ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก
ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก

ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก

ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก (อังกฤษ: Crimean–Congo hemorrhagic fever, CCHF) เป็นโรคติดเชื้อไวรัส[1] อาการโรค ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องร่วงและมีจุดเลือดออก[1] ผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการน้อยกว่า 2 สัปดาห์หลังติดเชื้อ[1] อาการแทรกซ้อนรวมถึงตับวาย[1] ผู้ป่วยที่อาการดีขึ้นมักฟื้นตัวภายใน 2 สัปดาห์หลังแสดงอาการ[1]ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกเป็นไข้เลือดออกจากไวรัสชนิดหนึ่ง[1] ไวรัสก่อโรคเป็นอาร์เอ็นเอไวรัสสกุล Orthonairovirus วงศ์ Nairoviridae แพร่กระจายผ่านเห็บหรือการสัมผัสกับเลือด สารคัดหลั่งและอวัยวะของสัตว์หรือผู้ติดเชื้อ[1] นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านสารน้ำ[1] ระยะฟักตัวอยู่ที่ 1–3 วันหลังถูกเห็บกัดหรืออาจนานถึง 9 วัน ขณะที่หากสัมผัสเลือดหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ 5–6 วันหรืออาจนานสุด 13 วัน[4] ชาวไร่ชาวนาและผู้ทำงานในโรงฆ่าสัตว์มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ[1] การวินิจฉัยโรคใช้การตรวจสารภูมิต้านทาน อาร์เอ็นเอของไวรัสหรือแอนติเจน[1]ยังไม่มีวิธีรักษาที่องค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและยาสหรัฐรับรอง และยังไม่มีวัคซีนจำหน่ายเชิงพาณิชย์[1] การป้องกันโรคคือลดโอกาสการถูกเห็บกัด รักษาความสะอาดในกระบวนการแปรรูปเนื้อสัตว์และปฏิบัติตามมาตรการดูแลสุขภาพสากล[1] การรักษาใช้การรักษาตามอาการ[1] มีการแนะนำการใช้ยาต้านไวรัสไรบาวิริน[1]มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกในหลายพื้นที่ เช่น แอฟริกา รัสเซีย บอลข่าน ตะวันออกกลางและเอเชีย[1] การปะทุของโรคขนาดย่อมเกิดขึ้นทั่วไปในพื้นที่ประจำถิ่นของไวรัส[1] ในปี ค.ศ. 2013 อิหร่าน รัสเซีย ตุรกีและอุซเบกิสถานรายงานผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 50 ราย[2] อัตราป่วยตายอยู่ที่ 10–40% แม้จะมีการพบการปะทุของโรคบางครั้งที่อัตราป่วยตายสูงถึง 80%[1] ไวรัสก่อโรคถูกพบครั้งแรกที่ไครเมียในคริสต์ทศวรรษที่ 1940 ภายหลังถูกระบุว่าเป็นชนิดเดียวกับที่ก่อโรคไข้เลือดออกคองโก[5] ในปี ค.ศ. 1973 คณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยอนุกรมวิธานของไวรัสประกาศชื่อไวรัสไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกเป็นชื่อทางการ[6]20 ปีที่ผ่านมา มีการปะทุของโรคไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอดีตสหภาพโซเวียต เมดิเตอร์เรเนียน ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เอเชียกลาง ยุโรปใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลางและอนุทวีปอินเดีย ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโกอยู่ในบัญชีโรคลำดับต้นสำหรับวิจัยและพัฒนาขององค์การอนามัยโลก[7] และบัญชีโรคประเภท A ของสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติสหรัฐ ในฐานะโรคที่มีความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคงแห่งชาติและสาธารณสุข[8]

ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก

อาการ ไข้, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดศีรษะ, อาเจียน, ท้องร่วง, เลือดออกในผิวหนัง[1]
สาขาวิชา โรคติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อน ตับวาย[1]
ระยะดำเนินโรค สองสัปดาห์[1]
การรักษา การรักษาตามอาการ, ไรบาวิริน[1]
การตั้งต้น รวดเร็ว[1]
โรคอื่นที่คล้ายกัน ไข้เด็งกี, ไข้คิว,[2] โรคไวรัสอีโบลา[3]
วิธีวินิจฉัย การตรวจสารภูมิต้านทาน, อาร์เอ็นเอของไวรัส, โปรตีนของไวรัส (แอนติเจน)[1]
พยากรณ์โรค ~25% เสี่ยงต่อการเสียชีวิต[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไข้เลือดออกไครเมีย–คองโก http://bestpractice.bmj.com/topics/en-gb/1210/diff... http://www.diseasesdatabase.com/ddb31969.htm http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=065.... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16554245 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7185836 http://apps.who.int/classifications/icd10/browse/2... //doi.org/10.1016%2FS1473-3099(06)70435-2 http://dcd.ddc.moph.go.th/2016/knowledges/download... https://books.google.com/books?id=GEcWDgAAQBAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=UgvdM8WRld4C&pg=...