การโต้แย้ง ของ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

บทความหลัก: การอภิปรายพลังงานนิวเคลียร์

ภาพที่ถ่ายจากเมือง Pripyat ของยูเครนที่ถูกทิ้งร้างหลังจากภัยพิบัติที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่เห็นอยู่ในพื้นหลัง

การอภิปรายพลังงานนิวเคลียร์เป็นเรื่องเกี่ยวกับความขัดแย้ง[59][60][61][62] ซึ่งได้ล้อมรอบการใช้งานและการใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิชชันในการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์สำหรับพลเรือน. การอภิปรายเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นสู่จุดสูงสุดในช่วงปี 1970 และ 1980 เมื่อมัน "ถึงจุดของความเข้มข้นเป็นประวัติการณ์ในประวัติศาสตร์ของการถกเถียงทางเทคโนโลยี" ในบางประเทศ[63][64].

ฝ่ายเสนอยืนยันว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสามารถเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานถ้าการใช้ของมันสามารถทดแทน การพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงได้[65]. ฝ่ายเสนอให้แนวคิดเพิ่มเติมว่าพลังงานนิวเคลียร์แทบจะไม่ได้ผลิตมลพิษทางอากาศ, ในทางตรงกันข้ามกับทางเลือกที่ใช้งานอยู่ของเชื้อเพลิงฟอสซิลชั้นนำ. ฝ่ายเสนอยังเชื่อว่าพลังงานนิวเคลียร์เป็นแนงทางที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพื่อที่จะบรรลุความเป็นอิสระด้านพลังงานสำหรับประเทศตะวันตกส่วนใหญ่. พวกเขาเน้นว่ามีความเสี่ยงทั้งหลายในการจัดเก็บขยะเป็นเรื่องเล็กน้อยและสามารถลดความเสี่ยงลงต่อไปได้อีกโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดในเครื่องปฏิกรณ์รุ่นใหม่และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในโลกตะวันตกได้รับการบันทึกว่าได้ผลเป็นเลิศเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญ[66].

ฝ่ายค้านกล่าวว่าพลังงานนิวเคลียร์ส่อเค้าที่จะสร้างภัยคุกคามจำนวนมากกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม. ภัยคุกคามเหล่านี้รวมถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพและความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่ยูเรเนียม, กระบวนการผลิตและการขนส่ง, ความเสี่ยงของการแพร่ขยายการใช้งานเพื่อใช้เป็นอาวุธนิวเคลียร์หรือการก่อวินาศกรรม, และปัญหาที่ยังแก้ไขไม่ได้ของกากนิวเคลียร์กัมมันตรังสี[67][68][69]. พวกเขายังยืนยันว่าตัวเครื่องปฏิกรณ์เองเป็นเครื่องที่มีความซับซ้อนอย่างมากที่หลายสิ่งหลายอย่างสามารถทำงานผิดได้และได้ทำผิดจริงๆ, มีได้เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรงขึ้นแล้วหลายครั้ง[70][71]. นักวิจารณ์ไม่เชื่อว่าความเสี่ยงเหล่านี้สามารถลดลงได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่[72]. พวกเขาแย้งว่าเมื่อพิจารณาถึงทุกขั้นตอนที่ใช้พลังงานอย่างเข้มข้นของห่วงโซ่เชื้อเพลิงนิวเคลียร์แล้ว,ตั้งแต่การทำเหมืองแร่ยูเรเนียมจนถึงการรื้อถอนนิวเคลียร์, พลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ[73][74][75].

ใกล้เคียง

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง โรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โรงไฟฟ้าบางปะกง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่สอง โรงไฟฟ้าศิลปะ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีล โรงไฟฟ้าพลังความร้อนหงสา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาปอริฌเฌีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ http://213.198.118.156/info/inf29.htm http://www.uic.com.au/reactors.htm http://www.ceem.unsw.edu.au/content/userDocs/Nukes... http://www.foe.org.au/anti-nuclear/issues/nfc/powe... http://www.mapw.org.au/nuclear-reactors/rrr-index.... http://www.sckcen.be http://www.ae4rv.com/games/nuke.htm http://www.antaranews.com/en/news/76867/indonesia-... http://atomndt.com/en/ http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=10000103&si...