สุขภาพ ของ ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่

ประโยชน์ที่อาจมี

ในงานวิจัยเบื้องต้น กรดไขมันโอเมกา-3 จากสาหร่าย ปลา และอาหารทะเลพบว่า ลดความเสี่ยงเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (myocardial infarction)[3]ส่วนงานศึกษาเบื้องต้นอื่น ๆ พบว่า กรดไขมันโอเมกา-6 จากต้นทานตะวันและคำฝอยอาจลดความเสี่ยงโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด (CVD)[4]

กรดไขมันโอเมกา-3 ทั้งแบบโซ่ยาวและสั้นไม่สัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมอย่างสม่ำเสมอdocosahexaenoic acid (DHA) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่กลุ่มโอเมกา-3 ซึ่งสามัญที่สุดในเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดง การได้ DHA มากสัมพันธ์กับความเสี่ยงมะเร็งเต้านมที่ลดลง[5]และสัมพันธ์กับการทำงานทางประชานและทางพฤติกรรมที่ดีขึ้น[6]DHA ยังสำคัญยิ่งต่อเนื้อเทาในสมองของมนุษย์ ต่อการทำงานของจอตา และต่อการสื่อประสาท[1]ยังมีงานวิจัยเบื้องต้นที่กำลังตรวจการทานกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ว่าสัมพันธ์กับการเกิดอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส ซึ่งเป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการหรือไม่[7][8]

งานศึกษาเชิงเปรียเทียบได้แสดงความสำคัญของการทานกรดไขมันโอเมกา-6/โอเมกา-3 ให้ถูกสัดส่วน คือแสดงว่าการทานในอัตราส่วนน้อยกว่า 4:1 อาจมีผลต่อสุขภาพ[9]

ผลงานปี 2013 ซึ่งประเมินหลักฐานจากปี 1966-1973 ขัดกับคำแนะนำทั่วไปว่า การแทนไขมันอิ่มตัวด้วยกรดลิโนลีอิก (linoleic acid) มีผลดีต่อสุขภาพ เพราะพบว่า ผู้ร่วมการทดลองซึ่งทำอย่างนี้กลับมีอัตราการตายจากเหตุทั้งหมด จากโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ และจากโรคหัวใจร่วมหลอดเลือดในระดับสูงขึ้น[10]แต่นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากก็คัดค้านงานศึกษานี้[11]จึงเป็นงานที่จุดชนวนการอภิปรายทั่วโลกเรื่องการแนะนำให้แทนไขมันอิ่มตัวด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่[12]

การตั้งครรภ์

การให้เพิ่มทานไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ไม่ลดโรค/ความผิดปกติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก แต่อาจเพิ่มระยะการตั้งครรภ์เล็กน้อยและลดการคลอดก่อนกำหนด[1]คณะผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐและยุโรปแนะนำว่า หญิงตั้งครรภ์หรือผู้กำลังให้นมบุตรควรทานไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่เพิ่มขึ้นจากปกติ เพื่อเพิ่มไขมัน DHA ให้กับทารก[1]

มะเร็ง

การทดลองทางคลินิกแบบสังเกตพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการทานไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่กับมะเร็งไม่สม่ำเสมอ ต่างกันโดยปัจจัยการเกิดมะเร็งหลายอย่าง รวมทั้งเพศและความเสี่ยงทางพันธุกรรม[3]งานศึกษาบางงานพบความสัมพันธ์ะรหว่างการทานกรดไขมันโอเมกา-3 มากกว่าหรือมีในเลือดมากกว่า กับความเสี่ยงมะเร็งบาองอย่างที่ลดลง รวมทั้งมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่งานอื่น ๆ ก็ไม่พบความสัมพันธ์[3][13]

ใกล้เคียง

ไขมัน ไขมันอิ่มตัวกับโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันทรานส์ ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ ไขมันพืช ไขมันเนย ไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่เดี่ยว ไขมันอิ่มตัว ไขมันหมู

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ http://www.bmj.com/content/346/bmj.e8707 http://www.mayoclinic.com/health/fish-oil/NS_patie... http://nutritiondata.com/facts/fats-and-oils/572/2 http://www.nutritiondata.com/facts/dairy-and-egg-p... http://nutritiondata.self.com/facts/fats-and-oils/... http://nutritiondata.self.com/facts/fats-and-oils/... http://nutritiondata.self.com/facts/fats-and-oils/... http://nuinfo-proto4.northwestern.edu/nutrition/fa... http://lpi.oregonstate.edu/mic/other-nutrients/ess... http://www.uccs.edu/Documents/danderso/fats_oils.p...