ไคโรแพรกติก
ไคโรแพรกติก

ไคโรแพรกติก

ไคโรแพรกติก หรืออาจเรียกว่า การนวดจัดกระดูก หรือ การจัดกระดูก เป็นการแพทย์ทางเลือกรูปแบบหนึ่ง[1] ซึ่งสนใจถึงการวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันความผิดปกติเชิงกล (physical disorder) ในระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูกมนุษย์ (Human musculoskeletal system) โดยเฉพาะในกระดูกสันหลัง[2] การแพทย์ทางเลือกนี้มีต้นกำเนิดแบบคุยหลัทธิตะวันตก (Western esotericism)[3] และมีรากฐานอยู่บนหลายแนวคิดที่เป็นแนววิทยาศาสตร์เทียม[4]นักไคโรแพรกติก[5] หลายคนโดยเฉพาะในประวัติศาสตร์เริ่มแรกของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ เสนอว่าความผิดปกติเชิงกลของข้อต่อโดยเฉพาะที่อยู่ในกระดูกสันหลังสามารถส่งผลต่อสุขภาพทั่วไป[2] และการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังทั่วไป (Spinal manipulation) (การจัดกระดูกสันหลัง (spinal adjustment)) สามารถส่งเสริมสุขภาพทั่วไปได้ กลวิธีการรักษาแบบไคโรแพรกติก (Chiropractic treatment techniques) หลัก ๆ แล้วประกอบด้วยการบำบัดด้วยมือ (manual therapy) โดยเฉพาะการจัดดัดดึงกระดูดสันหลัง ข้อต่ออื่น ๆ และเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) แต่ก็อาจรวมถึงการออกกำลังกายและการให้คำปรึกษาเรื่องวิถีชีวิตและสุขภาพด้วย[6] นักไคโรแพรกติกอาจถือใบปริญญาดอกเตอร์อ็อฟไคโรแพรกติก (D.C.) และอาจถูกเรียกว่า "แพทย์" แต่มิใช่แพทยศาสตรบัณฑิต (M.D.)[7][8] ในขณะที่นักไคโรแพรกติกหลายคนมองตนเองเป็นผู้ให้บริการปฐมภูมิ (primary care)[9][10] การฝึกทักษะทางคลินิกสำหรับไคโรแพรกติกไม่สนองกับข้อกำหนดสำหรับตำแหน่งนั้น[2]การปริทัศน์เป็นระบบของการศึกษาทางคลินิกควบคุมถึงวิธีการรักษาที่นักไคโรแพรกติกใช้ไม่พบหลักฐานว่าการจัดกระดูกสันหลังแบบไคโรแพรกติกมีประสิทธิศักย์ (efficacy) โดยอาจมีข้อยกเว้นสำหรับการรักษาอาการปวดหลัง[9] การประเมินเชิงวิพากษ์ของการปริทัศน์เป็นระบบจำนวน 45 ฉบับใน ค.ศ. 2011 พบว่าการจัดกระดูกสันหลังไม่มีประสิทธิผลในการรักษาอาการใด ๆ[11] การจัดกระดูกสันหลังอาจมีประสิทธิผลต่อต้นทุน (Cost-effectiveness analysis) สำหรับอาการปวดหลังเรื้อรังหรือกึ่งเฉียบพลัน แต่ผลลัพธ์สำหรับอาการปวดหลังเฉียบพลันมีไม่เพียงพอ[12] ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือที่ชี้ว่าการดูแลแบบไคโรแพรกติกเพื่อบำรุงรักษาสามารถป้องกันอาการหรือโรคใด ๆ ได้อย่างเพียงพอ[13]ไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินความปลอดภัยของการจัดดัดดึงแบบไคโรแพรกติกได้[14] มักมีความสัมพันธ์กับอาการไม่พึงประสงค์ (adverse effect) ระดับอ่อนถึงปานกลาง และในกรณีหายากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหรือถึงตาย[15] ระดับความเสี่ยงของการฉีกเซาะของผนังหลอดเลือดแดงเวอร์ทีบรอล (Vertebral artery dissection) ที่เกิดจากการจัดดัดดึงกระดูกสันหลังส่วนคอ (neck manipulation) ซึ่งอาจนำไปสู่สโตรกและความตายยังเป็นที่ถกเถียงอยู่[16] ความตายหลายกรณีมีความเกี่ยวโยงกับเทคนิคนี้[15] และมีผู้เสนอว่ามีความสัมพันธ์แบบก่อเหตุ (causative) อยู่[17][18] ซึ่งเป็นข้อกล่าวอ้างที่นักไคโรแพรกติกหลายคนไม่เห็นด้วย[18]ไคโรแพรกติกมีรากฐานดีแล้วในสหรัฐ แคนาดา และออสเตรเลีย[19] มีความทับซ้อนกับวิชาชีพการบำบัดด้วยมือสาขาอื่น ๆ เช่นออสทีโอพาธี (Osteopathy) และกายภาพบำบัด[20] ผู้คนส่วนใหญ่ที่หาการดูแลแบบไคโรแพรกติกเป็นเพราะอาการปวดหลังส่วนล่าง[21] อาการปวดหลังและคอถือว่าเป็นความชำนาญของไคโรแพรกติก แต่นักไคโรแพรกติกหลายคนให้การรักษาอาการอื่นนอกเหนือจากด้านกล้ามเนื้อและโครงกระดูกด้วย[9] ไคโรแพรกติกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ กล่าวคือกลุ่ม "straights" (โดยตรง) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนน้อย ซึ่งให้ความสำคัญกับชีวิตนิยม (vitalism) "เชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด" (innate intelligence) และถือว่าภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน (Vertebral subluxation) เป็นเหตุของโรคทั้งมวล กับกลุ่ม "mixers" (ผสม) ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเปิดรับกับมุมมองกระแสหลักและกลวิธีการแพทย์แผนปัจจุบันมากกว่า เช่นการออกกำลังกาย การนวด และการบำบัดด้วยน้ำแข็ง (ice pack therapy)[22]ดี. ดี. พาลเมอร์ (Daniel David Palmer) ก่อตั้งไคโรแพรกติกในคริสต์ทศวรรษ 1890[23] หลังจากกล่าวว่าเขาได้รับมันมาจาก "ต่างโลก"[24] พาลเมอร์ยืนยันว่าเขาได้รับหลักความเชื่อของไคโรแพรกติกมากจากหมอคนหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปแล้วห้าสิบปีก่อนหน้า[25] บุตรชายของเขาบี. เจ. พาลเมอร์ (B. J. Palmer) ช่วยขยายไคโรแพรกติกในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20[23] ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ของไคโรแพรกติกมีข้อโต้เถียงอยู่เสมอ (Chiropractic controversy and criticism)[26][27] รากฐานของการแพทย์ทางเลือกสาขานี้ขัดแย้งกับเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน และถูกค้ำจุนด้วยแนวคิดวิทยาศาสตร์เทียมอย่างเช่นภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนและเชาวน์ปัญญาโดยกำเนิด[28] แม้มีหลักฐานล้นหลามว่าการให้วัคซีนเป็นการแทรกแซงทางสาธารณสุขที่มีประสิทธิผล แต่มีความไม่เห็นพ้องกันอย่างมีนัยสำคัญท่ามกลางหมู่นักไคโรแพรกติกในประเด็นนี้[29] ซึ่งนำไปสู่ผลเชิงลบทั้งต่อการให้วัคซีนสู่สาธารณะและความยอมรับในไคโรแพรกติกในกระแสหลัก[30] สมาคมการแพทย์อเมริกันเรียกไคโรแพรกติกว่าเป็น "ลัทธิไม่เป็นวิทยาศาสตร์" ใน ค.ศ. 1966[31] และคว่ำบาตรมันจนกระทั่งแพ้คดีต่อต้านการผูกขาดเมื่อ ค.ศ. 1987 (Wilk v. American Medical Association)[10] ไคโรแพรกติกมีฐานการเมืองที่เข้มแข็งและอุปสงค์สำหรับการบริการของพวกเขาที่ยั่งยืน ในช่วงท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก็ได้รับความชอบธรรมและความยอมรับมากยิ่งขึ้นจากแพทย์แผนปัจจุบันและประกันสุขภาพในสหรัฐ (Health insurance in the United States)[10] ในช่วงของการระบาดทั่วของโควิด-19 หลายสมาคมวิชาชีพไคโรแพรกติกแนะนำให้นักไคโรแพรกติกยึดตามคำแนะนำของศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐ องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานอนามัยท้องถิ่น[32][33] แต่แม้จะมีคำแนะนำเหล่านี้ นักไคโรแพรกติกจำนวนน้อยแต่มีปากเสียงและมีอิทธิพลได้แพร่กระจายข้อมูลผิดเกี่ยวกับวัคซีน (vaccine misinformation)[34]

ไคโรแพรกติก

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไคโรแพรกติก http://www.aetna.com/cpb/medical/data/100_199/0107... http://chiroandosteo.com/content/pdf/1746-1340-16-... http://chiropracticdiplomatic.com/strategies/globa... http://www.chiropratiquelasource.com/recherches/sa... http://chiroweb.com/archives/ahcpr/chapter2.htm http://chiroweb.com/archives/ahcpr/chapter3.htm http://jmmtonline.com/documents/HomolaV14N2E.pdf http://www.journalchiroed.com/2000/JCEFall2000Rose... http://archive.journalchirohumanities.com/Vol%2015... http://www.medicalnewstoday.com/articles/75754.php