การจำแนก ของ โลมาครีบทู่

เดิมทีโลมาครีบทู่มีเพียงชนิดเดียว จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2005 จึงได้มีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นที่ออสเตรเลียและนิวกินี [3]

โลมาอิรวดีที่แม่น้ำโขง

ในส่วนของโลมาอิรวดี เป็นโลมาชนิดที่พบได้ตามแถบชายฝั่งทะเลในทวีปเอเชียหรือพบได้ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำโขง, แม่น้ำอิรวดี หรือทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ปัจจุบันแหล่งที่พบได้ในส่วนที่เป็นน้ำจืดมีเพียง 5 แห่งในโลกเท่านั้น คือ แม่น้ำโขง พรมแดนระหว่างประเทศไทย, ลาว และกัมพูชา, แม่น้ำอิรวดี ในประเทศพม่า, ทะเลสาบซิลิกา ในประเทศอินเดีย, แม่น้ำมะหะขาม ในประเทศอินโดนีเซีย และในทะเลสาบสงขลา จังหวัดสงขลา, พัทลุง และนครศรีธรรมราช ในภาคใต้ของไทยเท่านั้น โดยสถานะที่ทะเลสาบสงขลานับว่าเป็นแหล่งที่มีวิกฤตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากที่สุด [5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: โลมาครีบทู่ http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/5/2014-06-15/21/ http://www.departments.bucknell.edu/biology/resour... http://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?se... http://www.boldsystems.org/index.php/TaxBrowser_Ta... http://www.fossilworks.org/cgi-bin/bridge.pl?a=tax... http://www.irmng.org/aphia.php?p=taxdetails&id=133... https://www.itis.gov/servlet/SingleRpt/SingleRpt?s... https://www.ncbi.nlm.nih.gov/Taxonomy/Browser/wwwt... https://animaldiversity.org/accounts/Orcaella/ https://web.archive.org/web/20140707095258/http://...