การรักษา ของ ไคโรแพรกติก

นักไคโรแพรกติกกำลังจัดกระดูกผู้ป่วย

การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังที่นักไคโรแพรกติกเรียกกว่า "การจัดกระดูกสันหลัง" หรือ "การจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติก" เป็นการรักษาที่ใช้แพร่หลายที่สุดในการให้บริการไคโรแพรกติก[85] การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเป็นการเคลื่อนที่ปมสามข้อต่อ (three-joint complex) ด้วยมือเชิงรับ ให้เลยเกินพิสัยของการเคลื่อนไหวปกติแต่ไม่เลยจนข้อต่อหลุดหรือเสียหาย[86] ปัจจัยที่สำคัญคือแรงผลักแบบพลวัต ซึ่งเป็นแรงฉับพลันที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยที่ยินเสียงได้ และพยายามขยายพิสัยของการเคลื่อนไหวของข้อต่อ[86] การผลักในการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังด้วยความเร็วสูงและความแรงต่ำ (High-velocity, low-amplitude spinal manipulation; HVLA-SM) ส่งผลทางสรีรวิทยาซึ่งส่งสัญญาณประสาทจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลัง (paraspinal muscle) โดยระยะเวลาและความแรงของแรงผลักนั้นเป็นปัจจัยว่ากระสวยกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังจะถูกกระตุ้นในระดับใด[87] ทักษะการปฏิบัติใช้การผลักแบบ HVLA-SM ทางคลินิกขึ้นอยู่กับความสามารถของนักปฏิบัติในการควบคุมระยะเวลาและความแรงของแรงผลัก[87] โดยทั่วไปคำว่าการบำบัดด้วยการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง (SMT) หมายถึงกลวิธีต่าง ๆ ซึ่งใช้มือในการจัดดัดดึง นวด ขยับ จัด กระตุ้น ลากดึง หรือส่งผลใด ๆ ต่อกระดูกสันหลังและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง[86]

กลวิธีการจัดกระดูกแบบไคโรแพรกติกมีอยู่หลายสำนัก แต่นักไคโรแพรกติกมักผสมกลวิธีกันจากหลายสำนัก ต่อไปนี้เป็นรายนามขั้นตอนการจัดกระดูกซึ่งผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 10 เคยได้รับบริการจากนักไคโรแพรกติกที่มีใบอนุญาตในสหรัฐจากงานสำรวจ ค.ศ. 2003:[85] กลวิธีหลากหลาย (Diversified technique) (การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังเต็ม โดยใช้กลวิธีที่หลากหลาย), การจัดกระดูกรยางค์, กลวิธีแอกทิเวเตอร์ (Activator technique) (การใช้อุปกรณ์กำลังสปริงเพื่อจัดกระดูกสันหลังด้วยความแม่นยำ), กลวิธีทอมป์สัน (Thompson Technique) (ใช้เตียงรักษาแบบ drop table และมาตรการขั้นตอนที่ลงรายละเอียด), กลวิธีกอนสเตด (Gonstead technique) (ให้ความสำคัญกับการประเมินและการจัดกระดูกสันหลังในแบบที่หลีกเลี่ยงการขยับในแกนหมุน), กลวิธีค็อกซ์ (Cox technique)/การบำบัดงอ-ยืดถ่าง (flexion-distraction therapy) (ใช้ขั้นตอนการจัดกระดูกสันหลังแบบอ่อนโยนและแรงต่ำ โดยผสมหลักการไคโรแพรกติกเข้ากับออสทีโอพาธี และใช้เตียงจัดกระดูกแบบพิเศษ), อุปกรณ์จัดกระดูก, กลวิธีกระเบนเหน็บ-ท้ายทอย (Sacro-Occipital Technique) (ซึ่งจำลองกระดูกสันหลังเสมือนแท่งบิด), กลวิธีตัวรับ-ความตึงตัวของนิมโม (Nimmo Receptor-Tonus Technique), วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ (applied kinesiology) (ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้ "การทดสอบกล้ามเนื้อ" เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัย) และกลวิธีกะโหลก[88] กลวิธีชีวฟิสิกส์แบบไคโรแพรกติกใช้ฟังก์ชันผกผันของการหมุนในการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง[89] กลวิธีจำเพาะของคอเริน (Koren Specific Technique; KST) ใช้มือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชื่อว่า "ArthroStim" ในการประเมินและการจัดดัดดึงกระดูกสันหลัง[90] ประกันสุขภาพในสหรัฐและสหราชอาณาจักรที่ครอบคลุมกลวิธีไคโรแพรกติกอื่น ๆ ไม่ครอบคลุม KST เพราะพวกเขาถือว่ามันเป็นกลวิธี "เชิงทดลองและสอบสวน"[90][91][92][93] การจัดดัดดึงโดยใช้ยาช่วย เช่นการจัดดัดดึงภายใต้การดมยาสลบ (manipulation under anesthesia) ใช้ยาระงับประสาทหรือยาชาเฉพาะที่และกระทำโดยกลุ่มผู้รักษาที่มีวิสัญญีแพทย์ร่วมด้วย การปริทัศน์เป็นระบบจาก ค.ศ. 2008 ไม่พบหลักฐานเพียงพอที่จะแนะนำการใช้ประโยชน์กลวิธีนี้สำหรับอาการปวดหลังส่วนล่าง[94]

การจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนเอว (lumbar) ส่วนคอ (cervical) และส่วนอก (thoracic) แบบไคโรแพรกติก

นักไคโรแพรกติกยังใช้กระบวนการอื่น ๆ หลากหลายแบบในการรักษากระดูกสันหลัง ข้อต่ออื่น ๆ และเนื้อเยื่อ และปัญหาด้านสุขภาพทั่วไป ต่อไปนี้เป็นรายนามกระบวนการต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยกว่าหนึ่งในสามเคยได้รับบริการจากนักไคโรแพรกติกที่มีใบอนุญาตในสหรัฐจากงานสำรวจ ค.ศ. 2003: กลวิธีหลากหลาย, การส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย/การออกกำลังกาย, การออกกำลังกายบำบัดหรือแก้ไข, คำแนะนำด้านการยศาสตร์ (ergonomics)/การวางท่าทาง (spinal posture), ยุทธศาสตร์การดูแลตนเอง, กิจวัตรประจำวัน (activities of daily living), การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ/มีความเสี่ยง, คำแนะนำด้านอาหาร (Diet (nutrition))/โภชนาการ, คำแนะนำด้านเทคนิคการผ่อนคลาย (Relaxation technique)/การจัดการความเครียด, ไอซ์แพ็ก/การบำบัดด้วยความเย็น (Cryotherapy), การจัดกระดูกรยางค์, การบำบัดจุดกดเจ็บ (Myofascial trigger point) และคำแนะนำด้านการป้องกันโรค/การคัดกรองโรคแต่แรกเริ่ม (Screening (medicine))[85]

งานศึกษา ค.ศ. 2010 เกี่ยวกับนักไคโรแพรกติกชาวเบลเยียมและผู้ป่วยพบว่านักไคโรแพรกติกในประเทศเบลเยียมส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับอาการทางประสาท กล้ามเนื้อ และโครงกระดูกของผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลัง[95] กลวิธีหลากหลายเป็นกลวิธีที่ถูกนำมาใช้มากที่สุดที่ร้อยละ 93 ตามมาด้วยกลวิธีที่ใช้กลไกแอกทิเวเตอร์ที่ร้อยละ 41[95] งานศึกษา ค.ศ. 2009 เกี่ยวกับนักเรียนไคโรแพรกติดที่กำลังให้บริการหรือรับบริการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังอยู่ระหว่างการเข้าศึกษาในวิทยาลัยไคโรแพรกติกในประเทศสหรัฐพบว่าวิธีการรักษาที่ถูกนำมาใช้บ่อยมีแบบหลากหลาย แบบกอนสเตด และการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนคอส่วนบน[96]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไคโรแพรกติก http://www.aetna.com/cpb/medical/data/100_199/0107... http://chiroandosteo.com/content/pdf/1746-1340-16-... http://chiropracticdiplomatic.com/strategies/globa... http://www.chiropratiquelasource.com/recherches/sa... http://chiroweb.com/archives/ahcpr/chapter2.htm http://chiroweb.com/archives/ahcpr/chapter3.htm http://jmmtonline.com/documents/HomolaV14N2E.pdf http://www.journalchiroed.com/2000/JCEFall2000Rose... http://archive.journalchirohumanities.com/Vol%2015... http://www.medicalnewstoday.com/articles/75754.php