น การสู้รบ ภัยธรรมชาติ การถูกข่มขืน การถูกจับเป็นตัวประกัน ทารุณกรรมในวัยเด็ก การถูกเพื่อนข่มเหง และแม้แต่อุบัติเหตุที่รุนแรงนอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการเครียดรุนแรงเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน[17]ยกตัวอย่างเช่น มีทหารที่สามารถอดทนต่อการสู้รบเป็นครั้ง ๆ แต่ไม่สามารถรับมือกับการสู้รบอย่างต่อเนื่องอาการสามัญรวมทั้งระวังมากเกินไป (hypervigilance) การเห็นภาพย้อนหลัง (flashback) พฤติกรรมหลีกเลี่ยง ความวิตกกังวล ความโกรธ และความซึมเศร้า[18]

มีวิธีการรักษาพื้นฐานหลายอย่างสำหรับคนไข้ PTSD รวมทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) จิตบำบัด และความสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อน ๆ[7]งานวิจัยในเรื่อง PTSD เริ่มต้นที่ทหารผ่านศึกสงครามเวียดนาม และผู้เคราะห์ร้ายจากภัยต่าง ๆ รวมทั้งภัยธรรมชาติงานศึกษาพบว่า ระดับความรุนแรงที่ประสบในภัยพิบัติเป็นตัวพยากรณ์ PTSD ที่ดีที่สุด[19]

โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก

โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (Separation anxiety disorder, SepAD) เป็นความวิตกกังวลที่เกินควรและไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการจากบุคคลหรือสถานที่ความวิตกกังวลเช่นนี้เป็นเรื่องปกติในพัฒนาการของทารกหรือเด็ก และดังนั้น เมื่อความรู้สึกนี้เกิดเกินควรหรือไม่สมควรเท่านั้นจึงจะจัดว่าเป็นโรค[20]

โรคเกิดนี้เกิดกับผู้ใหญ่ประมาณ 7% และเด็ก 4% แต่ว่ากรณีเด็กมักจะรุนแรงกว่ายกตัวอย่างเช่น แม้แต่การจากกันอย่างสั้น ๆ อาจจะทำให้เกิดความตื่นตระหนก[21][22]

การรักษาเด็กตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยป้องกันปัญหาซึ่งอาจรวมการฝึกพ่อแม่และครอบครัวว่าควรจะรับมือกับมันอย่างไรเพราะว่า บ่อยครั้ง พ่อแม่จะเสริมความวิตกกังวลของเด็กเพราะไม่รู้ว่าควรจะช่วยเด็กอย่างไรนอกจากการฝึกเด็กและครอบครัวแล้ว ยาบางอย่าง เช่น SSRI สามารถใช้บำบัดความวิตกกังวลเช่นนี้[23]

ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์

ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ (Situational anxiety) มีเหตุจากการเกิดสถานการณ์ใหม่หรือเปลี่ยนไปหรืออาจเกิดจากเหตุการณ์หลาย ๆ อย่างที่ทำให้บุคคลนั้นไม่ชอบ ซึ่งเป็นเรื่องที่สามัญมากบ่อยครั้ง บุคคลจะประสบกับความตื่นตระหนก (panic attack) หรือความวิตกกังวลอย่างรุนแรงในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆและสถานการณ์เช่นนั้นอาจไม่ทำให้คนอื่นกังวลโดยประการทั้งปวง

ยกตัวอย่างเช่น บางคนอาจไม่ชอบที่ชุมชนหรือที่แคบ ๆ ดังนั้น การรอคิวในแถวแน่นยาว เช่นที่ธนาคารหรือที่ร้านค้า อาจจะทำให้กังวลอย่างรุนแรง หรือเกิดความตื่นตระหนก (panic attack)[24]คนอื่นอาจจะกังวลเมื่อชีวิตเปลี่ยนไปอย่างสำคัญ เช่น การเข้ามหาวิทยาลัย การแต่งงาน การมีลูก เป็นต้น

โรคย้ำคิดย้ำทำ

ดูบทความหลักที่: โรคย้ำคิดย้ำทำ

โรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) ไม่ได้จัดเป็นโรควิตกกังวลในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM-5) แต่จัดใน ICD-10และ DSM-4 รุ่นก่อนก็จัดว่าเป็นโรควิตกกังวลเหมือนกันเป็นภาวะที่บุคคลมีความย้ำคิด (คือความคิดหรือจินตภาพที่ทำให้กังวล คงยืน และไม่ต้องการ) และ/หรือพฤติกรรมย้ำทำ (รู้สึกให้ต้องทำอะไรหรือทำพิธีกรรมที่เฉพาะเจาะจงซ้ำ ๆ) ที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือโรคอื่น ๆ เป็นภาวะที่ทำให้เป็นทุกข์หรือมีปัญหาทางสังคม[25][26]พิธีกรรมเป็นกฎเฉพาะตนที่ต้องทำเพื่อแก้ความวิตกกังวล[26]

OCD มีผลต่อผู้ใหญ่ประมาณ 1-2% (โดยหญิงเป็นมากกว่าชาย) และต่อเด็กและวัยรุ่นเกือบ 3%[25][26]คนไข้จะรู้ว่าอาการเป็นอะไรที่ไม่สมเหตุผล และพยายามสู้กับทั้งความคิดและพฤติกรรม[25][27]อาการสามารถสัมพันธ์กับเหตุการณ์ภายนอกที่ตนกลัว (เช่น ไฟไหม้บ้านเพราะลืมปิดเตา) หรือกังวลว่า จะทำอะไรที่ไม่สมควร[27]ไม่ชัดเจนว่าทำไมบางคนถึงมี OCD แต่อาจมีปัจจัยทางพฤติกรรม ทางการรู้คิด ทางพันธุกรรม และทางประสาทชีววิทยา ที่เกี่ยวข้อง[26]ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติครอบครัว ความเป็นโสด (ซึ่งอาจเป็นผลของโรค) การอยู่ในสถานะทางสังคมเศรษฐกิจที่สูง หรือไม่มีงานที่ให้ค่าตอบแทนทำ[26]OCD เป็นโรคเรื้อรังประมาณ 20% ของคนไข้จะเอาชนะมันได้ และอีก 50% จะมีอาการอย่างน้อยลดลงโดยใช้เวลา[25]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรควิตกกังวล http://www2.sd45.bc.ca/schools/ridgeview/Parents/E... http://www.vac-acc.gc.ca/clients/sub.cfm?source=mh... http://www.amazon.com/Practitioners-Guide-Evidence... http://www.anxietybc.com/parent/generalized.php http://www.anxietybc.com/parent/social.php http://www.consultantlive.com/display/article/1016... http://www.consultantlive.com/display/article/1016... http://www.diseasesdatabase.com/ddb787.htm http://www.emedicine.com/med/topic152.htm http://www.emedicine.com/med/topic3121.htm#